เตรียมตัวให้พร้อม หากจะต้องอยู่ตัวคนเดียวตลอดชีวิต

เตรียมตัวให้พร้อม หากจะต้องอยู่ตัวคนเดียวตลอดชีวิต
หากคิดว่าปั้นปลายชีวิตจะต้องอยู่คนเดียว หรือวางแผนไว้แล้วว่าอยากอยู่คนเดียว ทิปส์เล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้การอยู่คนเดียวไม่ได้แย่อย่างที่คิด

ปัจจุบันนอกจากไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้วนั้น ยังมีผู้สูงวัยอีกหลายท่านที่ต้องใช้ชีวิตเพียงลำพังไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และไม่ใช่แค่ผู้สูงวัยเท่านั้นที่ต้องอยู่ตัวคนเดียวแต่คนวัยทำงาน วัยรุ่นหลายคนมีค่านิยมที่ว่า สามารถใช้ชีวิตตามลำพังได้ ไม่ว่าจะเพราะไม่สามารถมีคู่ครองที่ถูกใจตัวเองและคิดว่าอยู่คนเดียวเสียดีกว่า หรือตั้งใจว่าอยากใช้ชีวิตเพียงลำพังเพราะสามารถทำอะไรตามใจตัวเองได้

สำหรับวัยอื่นๆ นั้นไม่ได้มีปัญหาในการอยู่คนเดียว แต่ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังอาจมีความเสี่ยงสูงต่อความเหงา (Lonleiness) และภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม (Social Isolation) คือการขาดการติดต่อกับผู้อื่น ส่วนความเหงาคือความรู้สึกที่เหมือนถูกตัดขาดจากผู้อื่น กลุ่มที่มักปลีกวิเวก แยกตัวออกจากสังคม ไม่คบหาเพื่อน 

ไม่ใช่เฉพาะภาวะทางจิตใจที่ต้องเผชิญเท่านั้น แต่ทางร่างกาย การทำงานของสมองก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน การทำงานของการรับรู้ลดลง อัลไซเมอร์ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง และการเสียชีวิต หากคุณหรือคนที่คุณรักกำลังปรับตัวกับการอยู่คนเดียว มีวิธีมากมายที่ช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลง การเตรียมความพร้อมกับการรักษาสุขภาพจิตและร่างกายไว้

ทิปส์การอยู่คนเดียวให้ไม่รู้สึกหนักใจ สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ให้ลอง

  • ค้นหา ทดลองทำสิ่งใหม่ ให้คิดว่าการอยู่คนเดียวคือโอกาสที่จะได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยลองมาก่อน หรือไม่มีโอกาสได้ลองก่อนหน้านี้
  • ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเอง สามารถเซ็ตนิสัยที่ดีต่อสุขภาพได้ มีเวลาดูแลตัวเองอย่างเต็มที่
  • ฝึกมองโลกในแง่บวก หากจะต้องเจอสถานการณ์ที่ไม่อยากเผชิญคนเดียวแม้จะเล็กๆ น้อยๆ
  • ลองเข้ากลุ่มสังคม เช่น ออกไปเจอคนที่มีประสบการณ์ชีวิต หรือ มีกิจกรรมในรูปแบบเดียวกัน เช่น กลุ่มวิ่ง กลุ่มกางเต๊นท์ กลุ่มคนเคยผ่านการหย่า เป็นต้น
  • รับเลี้ยงสัตว์ วิธีพื้นฐานทั่วไปที่ได้ผลดีตลอดไม่ว่ากับใคร นอกจากจะมีเพื่อนแก้เหงา ให้เราได้ดูแลใส่ใจแล้ว ยังสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะให้เราได้แน่นอน

การอยู่คนเดียว โดยเฉพาะถ้าคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตร่วมกับคู่สมรส คู่ครอง หรือสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ในตอนแรกอาจทำให้รู้สึกหวั่นใจ เกิดอาการวิตกกังวล ยิ่งไปกว่านั้น เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสียคู่ครองหรือการออกจากบ้านอันยาวนานสามารถเพิ่มความวิตกกังวลและนำไปสู่ความโศกเศร้า เสียใจ ความกลัว หรือความรู้สึกสูญเสียได้ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ให้ตระหนักว่าตัวเราเองรู้สึกอย่างไรในการเปลี่ยนหากต้องพบกับการใช้ชีวิตตามลำพังและใส่ใจกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเหล่านั้น 

Nanci Deutsch นักสังคมสงเคราะห์และพิธีกรรายการวิทยุ "Inspired and Empowered Living" กล่าวว่า “เมื่อคุณรู้ตัวว่ากำลังรู้สึกอย่างไร ปล่อยให้ความรู้สึกนั้นไหลออกมา แล้วถามตัวเองว่า มีสิ่งใดที่ฉันสามารถทำได้เพื่อช่วยฉันในเวลานี้หรือไม่ อาจโทรหาเพื่อนหรือลูกที่โตแล้วเพื่อขอคำแนะนำ พาตัวเองไปที่ศูนย์ผู้สูงวัย หรือเขียนบันทึกประจำวัน”

ข้อมูล 1 2

TAGS: #Loneliness #socialisolate #สังคมสูงวัย