เอส สไปน์เปิด 6 เทคนิคการรักษาที่แพทย์ต้องเชี่ยวชาญ "โรคกระดูกสันหลัง"

เอส สไปน์เปิด 6 เทคนิคการรักษาที่แพทย์ต้องเชี่ยวชาญ
เอส สไปน์ เปิดเทคนิคการรักษาด้านโรคกระดูกสันหลัง ย้ำ จุดยืนแพทย์ต้องเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อการรักษาที่ตรงจุดและยั่งยืน

“โรคกระดูกสันหลัง”  เป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยมีปัจจัยมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาการของโรคสามารถรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี นพ. ดิตถพงษ์ บุญอำพล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอส สไปน์ เผยว่า ที่เอส สไปน์ มีการรักษา Minimally Invasive Spine Surgery หรือ MIS Spine แบบครบวงจร เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและกลัวการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดแผลใหญ่กลายเป็นแผลเล็ก แต่ได้ผลการรักษาเท่ากัน ปลอดภัยกว่าเดิม 30 เท่า ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ความเจ็บหลังการรักษาลดลง ทำให้ค่ารักษาโดยรวมถูกกว่าเดิม ผู้ป่วยจากเดิมที่เคยนอนโรงพยาบาลประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือบางรายอาจต้องนอนนาน 1-2 เดือน เมื่อรักษาด้วยวิธี MIS Spine จะทำให้ผู้ป่วยนอนที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น

นอกจากแพทย์ต้องมีความชำนาญในการรักษา สิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาหายได้เร็วขึ้น คือ เทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่  ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ดังนั้น ความเชี่ยวชาญจึงหมายถึง การที่แพทย์สามารถใช้ความรู้ในการรักษาโรคกระดูกสันหลังต่างๆ ผ่านเทคนิคที่หลากหลาย  ซึ่งเทคนิคต่อไปนี้ จะมีความยากซับซ้อน แตกต่างกันออกไป ตามเครื่องมือที่ใช้

1.การรักษาด้วย “เลเซอร์”   เป็นหนึ่งในเทคนิคที่ทันสมัย   ในกระบวนการรักษาหมอนรองกระดูกปลิ้น  แพทย์ต้องมีทักษะและความแม่นยำสูง การใช้ Fluoroscopy และ MRI ช่วยให้แพทย์มองเห็นตำแหน่งของหมอนรองกระดูกในแบบเรียลไทม์ ทำให้การสอดเข็มและการวางตำแหน่งอุปกรณ์เป็นไปอย่างถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่อเส้นประสาท

2.  การผ่าตัดส่องกล้อง PSLD  (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression) เป็นวิธีที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษาโรคกระดูกสันหลังมากที่สุด  โดยแพทย์ต้องมีความรู้และทักษะเฉพาะทางหลายด้าน เริ่มต้นด้วยการใช้ Fluoroscopy เพื่อระบุตำแหน่งและนำทางการสอดกล้องเข้าไปยังจุดที่ต้องการรักษาอย่างแม่นยำ ซึ่งการใช้กล้องและอุปกรณ์เป็นสิ่งที่ยาก แพทย์จำเป็นที่ต้องฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชำนาญ อีกทั้ง ต้องมีทักษะการจัดการภาวะแทรกซ้อนและการดูแลหลังการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว 

3.  PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) หรือ EPCF (Endoscopic Posterior Cervical Foraminotomy) เป็นเทคนิคการรักษาแผลเล็กที่ต้องการทักษะเฉพาะ เนื่องจากบริเวณคออยู่ใกล้กับไขสันหลังและโครงสร้างสำคัญอย่างเส้นประสาทและหลอดเลือด แพทย์จึงต้องมีความเข้าใจในกายวิภาคของกระดูกสันหลังส่วนคออย่างละเอียด ก่อนการรักษา แพทย์จะใช้ Fluoroscopy นำทางการสอดกล้องให้แม่นยำ จากนั้น ทำการรักษาผ่านจอมอนิเตอร์ที่แสดงภาพขยายภายในโพรงกระดูกสันหลังทำให้แพทย์สามารถใช้เครื่องมือพิเศษ   เพื่อคีบและตัดเนื้อเยื่อที่กดทับเส้นประสาทได้อย่างปลอดภัยโดยไม่กระทบกับไขสันหลัง

