สุขภาพจิตของแม่หลังคลอดกำลังเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน เมื่อพบว่าผู้หญิงหลายคนจิตตกหลังคลอด แต่ยังมีแม่ๆอีกหลายคนที่มีอาการป่วยทางจิตระหว่างตั้งครรถ์ ที่มีความเข้าใจผิดว่าทำให้แท้งลูก!
เมื่อเร็วๆ นี้ ประเด็นหลักเกี่ยวกับสุขภาพจิตของมารดาและทารกอยู่ที่ช่วงเวลาหลังการตั้งครรภ์ ภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวลอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ละเลย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตของเด็ก
แต่หากอยู่ในช่วงระหว่างตั้งครรถ์จะส่งผลต่อทารกหรือไม่ เว็บไซต์ webmd เผยผลสำรวจผู้หญิงที่ป่วยทางสุขภาพจิตส่งผลกระทบต่อเด็กในครรถ์ พบงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่าสุขภาพจิตของมารดาอาจส่งผลต่อลูกน้อยขณะตั้งครรภ์
อาการเครียด การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่าทารกที่ได้รับฮอร์โมนความเครียดในขณะที่อยู่ในครรภ์มีแนวโน้มที่สมองส่วนอะมิกดะลาแอคทีฟมากกว่าปกติ ซึ่งหมายความว่าทารกกลุ่มนี้มีระดับความวิตกกังวลสูง
อาการวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษากับนุษย์อีกชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าทารกที่อยู่ในครรถ์แม่ที่วิตกกังวลจะมีปฏิกิริยากับอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นเมื่อแม่ของพวกเขาได้รับงานที่เครียด การศึกษาก่อนหน้านี้อีกชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ทารกในสตรีมีครรภ์ที่มีภาวะซึมเศร้า สมองจะมีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ที่ควบคุมอารมณ์น้อยลง
การวิจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าทารกที่เกิดจากแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ นอกจากนี้ คนท้องที่มีความวิตกกังวลและซึมเศร้ามักจะสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารอื่นๆ ในระหว่างตั้งครรภ์
ในทางกลับกัน เว็บไซต์สเลต เผยผลสำรวจอีกด้านนึงเกี่ยกับสุขภาพจิตของคนที่เป็นโรควิตกกังวลที่จะส่งผลต่อเด็กในท้องพบว่า ความคิดเก่า ๆ ที่ว่าความเครียดทำให้เกิดการแท้งไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด หรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากนัก แม้ว่าความกังวลใจในปัจจุบัน หรืออาการทางอารมณ์อาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด
หากค้นหางานศึกษาขนาดเล็กแน่นอนว่าอาจพบข้อมูลที่ทำให้เรากังวลได้ แต่เมื่อลองพิจารณางานวิจัยที่มีขนาดใหญ่ตามประชากร ซึ่งนักวิจัยสัมภาษณ์หญิงชาวเดนมาร์กกว่า 78,000 คน พบว่าผู้ที่มีมีความเครียดในชีวิตระดับที่สูงขึ้นและมีอาการทางอารมณ์มากขึ้น เช่น วิตกกังวล เมื่อตั้งครรภ์ได้ 30 สัปดาห์มักจะคลอดก่อนกำหนด
แต่ความแตกต่างค่อนข้างน้อยมาก ผู้หญิงที่มีคะแนนความเครียดในชีวิตสูงสุดจะคลอดบุตรโดยเฉลี่ยประมาณสองวันก่อนผู้หญิงที่มีคะแนนต่ำกว่า ซึ่งไม่ใช่ผลกระทบที่สำคัญต่อชีวิตเด็ก
งานวิจัยเหล่านี้ยังชี้ให้เห็นว่า ความเครียดเล็กน้อยถึงปานกลางในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ได้ขัดขวางการเจริญเติบโตของทารก หากจะเกิดก็เกิดขึ้นเล็กน้อย ในการศึกษาชิ้นหนึ่ง ทารกในครรภ์ที่แม่มีความทุกข์ในระดับที่สูงมีแนวโน้มที่จะมีความกระฉับกระเฉงมากขึ้นในครรภ์ ซึ่งเป็นสัญญาณพัฒนาการเชิงบวก
ในการศึกษาอีกชิ้นพบ ทารกแรกเกิดของแม่ที่มีความทุกข์มากกว่าจะส่งสัญญาณไฟฟ้าได้เร็วกว่าตามเส้นประสาทจากหูไปยังสมอง ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการพัฒนาของระบบประสาทด้วย และในการศึกษาเกี่ยวกับเด็กวัยหัดเดิน ผลลัพธ์ยังคงโดดเด่นกว่า