กลางคืนตื่น กลางวันนอน สัญญาณ "โรคนอนไม่หลับ"

กลางคืนตื่น กลางวันนอน สัญญาณ
การนอนหลับนั้นเป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือดได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย และการปรับสมดุลของสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย

การนอนหลับให้เพียงพอทำให้ร่างกายแข็งแรง เปรียบเหมือนเป็นการพักฟื้นร่างกายให้พร้อมเริ่มวันใหม่ การนอนหลับที่เหมาะสมโดยทั่วไปในผู้ใหญ่วัยทำงานจะเฉลี่อยู่ที่ 7 -9 ชั่วโมง แต่หากนอนหลับไม่เพียงพอเนื่องจากเป็นโรคนอนไม่หลับ จะก่อให้เกิดโรคร้ายตามมา

โรคนอนไม่หลับเกิดจากอะไร

  • สภาพแวดล้อมและพฤติกรรม เช่น ทำงานเป็นกะ ความเครียด อุปนิสัยการนอน
  • สภาพร่างกายหรือโรคประจำตัว เช่น อาการปวดต่างร่างกาย ภาวะหัวใจล้มเหลว ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ วัยหมดประจำเดือน โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม โรคหยุดหายใจขณะหลับ โรคกรดไหลย้อน โรคขาอยู่ไม่สุข
  • ยาบางชนิด
  • สารคาเฟอีน นิโคตินและแอลกอฮอล์

โรคนอนไม่หลับอาจเกิดในระยะสั้น กินเวลาเป็นวันหรือสัปดาห์หรือระยะยาวเป็นเวลาสามเดือนอย่างน้อยสามคืนต่อสัปดาห์ โรคนอนไม่หลับแบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ

  • หลับยาก (initial insomnia)
  • หลับแล้วตื่นและไม่สามารถหลับตามที่ร่างกายต้องการได้อีก (maintenance insomnia)
  • ตื่นเร็วและหลับต่อไม่ได้ (terminal insomnia)
  • หลากหลายแบบรวมกัน

นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก อธิบายว่า หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าเข้าช่วยเป็นโรค นอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหารสาเหตุและเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป

  • นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่ต่เนื่อง นอนหลับไม่สนิท
  • มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • สมาธิลดลง ความสนใจและความจำลดลง
  • อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย
  • เกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวัน

ทั้งนี้ถ้าปล่อยไว้ ไม่รักษาให้ถูกต้อง จะส่งผลต่อสุขภาพ ได้แก่

  • มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า
  • เพิ่มอัตราการเสียชีวิตและเกิดอุบัติเหตุจากการขับหรือการทำงาน
  • สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม โรคอ้วน
  • มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคสมองเสื่อม อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน

คำแนะนำเบื้องต้นคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตื่นนอนและเข้านอนตรงเวลา งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์สื่อสารในห้องนอน รวมถึงงดดื่มกาแฟช่วงเวลาเย็นหรือก่อนนอน งดนอนกลางวันหลังบ่ายสามโมง จะช่วยปรับให้นาฬิกาชีวิตในร่างกายทำงานได้ตามปกติ ถ้าปฏิบัติตามนี้ครบ 1 เตือนแล้วอาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้นต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

จะป้องกันโรคนอนไม่หลับได้อย่างไร  ศ.นพ. ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ แนะว่า การเปลี่ยนแปลงสุขอนามัยการนอนหลับสามารถช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ เครื่องดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก่อนนอน
  • เข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิมทุกวัน
  • ไม่ดูทีวี ใช้โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์อย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนนอน
  • สร้างสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้มืด เงียบสงบด้วยอุณหภูมิที่เย็นพอเหมาะ
  • ทำกิจกรรมทางกาย เช่น ออกกำลังกายระหว่างวัน
  • นอนในท่าที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่นอนไม่หลับ คือ นอนตะแคงงอเข่าขึ้นไปทางหน้าอกเล็กน้อย ช่วยลดแรงกดบนเนื้อเยื่อกระดูกสันหลังและช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
  • ให้ลุกจากเตียงเมื่อนอนไม่สามารถนอนหลับได้
  • ใช้เตียงนอนสำหรับการนอนและกิจกรรมทางเพศเท่านั้น
TAGS: #โรคนอนไม่หลับ #นอนไม่หลับ #สุขภาพ #โรค