รู้สึก "เครียด" หลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง ทำความรู้จักโรค PTSD

รู้สึก
ภาวะเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงนั้นเกิดขึ้นได้ทุกคน แต่บางรายจะเกิดความรู้สึกที่รุนแรง รู้สึกถึงประสบการณ์ที่ตกอยู่ในเหตุการณ์รุนแรงนั้นซ้ำๆ จนไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ ทำความรู้จักภาวะ PTSD

PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) คือโรคในกลุ่มที่เกิดจากความกดดันทางจิตใจชนิดหนึ่ง ซึ่งย่อมาจาก Posttraumatic Stress Disorder หรือที่รู้จักในชื่อ “โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง” ผู้ป่วยจะมีความเครียดและความรู้สึกที่รุนแรงมากหลังจากที่ผ่านเหตุการณ์เลวร้าย เช่น อุบัติเหตุ สงคราม ภัยพิบัติ ความรุนแรงทางเพศ หรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่สะเทือนใจอย่างมาก

ดอกเตอร์รักษาเผยข้อูลเกี่ยวกับผู้ป่วย PTSD อาจจะเป็นผู้ที่เผชิญกับเหตุการณ์โดยตรง หรืออาจเป็นผู้พบเห็น / พยานในเหตุการณ์ก็ได้ เมื่อต้องเผชิญกับเหตุกระตุ้นซ้ำ เช่น สถานการณ์ สถานที่ หรือบุคคลที่คล้ายกับเหตุการณ์เดิมก็สามารถกระตุ้นความคิด ความทรงจำ หรือความรู้สึกที่ฝังใจในอดีตจนอาการทางจิตกำเริบขึ้นมาอีกครั้งได้ ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ

ลักษณะสำคัญของ PTSD มี 3 ด้านหลัก คือ มีการรู้สึกถึงประสบการณ์ที่ตกอยู่ในเหตุการณ์รุนแรงนั้นซ้ำๆ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และมีอาการตื่นตัวได้ง่าย

เหตุการณ์รุนแรงที่อาจกระตุ้นให้เกิด PTSD เช่น

  • อุบัติเหตุร้ายแรง
  • ภาวะสงคราม
  • การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย / ทางเพศ
  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • การถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง

อาการของโรค PTSD

หลังจากเผชิญเหตุการณ์รุนแรง ผู้ป่วย PTSD จะแสดงอาการออกมาให้เห็นได้หลายลักษณะ โดยจะมีอาการนานมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป แพทย์ได้จำแนกอาการของผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้

กลุ่มอาการหวนนึกถึงเหตุการณ์ซ้ำๆ (Re-experiencing): ผู้ป่วย PTSD จะมองเห็นภาพเหตุการณ์เลวร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า (Flashback) หรือฝันถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ (Nightmare)

กลุ่มอาการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์สะเทือนใจ (Avoidance): ผู้ป่วย PTSD มักจะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ สถานที่ สิ่งของ หรือบุคคลที่อาจจะกระตุ้นความทรงจำที่สะเทือนใจ รวมถึงผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงความคิด ความทรงจำ หรือความรู้สึกที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นอีกด้วย

กลุ่มอาการตื่นกลัว (Arousal and Reactivity): ผู้ป่วยจะมีอาการตกใจง่าย หวาดกลัวอย่างมาก วิตกกังวลรุนแรง นอนไม่ค่อยหลับ และหงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อาการกลุ่มนี้อาจทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้ยากลำบาก

กลุ่มอาการความคิดและอารมณ์ผันแปร (Cognition and Mood): ผู้ป่วย PTSD จะเริ่มมองโลกในแง่ร้าย คิดว่าตัวเองไร้ค่า ไม่สมควรอยู่บนโลกใบนี้ ความรู้สึกบิดเบี้ยวไปจากความจริง ไม่รู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมที่ตัวเองชอบเหมือนแต่ก่อน

การเยียวยา

ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ราชบุรี เผยการเยียวยาโรคเครียดภายหลังภยันตรายหรือ PTSD โดยที MACC มี 3 ระยะ

ระยะที่ 1 คือ ช่วง 3 วันแรก โดยทีม MCATT

พื้นที่ เริ่มดูแลให้กำลังใจประชาชน เนื่องจากยังมีความหวาดกลัว วิตกไม่สบายใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะประชาชนและครอบครัวที่อยู่ใกล้ชิด ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ต้องดูแลรายบุคคลทุกครอบครัว (แนะนำดูแลตนเอง เช่น นอนหลับ เลี่ยงสุรา/ยาเสพติด หาคนพูดคุย)

ระยะที่ 2 คือ ช่วง3 วันแรกถึง 2 สัปดาห์

ยังคงดูแลต่อเนื่องในแง่มุมจิตใจที่จะมีแผลใจ เจ็บปวด และความทุกข์ปรากฏมากขึ้นความเศร้าโศก กังวลมากนอนไม่หลับ, สะดุ้งผวากลางคืน ทีม MCATT และศูนย์เยียวยาในชุมชน กระจายให้ช่วยเหลือเชิงรุก ไปเยี่ยมบ้าน ประเมิน ให้คำปรึกษาแนะนำ เยียวยาใจ

ระยะที่ 3 คือช่วง 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนหรือนานกว่านั้น

ทีมพื้นที่ดูแลต่อเนื่องและกระจายทำความเข้าใจกับพื้นที่ให้สามารถปรับตัวและร่วมกันดูแล โดยรายที่มีปัญหาสุขภาพจิตสำคัญได้รับการส่งต่อดูแลเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกัน โรค PTSD

ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเกิดภาวะ PTSD

สิ่งที่ควรทำ

ผู้ป่วยโรค PTSD จะต้องปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้อาการกำเริบและรุนแรงยิ่งขึ้น โดยจำแนกเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติ และสิ่งที่ผู้ป่วยไม่ควรปฏิบัติ ได้ดังนี้

  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค PTSD เพื่อทราบวิธีจัดการกับอาการที่กำลังเผชิญ
  • ปฏิบัติตามแผนการรักษาของจิตแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • เมื่อมีความเครียดหรือเกิดอาการวิตกกังวล ให้ทำกิจกรรมที่ผู้ป่วยชอบ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปที่ปัจจุบัน
  • ใช้เวลาร่วมกับครอบครัว เพื่อนสนิท หรือคนรัก ความรู้สึกอบอุ่นใจจะช่วยเยียวยาอาการได้ดี

สิ่งที่ไม่ควรทำ

ห้ามใช้ยาเสพติดทุกชนิด เพราะอาจมีผลต่อระบบประสาท เป็นอุปสรรคต่อการรักษาโรค PTSD ได้

TAGS: #สุขภาพจิต #PTSD #เครียด