เกษมราษฎร์ แนะตั้งการ์ดรับจีนเปิดประเทศนักท่องเที่ยวทะลัก หวั่นโควิดระบาดอีกระลอก
8 มกราคม 2566 จะเป็นวันแรกที่จีนประกาศเปิดประเทศ นั่นหมายความว่ารัฐบาลจีนอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้ ขณะเดียวกันชาวจีนก็สามารถเดินทางออกไปนอกประเทศ ด้วยเช่นกัน
และเชื่อว่า ‘ไทย’ จะยังเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวลำดับต้นๆ ที่จะมาเยือนในปีนี้ จากก่อนหน้าการแพร่ระบาดโควิด-19 ชาวจีนครองส่วนแบ่งราว27% ของตลาดการท่องเทื่ยวไทย โดยมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 11 ล้านคน
สถานการณ์ดังกล่าว แม้หลายฝ่ายจะมองว่าเป็นผลบวกต่อภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในไทยจากกำลังซื้อนักท่องเที่ยวจีน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีความน่ากังวลด้านความปลอดภัยเชิงสาธารณสุขอีกครั้ง
ด้วยในช่วงปลายปี2565 ที่ผ่านมา จีนเผชิญจีนสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดระลอกใหญ่ ภายหลังจีนผ่อนคลายมาตรการซีโรโควิด ส่งผลให้หลายประเทศ อาทิ สหรัฐอมเริกา ญี่ปุ่น และ กลุ่มประเทศยุโรป ออกมาตรการตรวจเข้มนักเดินทางจากจีนที่เตรียมเข้าประเทศของตน
ตั้งรับโควิดระบาดระลอกใหม่
นพ.วรวิทย์ กันทะมาลี กุมารเวชกรรม-โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ ระบุสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดภาพรวมในไทยขณะนี้ อยู่ในช่วงชะลอตัวเป็นการแพร่ระบาดในกลุ่มเล็ก เรียกว่า ‘สมอลล์ เวฟ’ (Small Wave)
ต่อกรณีจีนเปิดประเทศนั้น มีความเป็นไปได้ว่าไทยจะเผชิญกับการแพร่ระบาดโควิดอีกระลอก ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ ทั้งจากคนไทยที่เดินทางไปยังจีนและกลับเข้ามายังไทย และชาวจีนที่เดินทางไทย ซึ่งคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ทยอยเดินทางมาไทยนับแต่ช่วงต้นปี2566 นี้ โดยมีช่วงสูงสุดราวเดือน มีนาคม-เมษายน จากตลอดทั้งปี2566 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดว่าจะมีชาวจีนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม หากโฟกัสในกลุ่มหลังพร้อมมองในเชิงป้องกันการแพร่ระบาดโควิดจากการมาเยือนชองนักท่องเที่ยวจีนในไทย ในเบื้องต้นมองว่าการสาธารณสุขของไทยในภาพรวมยังสามารถบริหารจัดการได้
7 การ์ด-เข็มบูสเตอร์ป้องโควิด จู่โจม
นพ.วรวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นระลอกใหม่ในไทยนั้น ยังสอดคล้องกับแผนปฏิบัติของกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข กำหนด 7มาตรการป้องกันการติดต่อโรคโควิด-19 ในกลุ่มนักเดินทางต่างชาติ ประกอบด้วย 1. การตรวจเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนโควิด-19 และ การซื้อประกันสุขภาพของผู้เดินทางเข้ามายังไทย ฯลฯ
2.การสื่อสารประชาสัมพันธ์จากข้อที่1 ในกลุ่มเป้าหมายที่จะเดินทางเข้ามายังไทยเพื่อให้รับทราบและนำไปปฏิบัติ ผ่านหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหรรมการท่องเที่ยว/การบิน เป็นต้น 3. การดำเนินสุ่มตรวจสายพันธุ์ไวรัสโควิด พร้อมประเมินสถานการณ์เป็นระยะ เพื่อสร้างความมั่นใจในวงกว้าง
4.การเตรียมความพร้อมด้านระบบต่างๆ ทั้งบริการสารธารณสุขเชิงการท่องเที่ยว อาทิ บริการตรวจหาเชื้อโควิด ในรูปแบบต่างๆ บริการห้องแรงดันลบ เวชภัณฑ์ที่จำเป็น 5.บริการข้อมูลข่าวสาร สายด่วนฮอตไลน์ สำหรับนักท่องเที่ยวหากติดเชื้อโควิด
6.เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการธุรกิจบริการที่ได้รับมาตรฐานปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยวโดยนักท่องเที่ยว (SHA) และ มาตรฐานปลอดภัยโดยพนักงานในสถานประกอบการ/กิจการได้รับวัคซีนคิด ครบโดสอย่างน้อย 70% ของพนักงานทั้งหมดในองค์กร (SHA+)
และ7. การรณรงค์ให้ประชาชนคนไทยได้รับวัคซีนครบโดส รวมวัคซีนกระตุ้น (บูสเตอร์) จำนวน 4 เข็ม ปัจจุบันคนไทยมีไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปแล้ว โดยคนไทยกลุ่มที่ได้รับวัคซีนชุดแรกๆ จะเป็นวัคซีนสูตรเชื้อตาย ไวรัลเวคเตอร์ และทยอยเปลี่ยนมาเป็นสูตร เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) รวมแล้วเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3 เข็มต่อคน
“มาตรการข้อสุดท้ายมีความสำคัญมาก ด้วยในขณะนี้ มีประชาชนคนไทยรับวัคซีน3เข็มไปแล้วจำนวนหนึ่ง ซึ่งเข็มกระตุ้นควรเป็นสูตรmRNA โดยเฉพาะผู้มีความเสี่ยง ในกลุ่มผู้ให้บริการนักท่องเที่ยว กลุ่มผู้สูงอายุ และ ผู้มีโรคประจำตัว/โรคเสี่ยง หรือกลุ่ม608” นพ.วรวิทย์ ย้ำ
สำหรับ การรับเข็มกระตุ้นนั้น ควรเป็นวัคซีนสูตร mRNA เป็นหลัก พร้อมยกตัวอย่าง กรณีผู้ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวค หรือ แอสตราซิเนกา รวมจำนวน3 เข็มก่อนหน้านี้
ดังนั้นเข็ม4 ควรเป็นวัคซีน โมเดอร์นา หรือ ไฟเซอร์ รวมไปถึงผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และได้รับวัคซีนมาก่อนหน้านี้ ควรได้รับการวัคซีนสูตร mRNA เข็มกระตุ้นอีกหนึ่งครั้ง โดยทิ้งช่วงระยะเวลาราว 3เดือนหลังจากติดเชื้อโควิด ในวันแรก
นพ.วรวิทย์ กันทะมาลี กุมารเวชกรรม-โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์