เข้าหน้าร้อนอย่างเป็นทางการ ต้นไม้ดอกไม้เริ่มผลิดอกบานไปทั่วหลายคนมองว่าสวย แต่อีกหลายคนมองแล้วขนลุก เพราะนี่คือสาเหตุที่อาการภูมิแพ้
บทความจาก คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ลงบทความ ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช เกี่ยวกับอาการแพ้โดยกล่าวว่า สารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรจากหญ้า ต้นไม้ และวัชพืชสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น
ซึ่งละอองเกสรเหล่านี้จะมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถปลิวได้ใกลหลายกิโลเมตร ทำให้เกิดอาการในผู้ที่แพ้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ หรือหญ้าไว้ในบ้านก็ตาม โดยชนิดและปริมาณของละอองเกสรจะแตกต่างกันตามฤดูกาลและภูมิประเทศ
หากผู้ที่มีอาการภูมิแพ้สูดดมและหายใจเอาละอองเหล่านี้เข้าไป ระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำการปกป้องร่างกายทันที เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรียที่เข้ามา แต่สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ละอองเกสรดอกไม้นั้น ระบบภูมิคุ้มกันจะไปตีความให้ละอองเกสรดอกไม้ที่ไม่มีอันตรายใด ๆ ว่า เป็นสิ่งแปลกปลอม แล้วจึงปล่อยสารเคมีออกมาเพื่อที่จะกำจัดสิ่งแปลกปลอมดังกล่าว ร่างกายจึงเกิดปฏิกิริยาที่ต่อต้านกับละอองเกสรเหล่านั้น จนแสดงอาการแพ้ออกมานั่นเอง
โดยจะอาการภูมิแพ้ทั่วไปที่เรารู้จักกันดี คือ ไอ, คัดจมูกและจาม, คันคอ คันดวงตา, น้ำตาไหล น้ำมูกไหล, มีผื่นแดง ส่วนลักษณะอาการของภูมิแพ้ละอองเกสรของดอกไม้เช่น
- มีอาการไซนัสอักเสบ จนทำให้เกิดอาการปวดบริเวณใบหน้า
- ดวงตามีอาการบวม
- ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีฟ้า โดยเฉพาะบริเวณใต้ดวงตา
- ตาแดงและมีน้ำตาไหล
- การทำงานของต่อมรับรสและการดมกลิ่นลดลง
- มีอาการหอบหืด
ละอองเกสรพืชที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในประเทศไทย ได้แก่
- เกสรหญ้าแพรก (Bermuda grass)
- เกสรหญ้าพง (Johnson grass)
- เกสรวัชพืช เช่น ผักโขม (Careless weed) สปอร์ของเฟิร์นต่างๆ
- เกสรพืชยืนต้น เช่น กระดินณรงค์ (Acacia) กระถิ่นณรงค์ (Acacia)
การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสร
- ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำสระผม เมื่อสัมผัสหรือกลับจากบริเวณที่มีละอองเกสรหญ้า วัชพืช และต้นไม้
- ควรปิดประตูหน้าต่าง ในช่วงฤดูที่มีการกระจายของละอองเกสรโดยเฉพาะเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะจะมีการกระจายของละอองเกสร
- มากในประเทศไทย
- การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA filter อาจช่วย
- ลดสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรได้