“เอส สไปน์”เปิดบ้านนำชมเทคโนโลยีการผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังแบบครบวงจร เตรียมขยายสาขาแตกไลน์ธุรกิจ เพิ่มการรักษาเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ ขึ้นแท่นโรงพยาบาลด้านกระดูกสันหลังแบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งแรกในประเทศไทย ที่เน้นการรักษาแบบ Minimally Invasive Spine Surgery หรือ MIS Spine แบบครบวงจร เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและกลัวการผ่าตัด ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถทำให้การผ่าตัดแบบแผลใหญ่กลายเป็นแผลเล็ก แต่ได้ผลลัพธ์และประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการรักษาแบบเดิมและยังปลอดภัยกว่า ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ความเจ็บปวดหลังการรักษาลดลง ทำให้ค่ารักษาโดยรวมถูกกว่าเดิม ผู้ป่วยจากเดิมที่ต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือบางรายอาจต้องนอนนาน 1-2 เดือน แต่เมื่อมารักษาด้วยวิธี MIS Spine ทำให้ผู้ป่วยนอนพักที่โรงพยาบาลเพียงแค่ 1 คืนเท่านั้น
ขณะที่เทคนิคและเทคโนโลยีที่ทางโรงพยาบาลนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยก็เป็นเทคนิคเฉพาะของทางโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการจี้ Laser เพื่อรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในกรณีที่ปลิ้นออกมาไม่เยอะ , เทคนิค PSCD การรักษาอาการปวดคอ หรือปวดต้นคอท้ายทอยร้าวลงแขน ที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ , เทคนิคแบบ Full Endo TLIF การส่องกล้องเอ็นโดสโคปร่วมกับการยึดนอตนำวิถีเพื่อหยุดการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง และเทคนิค PSLD การรักษาโรคหมอนรองกระดูกส่วนหลังตีบแคบ หรือ หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท ในขณะที่การรักษาด้วยเทคนิคแบบ Endoscopic ACDF หรือขั้นกว่าของการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกส่วนคอแบบแผลเล็กผ่านกล้องเอ็นโดรสโคป
สำหรับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic discectomy) เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดจะมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 5 มิลลิเมตร โดยที่มีเลนส์ติดอยู่ที่ปลายท่อ นอกจากนี้ภายในยังมีระบบนำแสงพิเศษเพื่อช่วยในการมองเห็น และมีช่องที่สามารถจะสอดเครื่องมือไม่ว่าจะเป็น laser หรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆ เพื่อเข้าไปรักษาในส่วนที่ลึกที่ตาเปล่าไม่สามารถมองเห็นได้
ซึ่งกล้องเอ็นโดสโคปนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นเส้นประสาทได้ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากสามารถลอดผ่านเข้าไปได้ลึก และมีกำลังขยายในการมองเห็น ทำให้สามารถนำหมอนรองกระดูกชิ้นที่กดทับเส้นประสาทออกได้โดยง่าย แพทย์สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่มีการกดทับจากหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือการบีบรัดจากกระดูกข้อต่อตรงตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่เป็นปัญหา ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที จากนั้นผู้ป่วยสามารถเดินได้ทันทีหลังการผ่าตัด
นอกจากนี้โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ยังตอกย้ำความเป็นรพ.เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โดยการนำเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบยืน หรือ MRI แบบยืน มาใช้ในตรวจการวินิจฉัยโรค เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพในการค้นหาสาเหตุของโรคด้วยเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง แม่นยำและปลอดภัย เพื่อให้แพทย์สามารถกำหนดแนวทางการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการตรวจด้วยเครื่อง MRI แบบยืนนี้ ปัจจุบันมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ออกแบบมาเพื่อกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ ทำให้เห็นต้นเหตุของโรคได้อย่างชัดเจนมากกว่าแบบเดิม
นพ.ดิตถพงษ์ บุญอำพล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท รพ.เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เปิดใจกับสื่อมวลชนว่า เนื่องจากประชากรไทยในปัจจุบันมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น และเป็นโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังมากขึ้น มักเกิดจากความเสื่อมของอายุ ลักษณะการใช้งานตามวัยของผู้ป่วย จึงทำให้มีผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่คนอายุน้อยก็เริ่มมีอาการของโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังมากขึ้น จากการนั่งผิดท่า การนั่งนาน หรือประสบอุบัติเหตุถูกกระแทกแรงๆ ยกของหนัก หรือการเล่นกีฬาที่หักโหม จากสถิติของโรงพยาบาลเอส สไปน์ พบว่าได้ทำการรักษาผู้ป่วยที่เข้ามารักษาโรคกระดูกสันหลังด้วยวิธีการผ่าตัดมากกว่า 10,000 ราย โดยที่ผ่านมาเรามุ่งเน้นการรักษาโรคที่ตรงจุด และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยในการผ่าตัด ทำให้ข้อแทรกซ้อนจากการผ่าตัดน้อย นอกจากนี้สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของโรงพยาบาลคือ เวลารับแพทย์เพื่อเข้ามาเป็นแพทย์ประจำ เรามีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก คือ ต้องมีทัศนคติที่ตรงกับโรงพยาบาล โดยยึดหลักสำคัญคือต้องทำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย รายได้และเรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องรอง เรามองเห็นประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งแพทย์ที่เข้ามาทำงานกับเราก็ต้องมีทัศนคติที่ตรงกับเรา เพราะฉะนั้นเมื่อทัศนคติตรงกันแล้วการจะมองข้ามไปอีกขั้นหนึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากที่จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลง
ขณะที่อนาคตอันใกล้นี้เรากำลังจะขยายสาขาโรงพยาบาลด้วยการสร้างโรงพยาบาลใหม่ เพื่อแตกไลน์ธุรกิจเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ โดยยังคงเน้นเรื่องของการรักษากระดูกสันหลังเป็นหลัก และเรายังพบว่าผู้ป่วยหนึ่งในสามของเรายังมีปัญหาเรื่องข้อกระดูก ซึ่งเราอาจจะทำเรื่องข้อและกระดูกเสริมขึ้นมา โดย concept ใหม่ก็คือ S Speciaty Group เป็นกลุ่มของโรงพยาบาลเฉพาะทางที่เป็นโรคเกี่ยวกับความเสื่อม ซึ่งทำให้ในอนาคตเราจะเป็นโรงพยาบาลกระดูกแบบครบวงจร