อยาก ‘แปลงเพศ’ ต้องรู้ หลังผ่าตัดมีอาการแทรกซ้อนอย่างไร

อยาก ‘แปลงเพศ’ ต้องรู้ หลังผ่าตัดมีอาการแทรกซ้อนอย่างไร
ชาว LGBTQIAN+ หลายคนมีความต้องการที่จะเปลี่ยนรูปร่างของตัวเองให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศที่พึงปรารถนา ดังนั้นการทำศัลยกรรมแปลงเพศจึงเป็นสิ่งที่ต้องการ

การแปลงเพศถือเป็นการรักษาที่ซับซ้อน ไม่สามารถที่จะเข้ารับการรักษาได้ทันที เพราะการรักษาต้องดูแลทั้งด้านจิตใจ สังคม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และรูปลักษณ์ที่แสดงเพศ  โดยขั้นตอนทั้งหมดต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น จิตแพทย์  แพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ  นักสังคมสงเคราะห์  ศัลยแพทย์ตกแต่ง มีการรักษาตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ให้ผู้ป่วยลองใช้ชีวิตแบบเพศตรงกันข้าม เพื่อยืนยันภาวะนี้และแยกจากความผิดปกติอื่นที่ใกล้เคียงกัน
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน  อาจเริ่มก่อนใช้ชีวิตแบบเพศตรงกันข้าม การใช้ฮอร์โมนก็อาจมีผลแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น มีน้ำนมไหล ไขมันในเลือดสูง สิว ตับอักเสบ เป็นต้น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนแปลงลักษณะเพศ  มี 2 แบบ คือ จากชายเป็นหญิงและจากหญิงเป็นชาย ซึ่งการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิงทำมากกว่าการผ่าตัดแปลงหญิงเป็นชาย 

หลังจากได้รับการผ่าตัดแปลงเพศยังต้องคอยดูแล และเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่น ๆ ตัวอย่างที่พบได้บ่อยเช่น

แผลผ่าตัดแยก หรือหายไม่สนิท ทั้งนี้เนื่องจากแผลผ่าตัดบริเวณนี้มีการเย็บต่อกันด้วยผิวหนังจากหลายส่วน ทำให้มีรอยต่อระหว่างรอยเย็บหลายแห่ง จึงเป็นไปได้ที่แต่ละตำแหน่งอาจจะมีโอกาสที่จะแยกออกจากกันได้ รวมทั้งการดูแลหลังผ่าตัดที่ไม่เหมาะสมหรือการใช้งานอวัยวะเพศใหม่เร็วเกิน กำหนด จะมีโอกาสที่แผลจะเกิดปัญหาได้ บางรายแพทย์อาจจะต้องทำการเย็บแผลให้ใหม่

ช่องคลอดตื้น เนื่องจากการสร้างช่องคลอดใหม่นั้นมีความจำเป็นต้องอาศัยผิวหนัง จากอวัยวะเพศชายที่มีอยู่เดิม

ท่อปัสสาวะตีบ เนื่องจากท่อปัสสาวะที่สร้างขึ้นใหม่ มีพังผืดล้อมรอบบริเวณรูเปิดทำให้การไหลของปัสสาวะไม่สะดวก หากเกิดขึ้นแล้วการรักษาโดยการถ่ายขยายท่อปัสสาวะด้วยเครื่องมือสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่ทั้งนี้เป็นการรักษาที่ต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

ช่องคลอดใหม่หลุด หรือลอก เกิดในกรณีที่ช่องคลอดใหม่ยังไม่ยึดติดกับช่องที่แพทย์เจาะไว้ให้ และมีการใช้งานหรือการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผิวหนังช่องคลอดปลิ้นหลุดออกกมาด้านนอก ในกรณีที่เกิดขึ้นแบบนี้ แพทย์มีความจำเป็นต้องจัดผิวหนังช่องคลอดให้ใหม่เพื่อให้ผิวบุช่องคลอดใหม่ อยู่ในสภาพเดิม

ช่องคลอดตีบ หรือปากช่องคลอดหดแคบ เกิดได้จากการเจาะช่องคลอดให้ได้ไม่กว้างเพียงพอ อาจจะเนื่องจากโครงสร้างของเชิงกรานมีมุมแคบเกินไปที่จะทำช่องให้กว้างได้ มาก หรือเกิดจากพังผืดหดรัดบริเวณช่องคลอดใหม่ และการดูแลถ่างช่องคลอดหลังการผ่าตัดโดยผู้ป่วยเองทำได้ไม่เพียงพอ

กรณีที่รุนแรงเช่น ช่องคลอดทะลุเข้าในช่องท้องหรือลำไส้ใหญ่ เป็นอาการแทรกซ้อนที่ค่อนข้างจะรุนแรงและแก้ไขยาก เกิดเนื่องจากการดูแลหลังการผ่าตัดที่ไม่เหมาะสม เช่นใช้งานเร็วเกินไป การใช้อุปกรณ์ถ่างขยายที่ใหญ่หรือลึกเกินไป