4.  Full Endo TLIF (Full Endoscopic Transforaminal Lumbar Interbody Fusion) เป็นเทคนิคการผ่าตัดเฉพาะทาง ที่แพทย์ต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญสูง   การรักษาด้วย Full Endo TLIF ต้องการทักษะขั้นสูง โดยเฉพาะความเชี่ยวชาญในการเลือกและติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมข้อ เช่น Interbody Cage และวัสดุปลูกกระดูก (Bone Graft) ซึ่งต้องเหมาะสมกับโครงสร้างกระดูกสันหลังของผู้ป่วย การติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้ความแม่นยำสูงและควบคุมการเคลื่อนไหวในพื้นที่จำกัดโดยอาศัยกล้องเอ็นโดสโคปที่ให้ภาพขยายชัดเจนร่วมกับภาพนำทางจาก Fluoroscopy เพื่อวางอุปกรณ์ในตำแหน่งที่ปลอดภัย แพทย์ต้องมีทักษะในการควบคุมการใช้สกรูแบบนำวิถี (Percutaneous Screws) ที่ช่วยยึดกระดูกให้มั่นคง โดยไม่กระทบต่อเส้นประสาทและเนื้อเยื่อสำคัญ ซึ่งช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพและลดภาวะแทรกซ้อน  แพทย์ที่สามารถผ่าตัดแบบส่องกล้อง  อาจมีพื้นฐานที่ช่วยในการทำ Full Endoscopic TLIF แต่ยังคงต้องมีการฝึกฝนและศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านการวาง interbody cage และการใช้เครื่องมือเชื่อมข้อกระดูก  

5. การผ่าตัด Endoscopic ACDF (Endoscopic Anterior Cervical Discectomy And Fusion) เป็นเทคนิคที่ซับซ้อน  เนื่องจากเป็นการเข้าถึงจากด้านหน้าของคอ ซึ่งเต็มไปด้วยโครงสร้างสำคัญ  ที่ต้องอาศัยความรู้เชิงลึกด้านกายวิภาคของกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยเฉพาะโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน เช่น เส้นประสาท หลอดเลือด และอวัยวะสำคัญอื่น ๆ แพทย์ต้องมีทักษะในการควบคุมกล้องส่อง (endoscope) เพื่อให้มองเห็นและเข้าถึงพื้นที่จำกัดได้อย่างแม่นยำ พร้อมทั้งใช้ Fluoroscopy ช่วยนำทางระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมข้อ เช่น Interbody Cage และ Bone Graft ซึ่งจะต้องวางในตำแหน่งที่ปลอดภัยโดยไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาท แพทย์ต้องมีความสามารถในการเลือกใช้อุปกรณ์และจัดการภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การตกเลือดและการบาดเจ็บของเส้นประสาท เพื่อให้การผ่าตัดสำเร็จและผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างปลอดภัย

6. การฉีดซีเมนต์ (Bone Cement) เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังหัก แตก หรือทรุด ซึ่งไม่ต้องการการผ่าตัด วิธีนี้ถือเป็นทางเลือกที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เฉพาะทางของแพทย์อย่างสูง เนื่องจากขั้นตอนการรักษาต้องมีการวางแผนที่แม่นยำและชัดเจน เพราะการฉีดซีเมนต์ต้องจบในครั้งเดียว ไม่สามารถแก้ไขได้ในห้องผ่าตัด  จึงต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

นพ. ดิตถพงษ์ ทิ้งท้ายว่า เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ที่ เอส สไปน์  เราจึงให้ความสำคัญกับการรักษาที่ต้นเหตุ โดยเน้นให้แพทย์มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีที่หลากหลาย แต่หัวใจสำคัญ แพทย์ต้องประเมินและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยให้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ  

TAGS: #โรคกระดูกสันหลัง #เอสสไปนน์