หมอสมิทธิ์โพสต์เดือด เตือน กัญชาตัวเดียวทำให้เกิดอาการทางจิตเวช และโรคซึมเศร้า ย้ำ! "หยุดกล่าวว่ากัญชา ไม่เกี่ยวกับอาการจิตเวช"
ยังคงเป็ข้อถกเถียงกันอยู่เรื่องการใช้กัญชาระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ที่ออกมาเตือนอยู่เป็นระยะเกี่ยวผลเสียของการใช้กัญชาที่ไม่เกี่ยวกับทางแพทย์ ล่าสุด นายแพทย์สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย ได้ออกมาโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว กรณีผลเสียของการใช้กัญชาต่อสุขภาพจิตว่า "กัญชาตัวเดียวทำให้เกิดอาการทางจิตเวช และโรคซึมเศร้า โดยมีงานวิจัยในระดับที่มีคุณภาพ (meta analysis) และรายงานระดับโลกหลายอันยืนยัน "หยุดกล่าวว่ากัญชา ไม่เกี่ยวกับอาการจิตเวช" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา
ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกผู้ใชสื่อออนไลน์แชร์ออกไปเป็นจำนวนมาก มีทั้งผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยเข้ามาแสดงความคิดเห็น และให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงประโยชน์ที่มากกว่าโทษของกัญชา โดยทางนายแพทย์สมิทธิ์ ได้อ้างอิงข้อมูลจาก หอสมุดแห่งชาติด้านการแพทย์ (National library of Medicine) โดยบทความดังกล่าวมีชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของโรคจิตที่เกิดจากสารเสพติดในช่วงสั้น ๆ และความผิดปรกติไปสู่โรคจิตเภท: ตรวจสอบและการวิเคราะห์จากเมตาดาต้า โดยยกเนื้อหาบางส่วนกล่าวว่า "งานวิจัยนี้บอกชัดเจนว่า 1 ใน 3 ของคนที่มีอาการทางจิตจากกัญชาจะป่วยเป็นโรคจิตเภท ถ้าเทียบกับยาบ้า แล้วสูงกว่าชัดเจน"
ทางฝั่งของผู้ใช้กัญชาหลายรายให้ข้อมูลกลับว่า ตัวเองได้ใช้กัญชามานานกว่าสิบปี ไม่มีผลกระทบทางด้านจิตเวชอย่างที่กล่าว และยังคงสุขภาพกาย สุขภาพใจ รวมทั้งมีสมาธิที่ดีด้วย มีคนเข้าไปกดถูกใจ และแชร์อย่างมาก
นายแพทย์สมิทธิ์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อผู้ที่สงสัยการใช้กัญชาว่าที่จริงแล้ว การใช้กัญชานั้นมีผลต่อจิตเวชอย่างไร โดยมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ถ้าเป็น CBD เข้มข้นจะส่งผลหรือไม่ นายแพทย์สมิทธิ์ ได้ตอบกลับว่า "CBD ผลทางจิตเวชน้อยครับ อันนี้หลักๆ ก็ THC เลยครับ"
ซึ่งกัญชานั้นมีสารทั้ง 2 ตัวเมื่อเสพเข้าไปจะได้รับสารทั้งสองชนิด แต่ในส่วนของ CDB สามารถสกัดได้จากกัญชง ไม่จำเป็นต้องปลูกรวมทั้งยังมีข้อมูลจากเพจ ชมรมจิตเวชศตร์การเสพติด (TSAP)” โพสต์ข้อความในหัวข้อ “ความเข้าใจผิดเรื่องกัญชาที่หลายคนไม่ทันรู้หรือรู้ไม่เท่าทัน” โดยระบุว่า
ข้อมูลล่าสุดใน 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562-2565) ของวารสารทางวิชาการและการแพทย์บ่งชี้ว่า กัญชาอาจไม่ได้มีประโยชน์ทางการแพทย์อย่างกว้างขวางอย่างที่เคยเชื่อกัน ในทางกลับกัน การใช้กัญชาอาจทำให้เกิดโทษต่อสุขภาพกายใจ และสังคมของมนุษย์มากกว่าที่เคยคิด โดยการศึกษาแบบทบทวนงานวิจัยขนาดใหญ่เชิงสังเคราะห์ (systematic review and meta-analysis) ที่เป็นรูปแบบการศึกษาที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในวงการวิชาการและการแพทย์ได้สรุปผลของกัญชา
1.การใช้กัญชาเพื่อทดแทนยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ เช่น มอร์ฟีน ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอาการปวดร่วมด้วยนั้น ยังไม่สามารถสรุปผลได้อย่างแน่ชัด การใช้กัญชาทางการแพทย์แทบจะไม่มีผลต่อการลดยาแก้ปวดลงอย่างมีนัยสำคัญ และสารในกัญชามีประโยชน์น้อยมากในการช่วยลดความปวดหรือบรรเทาอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอาการปวดเรื้อรัง ในทางกลับกัน การใช้กัญชาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนมากขึ้น
