แพทย์ชนบทเตือน "ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น" เท่าที่จำเป็น!

แพทย์ชนบทเตือน
ให้ยึดตามการจำแนกของผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนโควิดองค์การอนามัยโลก มุ่งเน้นไปที่ปกป้องกลุ่มคนความเสี่ยงสูง ส่วนกลุ่มประชากรอื่นให้แต่ละประเทศพิจารณาตามความเหมาะสม

เฟซบุ๊ก ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์เตือนฉีดวัคซีนกระตุ้นควรฉีดเท่าที่จำเป็น โดยโพสต์ต้นทางมาจาก รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ที่ได้โพสต์เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลโควิด-19 เมื่อเช้านี้ (19 เมษายน) ทั้งหมด 3 โพสต์ชี้อย่าเพิ่งตระหนกเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ Arcturus โดยมีข้อความว่า

ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเท่าที่จำเป็น

เมื่อวานรับทราบการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด แล้วอดไม่สบายใจต้องมาแสดงความเห็นวันนี้

เรื่องที่สองคือ มีการเผยแพร่ความเห็นของนักวิชาการท่านหนึ่งเรื่องการฉีดวัคซีนโควิดในปัจจุบัน ในช่วงแรกก็ฟังรื่นหูว่าให้ฉีดปีละครั้งพร้อมวัคซีนไข้หวัดใหญ่เริ่มในเดือนหน้า แต่คนทั่วไปอาจยังไขว้เขวเพราะรอบการฉีดวัคซีนโควิดในปีที่แล้วมีตลอดทั้งปี แถมยังมีการติดเชื้อตามธรรมชาติเข้ามาแทรก

ความเห็นส่วนตัว ให้ยึดตามการจำแนกของผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนโควิดองค์การอนามัยโลก เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ใจความว่า ปัจจุบันประชากรโลกส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันทั้งจากการติดเชื้อตามธรรมชาติและการฉีดวัคซีน คำแนะนำการฉีดล่าสุดจึงมุ่งเน้นไปที่ปกป้องกลุ่มคนความเสี่ยงสูง ส่วนกลุ่มประชากรอื่นให้แต่ละประเทศพิจารณาตามความเหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงสูง มี 5 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ที่ยังไม่สูงอายุแต่มีโรคเรื้อรังที่รุนแรง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติที่รวมเด็กอายุเกิน 6 เดือนด้วย คนท้อง และ บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย แนะนำให้ฉีดเข็มกระตุ้นห่างจากเข็มก่อน 6-12 เดือน

กลุ่มเสี่ยงปานกลาง คือ กลุ่มคนอายุ 60 ปีลงมาที่แข็งแรงดี และ กลุ่มเด็กเล็กจนถึงวัยรุ่นที่มีโรคเรื้อรังที่รุนแรง  ให้ฉีดวัคซีนเข็มพื้นฐานจนครบ แล้วฉีดเข็มกระตุ้นหนึ่งเข็ม ส่วนเข็มกระตุ้นครั้งต่อไปให้รอข้อมูลก่อน

กลุ่มเสี่ยงต่ำ คือ เด็กอายุ 6 เดือน จนถึงวัยรุ่นอายุ 17 ปี ให้แต่ละประเทศพิจารณาวัคซีนเข็มพื้นฐาน และเข็มกระตุ้นตามความเหมาะสม

แต่ที่เขาไม่พูดมาให้ชัดของคำแนะนำการเลือกฉีดวัคซีนแบบแยกแยะนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะกลัวผลข้างเคียงทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังของวัคซีนด้วย เรื่องแบบนี้เดินสายกลางน่าจะดีที่สุด 

การให้ความเห็นต่อเรื่องสุขภาพสู่สาธารณะ ผมถือว่านักวิชาการต้องถือหลักสามประการ คือ

1. ให้ข้อมูลที่มีหลักฐานสนับสนุนทางวิชาการเพียงพอ ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกส่วนบุคคลหรืออิทธิพลทางการเมืองมากำหนด
2. ถ้าส่วนใดเป็นการแสดงความเห็นส่วนบุคคล ต้องพร้อมรับผิดชอบ รวมถึงยอมแก้ไขเมื่อมีข้อมูลใหม่มายืนยัน
3. สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น และเหมาะสมกับระดับการรับรู้ของผู้ฟัง พูดให้เขาเข้าใจและเชื่อตามที่เรารู้ ไม่ใช่พูดเพื่อแสดงว่าเรารู้แล้วให้เขาเชื่อตาม
#ฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นเท่าที่จำเป็น
Cr นิธิพัฒน์ เจียรกุล

 

ในส่วนของโพสต์ที่เหลือเกี่ยวกับ แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดฉบับล่าสุด น่าจะเป็นคำแนะนำประเทศเดียวในโลกที่ยังดันทุรังมีติ่ง LAAB และฟาวิพิราเวียร์อยู่ 

สำหรับ LAAB ไม่รู้ว่าเอาหลักฐานอะไรมาสนับสนุนการคงอยู่เป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษา โดยบอกว่าถ้าให้แล้วไม่ดีขึ้นใน 1-2 วันจึงให้ยาต้านไวรัสอื่นต่อ แต่ถ้าให้แล้วแย่ลงไม่ยักบอก สงสัยต้องตัวใครตัวมัน
ส่วนฟาวิพิราเวียร์ที่ทั่วโลกพิสูจน์ทราบมานานแล้วว่าไม่ได้ประโยชน์ตั้งแต่ช่วงปลายยุคของโควิดเดลต้าเป็นต้นมา แต่ก็ยังคงอยู่ยั้งยืนยงพร้อมคำอธิบายสรรพคุณ ที่อ่านแล้วชวนสงสัยว่าถ้าดีอย่างนั้นทำไมจึงไม่แนะนำให้ใช้ต่อไป

การให้ความเห็นต่อเรื่องสุขภาพสู่สาธารณะ ผมถือว่านักวิชาการต้องถือหลักสามประการ คือ

1.  ให้ข้อมูลที่มีหลักฐานสนับสนุนทางวิชาการเพียงพอ ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกส่วนบุคคลหรืออิทธิพลทางการเมืองมากำหนด
2.  ถ้าส่วนใดเป็นการแสดงความเห็นส่วนบุคคล ต้องพร้อมรับผิดชอบ รวมถึงยอมแก้ไขเมื่อมีข้อมูลใหม่มายืนยัน
3.  สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น และเหมาะสมกับระดับการรับรู้ของผู้ฟัง พูดให้เขาเข้าใจและเชื่อตามที่เรารู้ ไม่ใช่พูดเพื่อแสดงว่าเรารู้แล้วให้เขาเชื่อตาม
#อย่าตระหนกโควิดArcturus

 

และการเผยแพร่ในสื่อทั่วไปอย่างดารดาษ ว่าโอไมครอน “Arcturus หรือ XBB.1.16 (.1)” อาจทำให้เกิดการระบาดรอบใหม่ในประเทศ แถมทำให้มีอาการรุนแรงได้

 

TAGS: #วัคซีน #โควิด #Covid