คนวัยทำงานส่วนใหญ่ต้องหนีไม่พ้นความรู้สึกที่ว่า ทำอะไรก็ไม่เก่ง ที่ผ่านมา ที่ทำได้ มักจะรู้สึกว่าโชคเข้าข้าง มีคนคอยช่วย ไม่ได้เกิดจากฝีมือคุณ อาการเหล่านี้เรียกว่า “Imposter syndrome”
Imposter syndrome คือ อาการทางจิตที่ทำให้เรารู้สึกว่ากำลังหลอกลวงคนรอบข้าง เป็นตัวปลอม ไม่ได้เก่งจริง ไม่ใช่ตัวจริง แม้ว่าเราจะทำเรื่องนั้นประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงก็ตาม ความรู้สึกนี้เกิดได้ทั้งบริบทของการทำงาน ความสัมพันธ์ มิตรภาพ ที่ทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด ไม่มั่นใจว่าสิ่งดีๆ ที่เราได้รับอยู่ตอนนี้เราสมควรได้รับหรือไม่ คนที่มีโอกาสเป็น Imposter syndrome มี 5 อาการคือ
- กดดันตัวเอง คาดหวังว่าต้องประสบความสำเร็จในทุกเรื่อหากไม่สำเร็จจะคิดว่าตนเองไม่เก่ง
- ทำงานหามรุ่งหามค่ำ เพราะคิดว่าจพต้องได้งานที่ดีกว่านี้ จนไม่สามารถแนกชีวิตส่วนตัวกับการทำงานได้
- คิดว่าตนเองต้องทำได้ทุกอย่าง เมื่อทำไม่ได้จะคิดว่าไม่เก่ง และเฝ้าโทษตนเอง
- ขาดความั่นใจ วิตกกังวล ว่าตนเองจะทำไม่ได้จนเสียบุคลิกภาพ
- กลัวการเผชิญสิ่งใหม่ๆ ไม่กล้าเปิดรับการเปลี่ยนแปลง
กลุ่มคนที่จะประสบกับอาการ Imposter syndrome ได้แก่
กลุ่ม The Perfectionists (คนรักความสมบูรณ์แบบ) เพราะมักสร้างมาตรฐานและความคาดหวังต่อตนเองไว้สูงลิ่ว ชนิดที่ว่าแม้จะสำเร็จไปแล้วกว่า 99% ก็ยังจะถือว่า 1% ที่เหลือเป็นความล้มเหลวที่รับไม่ได้และนำไปสู่การตั้งคำถามต่อความสามารถของตัวเอง มักคิดว่า “มันควรจะดีกว่านี้”, “ถ้าฉันทำไม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แสดงว่ามันไม่ดีพอ”, “ฉันไม่ควรทำผิดพลาด”
กลุ่ม The Superwoman/Superman (ซุปเปอร์วูแมน/ซุปเปอร์แมน) รู้สึกว่าต้องสำเร็จในทุกด้านของชีวิตทั้งหน้าที่การงาน ครอบครัว บทบาทพ่อแม่และคู่ครองที่ดี จนทำให้เกิดความกดดันและเครียดเมื่อองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ต้องพิสูจน์คุณค่าของตัวเองด้วยการทำงานหนัก
กลุ่ม The Natural Genius (หัวกะทิที่มีทั้งพรสวรรค์และพรแสวง) คนกลุ่มนี้คุ้นชินกับการใช้สติปัญญาอันเฉลียวฉลาดของตนเองในการทำให้ทุกอย่างสำเร็จที่มาโดยง่ายแต่เมื่อใดที่ต้องเผชิญความท้าทายหรือต้องใช้ความพยายามหนักขึ้นเพื่อบรรลุผล สมองจะสั่งการบอกพวกเขาทันทีว่า “ที่ต้องพยายามขนาดนี้เพราะตัวเธอยังไม่เก่งไง”
กลุ่ม The Soloist (นักฉายเดี่ยว) คนกลุ่มนี้คุ้นชินกับการทำงานได้สำเร็จด้วยตัวเองอยู่เสมอ ๆ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่นนั่นหมายถึงฉันไม่ดีพอ เป็นการเปิดเผยความด้อยความสามารถ (แม้จะหมายถึงการต้องเผชิญปัญหาอยู่คนเดียวก็ตาม)
กลุ่ม The Expert (ผู้เชี่ยวชาญ) เป็นความเชื่อที่ว่า ฉันควรจะรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งก่อนที่จะรู้สึกพร้อม ต้องมีข้อมูลครบถ้วน ผ่านการฝึกอบรม หรือข้อมูลเพิ่มเติมอยู่เสมอถึงจะมั่นใจในการลงมือทำ
ทำอย่างไรให้ไม่รู้สึกว่าเราเป็นคนห่วย เริ่มจากการมองหาข้อดีวันละ 1 เรื่องกลับมาเห็นคุณค่าในตนเอง รับรู้ความสามารถของตนเอง เลือกงาที่ตรงกับความถนัด เพื่อให้สามารถทำงานออกมาได้ดี เพื่มความรู้สึกดีๆ และช่วยให้มีความสุขในหารทำงานมากขึ้น รู้ความชอบของตนเอง เพราะการทำอะไรได้ดีมักเริ่มตากการได้ทำสิ่งที่ชอบ และลดการเปรียบเทียบ เพื่อไม่บั่นทอนความมั่นใจในตนเอง