อินการเมืองจนเครียดเฉียบพลัน ระวังหลอดเลือดสมองแตก!

อินการเมืองจนเครียดเฉียบพลัน ระวังหลอดเลือดสมองแตก!
ภาวะเครียดฉับพลัน เกิดขึ้นได้ทุกคน และยังส่งผลกระทบต่อร่างกาย รวมถึงจิตใจ อาจเกิดจากประสบการณ์หรือการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจในอดีต

ภาวะเครียดฉับพลัน (Acute stress disorder) อาจเกิดจากประสบการณ์หรือการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจในอดีต มีประวัติการป่วยเป็นโรคเครียดหรือโรคทางสภาวะจิตใจ มีประวัติเกี่ยวกับปัญหาด้านสภาวะจิตใจ มีประวัติเกี่ยวกับอาการผิดปกติระหว่างที่เผชิญเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจ

จากบทความวิชาการ สรีรวิทยาควาเครียดจากการทำงาน และการแก้ปัญหาเมื่อเผชิญความเครียดในอาชีพแพทย์ โดย คณิน จินตนาปราโมทย์ และ พรชัย สิทธิศรัณย์กุล ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

เผยว่า ความเครียดจัดเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน ความเครียดส่งผลกระทบ ต่อทั้งร่างกายและจิตใจ

ในด้านร่างกายนั้น ความเครียดเพิ่มความสี่ยงต่อโรคเรื้อรังหลายโรค เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น 

นอกจากนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาต้านสุขภาพจิตจนเกิดภาวการณ์ปรับตัวผิดปกติ โรคซึมเศร้า ภาวะหมดไฟ จนอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดอาจเกิดขึ้นทั้งจากการทำงานและปัจจัยที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน 

มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความเครียตที่เกิดจากการทำงานทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลตลง อุบัติเหตุจากงานเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและผลการปฏิบัติงาน อาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่มีระดับความเครียดสูง 

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการเลือกใช้วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อเผชิญความเครียดตั้งแต่ระดับนักศึกษาแพทย์มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จทางวิชาชีพ และระดับความเหนื่อยล้าในการทำงาน การแก้ไขปัญหาที่ตีเมื่อเผชิญความเครียดย่อมส่งผลให้เกิดผลดีทั้งในแง่สุขภาพของ ผู้ปฏิบัติงานและประสิทธิภาพของสถานประกอบการ

ระดับของความเครียด 
กรมสุขภาพจิตแบ่งระดับความเครียด ออกเป็น 4 ระดับ (จากแบบประเมินความเครียดสวนปรุง) 

  • ระดับที่ 1 นั้นเป็นความเครียด ระดับต่ำพบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเป็นประโยชน์ เพราะทำให้ปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้เหมาะสม 
  • ระดับที่ 2 เป็นความเครียดที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นและมีผลกระทบต่อจิตใจ เริ่มมีอาการวิตกกังวล กลัว ยังไม่ก่อให้เกิดผลเสียในการดำเนินชีวิต 
  • ระดับที่ 3 คือความเครียดที่เริ่มส่งผลให้เกิดความเดือดร้อน มีความลำบากต่อการปรับตัว ควรปรึกษาผู้อื่น
  • ระดับสุดท้าย จะมีความรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดจากการกำลังเผชิญวิกฤตชีวิต ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ฟุ้งช่าน ควบคุมตนเองไม่ได้

ตามนิยามของสมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychologist Association: APA)'1 อาจแบ่งความเครียดออกเป็น 2 กลุ่มตามเวลาการก่อความเครียดดังนี้

1. ความเครียดเฉียบพลัน (acute stress) เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นโดยทันที และส่งผลให้ต้องมีการรับมือกับความเครียดโดยฉับพลัน มีการหลั่งของฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline)

รวมถึงกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภาวะเปลี่ยนแปลง เช่น ม่านตาขยาย หัวใจเต้นแรงขึ้น เกิดภาวะสู้หรือหนี (fight or fight) เช่น การตอบสนองเมื่อเกิดภาวะภัยพิบัติเฉียบพลัน การเผชิญอุบัติเหตุ เป็นต้น

2. ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress) เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นสะสม และร่างกายไม่สามารถรับมือกับภาวการณ์เหล่านั้นได้ เช่น ความเครียดที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความเครียดที่เกิดจากการทำงาน เป็นต้น

ผลที่เกิดขึ้นต่อร่างกายจากความเครียด
เมื่อร่างกายได้รับสิ่งเร้า ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และมีการกระตุ้นระบบประสาทชิมพาเธติก (Sympathetic) กระตุ้นฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไตส่วนเมตัลลา (Medulla) ให้หลั่งฮอร์โมนอะตรีนาลีน (Adrenaline) ออกมาในกระแสเลือดมากขึ้นกว่าภาวะปกติ

ร่างกายจะตอบสนองฉับพลันโดยหลั่งฮอร์โมนตั้งกล่าวออกมา ทำให้เกิดภาวะปากแห้ง หายใจเร็ว ม่านตาขยายมากขึ้นหัวใจเต้นเร็วขึ้น เส้นเลือตบริเวณผิวหนังหดตัวลง เหงื่อออกมากขึ้น

ภาวะของการถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยฉับพลันก็เป็นไปเพื่อให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ หรือหลบหนี (fight or freight)" ก่อให้เกิดความเครียตเฉียบพลัน หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มมีการปรับตัว ระดับฮอร์โมนอะตรีนาลีนในเลือดจะลดลงความตื่นตัวเหลือเพียงเท่าที่จำเป็น

วิธีรักษาโรคเครียด แพทย์อาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ รักษาอาการเครียดของผู้ป่วย:

  • การประเมินผลทางจิตเวชเพื่อระบุข้อมูลที่จำเพาะของผู้ป่วย
  • พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อเลี่ยงการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น
  • การให้ความช่วยเหลือในเรื่องปัจจัยสี่
  • นักจิตวิทยาให้คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย
  • การให้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาลดความวิตกกังวล ยาSSRIs และยารักษาโรคซึมเศร้า
  • การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการฟื้นตัวและไม่ให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นโรคที่เกิดจากความเครียดอีก
  • การรักษาด้วยการสัมผัส
  • การสะกดจิต
TAGS: #ความเครียด #สุขภาพ #สุขภาพจิต