รวมทั้งการผ่าตัดที่เกิดการทะลุเข้าในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างช่องคลอดและลำไส้ใหญ่ขึ้น การรักษาจะทำได้โดยการผ่าตัดแก้ไขใหม่ โดยอาจจะเย็บซ่อมรูทะลุได้ถ้าหากรูไม่ใหญ่เกินไปแต่หากมีการทะลุรุนแรงและ เป็นรูใหญ่มาก และไม่สามารถเย็บซ่อมได้ อาจมีความจำเป็นต้องแก้ไข โดยการระบายอุจจาระออกทางหน้าท้องก่อนระยะหนึ่ง เพื่อมิให้อุจจาระมาปนเปื้อนบริเวณรูทะลุ หลังการเย็บซ่อมรูทะลุนั้น และเมื่อรูทะลุปิดดีแล้ว จึงค่อยผ่าตัดทำช่องคลอดให้ใหม่ด้วยลำไส้ใหญ่ส่วนปลายต่อไป

สำหรับการแปลงเพศจากหญิงไปชาย หรือเรียกว่า ชายข้ามเพศ ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการผ่าตัดหน้าอก สำหรับวิธีการแปลงเพศหลายแบบ สำหรับการผ่าตัดที่ต้องการยุติการมีประจำเดือน ไม่สามารถตั้งครรถ์ได้ แต่ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้คือ 

  • การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ เพื่อหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและหยุดการมีประจำเดือนแบบถาวร มีหลายแบบ ทั้งการผ่าตัดผ่านกล้อง การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง และการผ่าตัดผ่านทางช่องคลอด ซึ่งมีข้อดีแตกต่างกัน แต่ที่ได้รับความนิยมคือการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ผ่านกล้อง (Laparoscopic) เพราะแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
  • การผ่าตัดปิดช่องคลอด เป็นการยุติการทำหน้าที่ของช่องคลอดแบบถาวรหลังจากที่ตัดมดลูกและรังไข่ออกไปเรียบร้อยส่งผลให้ร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงไม่เกิดการตกไข่ไม่มีประจำเดือนและหมดโอกาสตั้งครรภ์ในอนาคต

ส่วนการผ่าตัดแปลงเพศที่ยังสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้คือ การผ่าตัดเปลี่ยนเพศหญิงเป็นชายแบบเมตตอยด์เป็นการสร้างอวัยวะเพศชายโดยยืดผิวหนังรอบคลิตอริสออกจากเนื้อเยื่อโดยรอบเพื่อห่อหุ้มให้เห็นองคชาตชัดเจนขึ้น ต่อท่อปัสสาวะให้มาเปิดที่ปลายองชาตที่ทำขึ้น คือนำผนังช่องคลอดมาทำท่อปัสสาวะ มีการปิดช่องคลอดและใส่ลูกอัณฑะเทียม ทำให้สามารถยืนปัสสาวะได้ใกล้เคียงแบบชาย อย่างไรก็ตามการผ่าตัดเปลี่ยนเพศหญิงเป็นชายแบบเมตตอยด์อวัยวะเพศชายยังคงมีขนาดเล็กจึงไม่สามารถร่วมเพศได้ แต่ความรู้สึกทางเพศยังเหมือนเดิม 

การผ่าตัดเปลี่ยนเพศหญิงเป็นชายแบบฟาโรห์ไม่เพียงสร้างอวัยวะเพศชายที่สามารถยืนปัสสาวะได้ แต่ยังมีขนาดและรูปทรงสวยตามธรรมชาติ สามารถร่วมเพศได้จริง และเชื่อมต่อเส้นประสาทที่สร้างความรู้สึกทางเพศได้ โดยมีแผลเป็นเพียงเล็กน้อย ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนเพศหญิงเป็นชายแบบฟาโรห์มีหลายเทคนิค

การผ่าตัดแปลงเพศอยู่ในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี 2561 

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ผ่าตัดแปลงเพศในกลุ่ม LGBTQ+ ว่า การผ่าตัดแปลงเพศอยู่ในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี 2561 แล้ว เพราะไม่ได้มีข้อยกเว้นเอา การผ่าตัดแปลงเพศราคาค่อนข้างสูง เพราะไม่ใช่แค่ผ่าตัดแปลงเพศเท่านั้น แต่มีหัตถการอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งสิทธิประโยชน์ก็จะต้องครอบคลุมทั้งหมด 

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมเพศวิทยาคลินิกและเวชศาสตร์ทางเพศ ที่ดูแลรักษาผู้มีเพศสภาพไม่ตรง ก็ทำคู่มือทำไกด์ไลน์ออกมาว่า ก็มีประมาณ 8-9 หัตถการที่ต้องทำ เช่น ตัดกราม ผ่าตัดใบหน้า ผ่าตัดหน้าอก ผ่าตัดอวัยวะเพศ เป็นต้น ซึ่งแต่ละหัตถการก็จะแบ่งเป็น 1 DRG ในการเบิกแยกกัน ไม่ได้รวมเป็นก้อนเดียว เรากำลังให้ทีมทำเป็นแพคเกจทั้งหมดของทรานส์เจนเดอร์ ซึ่งบางเรื่องมีอยู่แล้ว แต่แค่กระจัดกระจาย เราไม่เคยเอาพวกนี้มามองเป็นเรื่องของทรานส์เจนเดอร์ เราจะรวมแพคเกจมาคุยกันใหม่ ที่มีอยู่แล้วก็เอามารวม ที่ยังไม่มีก็เอามาเสริม แล้วประกาศเป็นแพคเกจสำหรับคนกลุ่มนี้ คาดว่าประมาณ 1-2 เดือนน่าจะแล้วเสร็จ

ข้อมูล 1 2 3 4

TAGS: #Lgbtq #แปลงเพศ