2.การใช้กัญชาเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังร่วมด้วยให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างน้อย โดยการศึกษาแบบทบทวนงานวิจัยขนาดใหญ่เชิงสังเคราะห์ที่รวบรวมงานวิจัย 39 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2022
3.การใช้กัญชาในโรคทางจิตเวชนั้นไม่มีหลักฐานว่าจะมีประโยชน์ชัดเจน และพบว่าให้โทษมากกว่า โดยการศึกษาแบบทบทวนงานวิจัยขนาดใหญ่เชิงสังเคราะห์ที่รวบรวมงานวิจัย 83 เรื่องซึ่งตีพิมพ์ในปี 2019 ได้สรุปว่า ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ากัญชาช่วยบรรเทาอาการของทางจิตเวชได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคสมาธิสั้น กลุ่มอาการ Tourette โรคสะเทือนขวัญจากการประสบเหตุการณ์รุนแรง (Post Traumatic Stress Disorder, PTSD) หรืออาการโรคจิต
4.การใช้กัญชาเป็นประจำอาจมีผลต่อการก่อความรุนแรงทางกายขึ้นได้ เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น คุกคามทางเพศ เกิดการต่อสู้และการจี้ปล้น เป็นต้น
5.การใช้กัญชาทำให้ผู้ที่ใช้ริเริ่มจะใช้สารเสพติดชนิดอื่นในเวลาต่อมาได้ (gateway drug) โดยมีการศึกษาแบบทบทวนงานวิจัยขนาดใหญ่เชิงสังเคราะห์ที่รวบรวมงานวิจัย 6 เรื่องจากหลากหลายประเทศ ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2022 ได้รวบรวมกลุ่มตัวอย่างกว่า 102,461 คน และได้รายงานข้อสรุปว่า ผู้ที่ใช้กัญชามีความเสี่ยงที่จะริเริ่มใช้สารเสพติดกลุ่มโอปิออยด์ (เช่น เฮโรอีน สารกลุ่มฝิ่น หรือยาแก้ปวด)
การใช้กัญชาในปัจจุบันยังไม่มีกฏหมายที่ชัดเจนถึงรูปแบบของการเสพ แต่ในข้อมูลเชิงการแพทย์สารสกัด CBD ถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ CBD ไม่จัดเป็นยาเสพติด เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (Non-psychoactive) ไม่ทำให้มึนเมา โดยออกฤทธิ์เพื่อการคลายเครียด ปกป้องเซลล์ประสาท ต้านชัก แก้ปวด ฤทธิ์ต้านเนื้องอก ต้านอาการอักเสบ ต้านฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ CBD ไม่ทำให้เกิดการดื้อหรือติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา และอาหาร
ในทางกลับกัน THC จัดเป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 (องค์การอนามัยโลก) มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psychoactive) ทำให้เคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย ทำให้ง่วง หลับง่าย กระตุ้นการอยากอาหาร ต้านปวด ต้านอาเจียน และคลายกล้ามเนื้อ แต่ทำให้เสพติดได้
มีหลายวิธีในการสกัด CBD จากไตรโฮมส์ของพืช; บางส่วนทำได้ที่บ้านและบางส่วนต้องใช้เครื่องจักรกลหนัก. Hemp.com, Inc. ให้การเข้าถึงทิงเจอร์น้ำมันกัญชา CBD ที่บริสุทธิ์ที่สุดโดยใช้วิธีการสกัดที่ซับซ้อนซึ่งทำให้น้ำมัน CBD ที่ได้จากกัญชาไม่มีรสชาติและสีทอง. วิธีเหล่านี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการแยก CBD จากกัญชาอุตสาหกรรม ดังนั้นหากเรานำกัญชามาใช้ด้วยวธีการนำดอก หรือไปมาผ่านความร้อนจะทำให้ THC ออกมาด้วยซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของเราอย่างแน่นอน ภาครัฐควรทำให้การทำกัญชาถูกกฎหมายไม่ควรเป็น "การรับรอง" แต่ควรเป็น "การรับผิดชอบ" และควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น