Sweet Sin! หวานแล้วผิดตรงไหน อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นความบาปขนาดนั้นเลยเหรอ ความเจ็บป่วยยุคใหม่ที่ทุกคนต้องจับตา และระแวดระวัง ของที่รับประทานเข้าไปทุกๆ วัน นั่นแหละตัวดี
โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดในสมอง อ่อนเพลียเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง ตับ ไต ฯลฯ
การกินซ้ำๆ และกินของไม่มีประโยชน์ กินแต่อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงคือ ตัวการใหญ่ ที่ส่งผลทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอักเสบ ก่อนนำไปสู่โรคต่าง ๆ ที่กล่าวมา โดยลำดับ 6 สิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับคุณเมื่อบริโภคน้ำตาลสูงเป็นประจำ
1 ทำให้ระบบความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกายเสียไป
2 ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
3 มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น
4 การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายบ่อย ๆ ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดอนุมูลอิสระ
5 เมื่อบริโภคเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
6 การรับประทานน้ำตาลซูโครสในปริมาณมาก ทำให้กรดอะมิโนที่มีชื่อว่า ทริปโตฟาน ถูกเร่งเข้าสู่สมองมากเกินไป ทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนในสมอง ซึ่งทำให้เกิดอาการเซื่องซึม เหนื่อย ไม่กระฉับกระเฉง
ลองพิจารณาภาพเปรียบเทียบปริมาณที่ได้รับ ของน้ำตาลในผลไม้ และเครื่องดื่ม ที่เราอาจดื่มกินเป็นประจำ และลอง ชั่ง ตวง วัด
น้ำตาลในผลไม้
น้ำตาลในเครื่องดื่ม
ปัจจุบัน หนึ่งในวิธีตรวจเช็คความเสี่ยงของการอักเสบในร่างกาย คือการเจาะเลือดปลายนิ้วตรวจใช้เวลาเพียง 90 วินาที โดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคหลัก NCDs ก่อนวิเคราะห์ผลจากค่าตัวเลข และรับคำแนะนำนำสู่การปรับพฤติกรรมการกิน และเสริมวิตามินให้ร่างกายเพื่อบำบัด รักษา เยียวยาต่อไป ขั้นตอนการตรวจ hs-CRP ง่าย ไม่ยุ่งยาก
1. เจาะเลือดที่ปลายนิ้วโดยผู้เชี่ยวชาญ
2. นำแถบตรวจสู่เครื่องมือวัดผล (เครื่องภูมิคุ้มกันวิทยา เชิงปริมาณ)
3. ในเวลา 90 วินาที ทราบผลวิเคราะห์ และอ่านค่าเพื่อประเมิน
ปัจจุบันผู้ที่ต้องการเช็คความเสี่ยงกลุ่มโรคไม่ติดต่อแบบง่าย ๆ ด้วยการค้นหาการอักเสบของร่างกาย ตรวจความเสี่ยงโรคด้วยเลือดหยดเดียว ได้ที่ กลุ่มคลินิกที่มีเทคโนโลยีการตรวจ hs-CRP อ่านค่าความเสี่ยงจากโรค ด้วยเลือดหยดเพียงหยดเดียว ในกทม. (ตรวจสอบเพิ่มเติมได้ ที่ Facebook: PNA Wellness Innovation) ทำอย่างไร ให้ห่างไกล NCDs
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
- งดหรือลดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- พักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายความเครียดที่มีทุกวัน
- ตรวจสุขภาพประจำปี และ ตรวจค่าการอักเสบของร่างกายด้วย hs-CRP เป็นประจำ
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ป้องกันก่อนไปนอนป่วย เพราะชีวิตต้องมีพรุ่งนี้ที่ดีเสมอ ฉะนั้นแสดงความห่วงใยอย่างเป็นรูปธรรมกับคนที่เรารัก ด้วยการบอกข้อเท็จจริงเหล่านี้ ใครอยากอยู่ยืนยาว ต้องทำเอง เพราะทำเอง…ได้เอง