"ฆาตกรต่อเนื่อง" มีภูมิหลังน่าสงสารกว่าใครจริงหรือ?

"ฆาตกรต่อเนื่อง" มีความซับซ้อนทางความคิด หรือมีความซับซ้อนทางด้านจิตใจ ภูมิหลังที่ครอบครัวมีปัญหา หรือเกิดจากการที่เคยถูกกระทำเลวร้ายมาก่อน แต่ในความเป็นจริง เรื่องราวเลวร้ายใครๆต่างก็เคยเจอทั้งนั้น

แนวคิดเรื่องข้อมูลเชิงลึกพิเศษนี้ มีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยยุคบุกเบิกในช่วงศตวรรษที่ 19 ของอเล็กซองดร์ ลากาสซาญ อายุรแพทย์ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งริเริ่มให้ผู้กระทำความผิดที่ถูกคุมขังเขียน "อัตชีวประวัติทางอาญา" เขาหวังว่าจะได้เรียนรู้จากพวกเขาว่า พวกเขาเกิดมาพร้อมกับความผิดทางอาญาหรือได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอก

เว็บไซต์PsychologyToday เผยว่าในแต่ละสัปดาห์ ลากาสซาญจะตรวจสอบสมุดจดบันทึกของนักโทษ แก้ไขและชี้แนะให้พวกเขารู้จักตนเอง ในกระบวนการนี้ เขาได้เรียนรู้ว่าประวัติครอบครัวของผู้กระทำความผิดรุนแรงจำนวนมากเต็มไปด้วยการทารุณกรรม อาชญากร ความตึงเครียด และโรคภัยไข้เจ็บ

การค้นพบของลากาสซาญมีอิทธิพลต่อการตระหนักรู้เกี่ยวกับความซับซ้อนของเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่ออาชญากรรม

เราสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากผู้กระทำความผิดได้อย่างแน่นอน เมื่อนักจิตวิทยาเรือนจำ ดร. อัล คาร์ไลเซิลทำการประเมินเชิงลึกของ เท็ด บันดี้, อาร์เธอร์บิชอป และฆาตกรต่อเนื่องคนอื่นๆ เขาได้คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับความสามารถของพวกเขาที่จะแยกส่วนที่ช่วยอธิบายพลวัตทางจิตวิทยาของผู้กระทำความผิดที่ทำหน้าที่ทางสังคมอย่างอื่น

เท็ด บันดี้ ต้องการช่วยในการสืบสวน Green River Killer ในปี 1984 ด้วยความปรารถนาที่จะพิสูจน์ความเฉียบแหลมที่ไม่เหมือนใครของเขา

เขาจึงล่อลวงทีมนักสืบของซีแอตเทิลให้เดินทางไปยังเรือนจำฟลอริดาเพื่อฟังสิ่งที่เขาพูด เขาต้องการอ่านรายงานบางฉบับและเสนอความคิดของเขา

นักสืบโรเบิร์ต เคปเปล  ใช้ความอวดฉลาดของบันดี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ บันดี้ แต่กระนั้นบันดี้ไม่ได้ช่วยระบุตัวตนหรือดักจับ Green River Killer ได้แต่อย่างใด แกรี่ ริดจ์เวย์ ถูกจับในปี 2544 จากหลักฐานทาง DNA

“ฆาตกรต่อเนื่อง” เป็นเพียงคำอธิบายพฤติกรรมเท่านั้น เฟซบุ๊กเพจ TSIS โพสต์ข้อความ การศึกษาทางสังคมเกี่ยวกับฆาตกรต่อเนื่องว่า การเรียกว่า “ฆาตกรรมต่อเนื่อง” จะเกิดขึ้นเมื่อมีฆาตกรนั้นฆ่าคนมากกว่าสามคนขึ้นไป โดยหนึ่งนั้นจะต้องเป็นคนที่ฆาตกรต่อเนื่องรู้จัก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้รับการยอมรับจากตำรวจและนักวิชาการ

แต่ข้อมูลนี้ทำให้การวิเคราะห์ทางอาชญากรรมถูกตีกรอบ และล้มเหลวในการวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงของฆาตกรต่อเนื่อง รวมถึงวิธีการเลือกเหยื่อเพื่อฆาตกรรม

สิ่งที่น่ากลัวมากที่สุดของเหตุการณ์ฆาตกรรมต่อเนื่องคือ การเลือกเหยื่อที่เหมือนเลือกโดยการสุ่ม แต่ความจริง ฆาตกรต่อเนื่องมักมีเป้าหมายและลักษณะของเหยื่อในใจ ต่อให้เป็นคนแปลกหน้าก็จะต้องตรงกับลักษณะบุคคลที่หมายตาเอาไว้

ในท้ายที่สุดเหยื่อทุกคนมักมีจุดร่วมกันที่ตรงกับความต้องการของฆาตกรต่อเนื่อง

“ปรากฏการณ์สมัยใหม่”  การให้รายละเอียด ภูมิหลัง และเล่าเรื่องราวเส้นทางของการเป็นฆาตกรรมต่อเนื่อง ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่สร้างชื่อเสียง และนำไปสู่การสร้างแรงจูงใจให้แก่เหล่าอาชญากรที่อาจจะพัฒนาตนเองจนกลายเป็นฆาตกรต่อเนื่อง

เนื่องจากเชื่อมโยงตนเองว่ามีภูมิหลัง มีความเจ็บปวดเช่นเดียวกัน จึงหาความชอบธรรมในการเลียนแบบและกลายเป็นฆาตกรต่อเนื่อง

ยิ่งเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับฆาตกรต่อเนื่องจากการวิจัยมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสน้อยลงที่ผู้กระทำความผิดรายใดรายหนึ่งจะมีข้อมูลเชิงลึกที่ไม่เหมือนใคร เกี่ยวกับฆาตกรรายอื่นๆ

แม้ว่าผู้กระทำความผิดที่ผ่านการคัดเลือกบางคนจะมีข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่า แต่จากสิ่งที่เราได้เห็นจนถึงตอนนี้ ไม่น่าจะมีเพียงฆาตกรเท่านั้นที่สามารถให้ได้ คนทั่วไปทีไม่ใช่ฆาตกรต่อเนื่องก็ต่างมีภูมิหลังที่น่าสงสารเช่นกัน

TAGS: #สุขภาพจิต #ฆาตกรต่อเนื่อง