“ซาแซง” คลั่งรักจนกว่าเธอนั้นจะยอม

“ซาแซง” คลั่งรักจนกว่าเธอนั้นจะยอม
จะให้เธอจนกว่าเธอจะรับ บอกรักเธอจนกว่าเธอนั้นจะยอม ความรักจากแฟนคลับที่อาจจะฟังดูโรแมนติกจนกระทั่งมันเป็นการล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว และคุกคามมากกว่าที่คิด

จากกรณีนักร้องชื่อดัง ออกมาแฉถึงพฤติกรรมคนใกล้ตัวที่คอยตาม และใส่ร้ายภรรยาของเขามานานนับ 10 ปี หลายคนเห็นว่านี่คือพฤติกรรมที่แฟนคลับเรียกว่า “ซาแซง” ในกลุ่มของไอดอล นักร้องเกาหลีมักพบคนกลุ่มนี้ เช่น เหตุการณ์ที่เอ็กโซ (EXO) ถูกแอบถ่าย ครั้งหนึ่งขณะเดินทางไปต่างประเทศ ซาแซงแฟนได้แทรกซึมเข้าไปในโรงแรมที่สมาชิกพัก และติดตั้งกล้องไว้ในฟิตเนสของโรงแรม ซูโฮเจอกล้องดังกล่าวก่อนจะรีบปิดหน้าของเขาพร้อมบอกผู้จัดการ ไม่หมดเพียงแค่นั้น พวกเขายังติดตั้งกล้องในห้องของสมาชิก พร้อมไมโครโฟน 

การไม่เข้าใจถึงขอบเขตของการแสดงออกทางความรัก หรือการล่วงล้ำเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัว หรือแม้กระทั่งเวลาส่วนตัว พฤติกรรมของซาแซงที่อ้างว่าเป็นการแสดงความรักต่อศิลปิน กลับสร้างความเสียหายทั้งทางร่างกายและจิตใจแก่ศิลปิน ครอบครัว และคนรอบข้าง เช่น ทำร้ายร่างกายศิลปินโดยตรง บุกรุกความเป็นส่วนตัว เช่น แอบเข้าบ้านหรือสะกดรอยตาม คุกคามออนไลน์ เช่น โพสต์หมิ่นประมาทหรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว คุกคามจิตวิทยา เช่น ส่งจดหมายขู่หรือโทรรบกวน

ทางด้านเฟซบุ๊กเพจคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา อธิบายถึง จิตวิทยาของ “ซาแซง” ว่า “ซาแซง” (Sasaeng) เป็นคำที่ใช้เรียกแฟนคลับที่มีพฤติกรรมสุดโต่งในการติดตามศิลปินหรือไอดอลเกาหลี ด้วยการล้ำเส้นความเป็นส่วนตัวอย่างรุนแรง เช่น การตามไปถึงบ้าน การสืบค้นข้อมูลส่วนตัว หรือแม้กระทั่งการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของศิลปิน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่สะท้อนถึงปัญหาทางจิตวิทยาที่ซับซ้อนในตัวบุคคลและในสังคมโดยรวม

แรงผลักดันของซาแซง: ความหลงใหลที่ไม่สมดุล พฤติกรรมของซาแซงมักเริ่มต้นจากความหลงใหลที่เกินขอบเขต การศึกษาพบว่า 30% ของแฟนคลับที่มีพฤติกรรมล้ำเส้น อาจมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาไอดอลเป็นแหล่งที่มาของความสุขทางจิตใจ เช่น การมองไอดอลเป็น “ศูนย์กลางของชีวิต” ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมล้ำเส้นเพื่อเข้าถึงศิลปินในทุกวิถีทาง

*ความผิดปกติทางจิตใจที่เกี่ยวข้อง*

ซาแซงบางคนอาจมีปัญหาทางจิตใจ เช่น:

 • Obsessive-Compulsive Disorder (OCD): โรคย้ำคิดย้ำทำ

 • บุคลิกภาพผิดปกติชนิด Borderline  (Borderline Personality Disorder : BPD)

 • Social Isolation: การขาดการเชื่อมโยงทางสังคมทำให้พวกเขาหันไปหาไอดอลเป็นที่พึ่ง

 ผลกระทบต่อศิลปินและสังคม : พฤติกรรมของซาแซงไม่ได้กระทบแค่ตัวพวกเขาเอง แต่ยังสร้างความเครียดและความกังวลให้กับศิลปินอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ศิลปินหลายคนรายงานว่ารู้สึกไม่ปลอดภัยในบ้านของตัวเอง การศึกษายังพบว่า 40% ของศิลปินที่ถูกซาแซงตามติด มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียดเรื้อรังและโรคซึมเศร้า

ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมซาแซง : สื่อสังคมออนไลน์และการเชื่อมต่อแบบไร้พรมแดนมีส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสให้ซาแซงเข้าถึงศิลปินได้ง่ายขึ้น การสืบข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการซื้อข้อมูลส่วนตัวจากคนกลาง สะท้อนถึงปัญหาทางจริยธรรมในสังคม

**แนวทางป้องกันและแก้ไข**

 • การให้ความรู้: สร้างความเข้าใจเรื่องเส้นแบ่งความเหมาะสมระหว่างศิลปินและแฟนคลับ

 • การสนับสนุนทางจิตใจ: การให้คำปรึกษาหรือการบำบัดทางจิตสำหรับซาแซงที่แสดงพฤติกรรมสุดโต่ง

 • การบังคับใช้กฎหมาย: เพิ่มความเข้มงวดในการปกป้องความเป็นส่วนตัวของศิลปิน

ข้อคิดสำหรับFc

>>ทุกคนสามารถสนับสนุนศิลปินที่เรารักได้ แต่ควรอยู่ในกรอบของความเหมาะสม การรักและชื่นชมใครสักคนควรเป็นเรื่องที่เติมเต็มความสุข ไม่ใช่การทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น

By…คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา

٩(^‿^)۶ [ ]–[”””””|”””””|”””””|]>——

คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา

TAGS: #ซาแซง #สแตมป์