เบื่อจะรอ! มาทำความรู้จักคนชอบมาสาย สายจริงเพราะคาดการณ์ผิดพลาด หรือสายเพราะชอบที่จะมาสาย
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าพฤติกรรมการมาสายอาจเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงการรับรู้เรื่องเวลา การจัดการเวลา และบุคลิกภาพ
"เป็นไปได้ที่มีกลไกในสมองทำให้บางคนชอบไปสาย เพราะคนเหล่านั้นประเมินเวลาที่จะไปถึงจุดนั้นต่ำเกินไป" ฮิวโก้ สเปียร์ส ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาการรู้คิดแห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และผู้ร่วมเขียนผลการศึกษาในปี 2560 ในวารสาร Hippocampus กล่าวกับ Live Science
สมองส่วนฮิปโปแคมปัสเป็นพื้นที่ประมวลผลบางแง่มุมของเวลา เช่น การจดจำว่าควรทำสิ่งใด เมื่อใด และใช้เวลานานเท่าใด งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Reviews Neuroscience ชี้ให้เห็นว่าเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งทำหน้าที่เป็น "เซลล์เวลา" มีส่วนช่วยในการรับรู้และจดจำเหตุการณ์ต่างๆ ของเรา
แล้วทำไมบางคนจึงประเมินเวลาต่ำเกินไปตลอดเวลา
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทำไมบางคนถึงชอบมาสาย แต่ปัจจัยหนึ่งอาจเป็นความคุ้นเคยของเรากับพื้นที่ สำหรับการศึกษาในปี 2560 สเปียร์สได้ขอให้นักศึกษา 20 คนที่เพิ่งย้ายมาลอนดอนวาดแผนที่เขตวิทยาลัย และประมาณการเวลาเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ในขณะที่การประมาณพื้นที่ของนักเรียนจะขยายออกไปหากพวกเขารู้จักพื้นที่นั้นดี แต่มาตรวัดเวลาเดินทางจะหดตัวลงตามความคุ้นเคย "ถ้าคุณคุ้นเคยกับพื้นที่เป็นอย่างดี คุณจะเริ่มลดความยุ่งยากลงได้" สเปียร์สกล่าว
ในบางกรณีคนที่มาสายอาจไม่ได้คำนึงถึงเวลาให้เพียงพอ สำหรับกิจกรรมอื่นๆนอกเหนือจากการเดินทาง เช่น การเตรียมตัวให้พร้อมในตอนเช้า, รถติด, เหตุการณ์ หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Memory & Cognition แนะนำว่า โดยปกติคนเราจะทำการประเมินเวลาโดยพิจารณาจากระยะเวลาที่เราเคยใช้ในอดีต แต่ในความเป็นจริง การใช้ความทรงจำในการคาดคะเนมักไม่แม่นยำ
บุคลิกภาพก็มีส่วน ลักษณะบุคลิกภาพบางอย่าง เช่น ความไม่ใส่ใจ หรือใส่ใจน้อยเกินไป อาจทำให้บางคนลืมวางแผนงานไว้ล่วงหน้า เอมิลี่ วอลดัม ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแคมป์เบลล์ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา กล่าว "ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่อาจส่งผลต่อความตรงต่อเวลาของคนๆ หนึ่งคือความมักง่ายในการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน"
คนมาสายบางครั้งไม่คิดว่าตัวเองเป็นเช่นนั้น เกรซ แพซี ผู้เขียน "Late! A Timebender's guide to why we are late and how we can change" กล่าวกับ Live Science ว่านั่นเป็นเพราะคนที่ทำงานช้ากว่ากำหนดบอกตัวเองและคนอื่นๆ ว่าพวกเขาสามารถส่งงานภายในเวลาที่กำหนดได้ “เราตรงเวลาได้เมื่อเป็นเรื่องสำคัญ หรือหากมาสายจะทำให้เกิดผลเสีย เช่น การพลาดเที่ยวบิน” แพซีกล่าว
ซูซาน เคราส์ วิทบอร์น ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและสมองแห่งมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ แอมเฮิสต์ กล่าวว่า คนที่เก่งงาน Time-Based Prospective Memory (TBPM) จะควบคุมพฤติกรรมการบอกเวลาของตัวเองได้ดี แอมเฮิสต์เขียนในบล็อกโพสต์ Psychology Today ว่าสิ่งสำคัญคือต้องสามารถวัดระยะเวลาที่อาจต้องใช้ ตัวอย่างเช่น คุณอาจใช้ Google Maps เพื่อประมาณเวลาที่ใช้ในการไปถึงที่ใดที่หนึ่งได้ แต่คุณไม่สามารถคาดการณ์ทุกอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างทางได้ เช่น การสนทนากับคนที่คุณบังเอิญเจอ หรือรถไฟของคุณล่าช้าเล็กน้อย
หรือที่จริงแล้วอาจเป็นบุคลิกของส่วนตัวก็ได้
อะดอรี ทุรัยปะ แฮร์ริสัน นักจิตวิทยาและนักเขียน อธิบายในบล็อกโพสต์ Psychology Today ว่าสำหรับบางคน การมาสายเป็นเพียงการเอาชนะ
คนบางคนไม่ชอบที่จะไปถึงจุดหมายในเวลา หรือเร็วกว่า บางครั้งการรอใครสักคนก่อนที่พวกเขาจะมาถึงไม่ใช่เรื่องที่พวกเขาจะทำ หรือพวกเขาอาจรู้สึกเคอะเขินหรือไม่สบายใจในการรอ แต่อยากขอให้คำนึงถึงมารยาททางสังคมที่ต้องระวัง เช่น การเข้าใจที่ว่าไม่มีใครปรากฏตัวในงานเลี้ยงอาหารค่ำที่เริ่มเวลา 19.00 น. โดยจะต้องถึงในเวลา 19.00 น.หรอก
ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด มีเหตุผลมากมายที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมผู้คนถึงมาสายตลอดเวลา หากสามารถจำกัดความผิดส่วนตัวให้แคบลงได้ คนที่ชอบมาสายอาจจะเลิกนิสัยนี้ได้ เว้นแต่พวกเขาจะไม่ต้องการ