จะเปลี่ยนใจคนได้อย่างไร เมื่อจุดยืนทางการเมืองคืออัตลักษณ์ของเรา

จะเปลี่ยนใจคนได้อย่างไร เมื่อจุดยืนทางการเมืองคืออัตลักษณ์ของเรา
ทำอย่างไรให้คนเห็นต่าง กลายเป็นเห็นตามได้ จุดยืนทางการเมืองของเขาหรือผู้นำพรรคการเมืองของเขาคือ สิ่งที่ท้าทายอัตลักษณ์ของเขา

เหมือนกับประโยคที่ว่า "ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก" การเปลี่ยนใจคนไม่ใช่เรื่องยาก หากพยายามทำกับยีนที่มีอายุน้อย สมองเรายังไม่เติบโตสมบูรณ์เต็มที่จนกว่าจะอายุยี่สิบกว่าๆ

ซึ่งพอถึงจุดนั้นมันก็ดื้อรั้นต่อการเปลี่ยนแปลงบางเรื่อง เหมือนลาวาที่แข็งตัวแล้ว ทำไมปรากฏการณ์การเรียนรู้ของเราถึงหนาเสียจนไม่อาจเจาะเข้าไปได้ แม้หลักฐานกองเท่าภูเขาหรือตรรกะเหตุผลดีงามก็ไม่อาจทำลายความเชื่อผิดๆอย่างชัดเจนได้ 

บิล ซัลลิแวน ศาสตราจารย์ผู้ศึกษาเรื่องจุลชีววิทยาและพันธุกรรม และผู้เขียนหนังสือ Pleased to Meet Me หรือ 'ยินดีที่รู้จักฉัน' ได้อธิบายไว้ว่า การถ่ายภาพสมองช่วยให้เรามีความรู้ความเข้าใจใหม่ๆ ที่ชวนท้อแท้เกี่ยวกับความยึดมั่นในความเชื่ออย่างสุดใจ

งานวิจัยหนึ่งเกี่ยวกับผู้คนที่เป็นเสรีนิยมทางการเมือง ผู้วิจัยนำเสนอข้อความทางการเมืองหลายข้อความให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง โดยให้ผู้เข้าร่วมบอกว่าเห็นด้วยกับแต่ละข้อความด้วยหรือไม่ จากนั้นก็นำเสนอข้อความที่เป็นเหตุผลแสดงความขัดแย้งกับชุดข้อความแรก

ผลลัพย์นั้นชวนให้คิด โดยรวมผู้เข้าร่วมการทดลองไม่มีปัญหาในการให้ความเห็นใหม่เกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ใช่การเมือง แต่จะไม่ยอมเปลี่ยนความคิดหากเป็นข้อความที่เกี่ยวกับการเมือง

เมื่อความเชื่อทางการเมืองถูกท้าทาย สมองส่วนอะมิกดาลาของผู้เข้าร่วมการทดลองมีการทำงานมากขึ้น ราวกับรับรู้ถึงภัยคุกคาม เช่นเดียวกับอันตรายอื่นๆ อารมณ์จะรีบพุ่งเข้าต่อสู้ราวอัศวินเพื่อแทรกแซงการตัดสินใจ

นอกจากนี้สมองบริเวณที่เกี่ยวกับการนำเสนอตนเองยังถูกกระตุ้นขึ้นเมื่อความเชื่อทางการเมืองของเราถูกท้าทาย แสดงว่าสมองของเราประสบปัญหาจริงๆ ในการแยกแยะระหว่างความเชื่อกับภาพลักษณ์ตัวตน 

กล่าวอีกอย่างได้ว่า สิ่งที่ท้าทายจุดยืนทางการเมืองของเราหรือผู้นำพรรคการเมืองของเราคือ "สิ่งที่ท้าทายอัตลักษณ์ของเรา"

เราได้รับโดปามีน (สารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจ ความปิติยินดี ความรักใคร่) เมื่อมีคนเห็นพ้องกับเรา จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะแสวงหาความคิดเห็นที่สนับสนุนความเชื่อเห็นพ้องกับเรา

ไม่ว่าพวกเขาจะดูบ้าบอเพียงใด สมองเซเลบของเราจะเห็นด้วยกับหลักฐานที่สนับสนุนความเชื่อของมันเท่านั้น และจะเบือนหน้าหนีหลักฐานที่ขัดแย้งพฤติกรรมไม่น่ารักนี้เรียกว่า "ความลำเอียงด้วยอคติ"

ความลำเอียงด้วยอคติเป็นนิสัยต่อต้านหน้าที่ของการมีสมองตั้งแต่เริ่มแรก แต่มันคงอยู่มาได้เพราะสมองด้านที่เป็นอารมณ์ขงเราวิวัฒนาการก่อน และอยู่มานานกว่าความสามารถในการใช้เหตุผลซึ่งเป็นสิ่งใหม่ นี่คือสาเหตุที่ทำให้อารมณ์ชนะเหตุผลอยู่บ่อยๆ

นักจิตวิทยา ดรูว์ เวสเทน จากมหาวิทยาลัยเอมอรี่ ทดสอบสแกนสมองส่วนที่เป็นด้านอคติ พบว่าสมองส่วนที่ทำการวิเคราะห์ของผู้เข้าร่วมการทดลองนิ่งสนิทเมื่อได้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า ผู้นำพรรคการเมืองของเรากระทำสิ่งที่ขัดแย้งกับคำพูดของตนเอง สมองที่ทำงานกลายเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางอารมณ์

นอกจากนี้เวสเทนยังสังเกตเห็นว่า เวลาผู้เข้ารับการทดลองได้ยินในสิ่งที่ดีเกี่ยวกับนักการเมืองที่ตนเองชอบ ศูนย์การให้รางวัลของสมองก็ปล่อยสายรุ้งฉลองออกมา

เวสเทนสรุปว่า "ดูราวกับว่าทหารกองนี้จะไม่หยุดสร้างความปั่นป่วนในการเรียนรู้จนกว่ามันจะได้ข้อสรุปที่ต้องการ"

ดูเหมือนจะหมดหวัง แต่บรรดาครูโรงเรียนมัธยมมีทางออก พวกเขาใช้ในชุมชนโต้วาที แทนที่จะหาเหตุผลสนับสนุนมุมมองฝั่งตัวเองลองพยายามหาเหตุผลให้ฝั่งตรงข้ามบ้าง

เมื่อเราได้รับข้อสนับสนุนทั้งสองฝ่าย อาจทำให้เกิดบทสนทนาที่นำไปสู่การประนีประนอม เมื่อยอมรับว่าหลักฐานมักไม่สามารถโน้มน้าวผู้คนที่ตัดสินใจลงไปได้แล้ว จึงสนับสนุนแนวทางที่ทำงานกับอารมณ์ความรู้สึก ความอยากรู้อยากเห็นและอำนาจในการตัดสินใจของผู้คน

เช่น คนที่ต่อต้านวัคซีนยังคงเชื่อข้อมูลเท็จว่าวัคซีนส่งผลกับอาการออทิสติกก็จะต่อต้านงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่หากพวกเขาได้รับการเตือนให้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจทำให้ถึงชีวิตของโรคหัด หัดเยอรมัน และคางทูม ก็จะมีคนเพิ่มขึ้น 3 เท่า

การสนทนาที่ให้เหตุผลเชิงบวกมากกว่าอาจทำให้เราหยุดมุ่งเน้นไปยังจุดซึ่งเราขัดแย้งกันเพื่อหาจุดหมายที่มีร่วมกัน

TAGS: #สุขภาพจิต #การเมือง #อคติ #ความลำเอียง