นอกจาก IQและEQ แล้ว ทำความเข้าใจ RQ พลังสุขภาพจิตหรือควมสามารถทางจิตใจ

นอกจาก IQและEQ แล้ว ทำความเข้าใจ RQ พลังสุขภาพจิตหรือควมสามารถทางจิตใจ
พลังสุขภาพจิต หรือที่เรียกว่า RQ: Resilience Quotient คือความสามรถทางอารมณ์และจิตใจในการปรับตัวและฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ ภายหลังที่พบกับเหตุการณ์วิกฤตหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความยากลำบากในชีวิต

โดยปกติคนทั่วไปรู้จัก IQ และ EQ ไปแล้ว ลองทำความเข้าใจ RQ โดยสำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิตเผย พลังสุขภาพจิต (Resilience Quotient) คือ ความสามรถทางอารมณ์และจิตใจในการปรับตัวและฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ ภายหลังที่พบกับเหตุการณ์วิกฤตหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความยากลำบากในชีวิต

อันเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ช่วยให้บุคคลผ่านพ้นปัญหาอุปสรรดและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่มีพลังสุขภาพจิตจำนวนมากยังสามารถใช้วิกฤตเป็นโอกาส สามารถยกระดับความคิด จิตใจ และการดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีขึ้นหลังจากเหตุการณ์วิกฤตนั้นผ่านพ้นไป

RQ จึงเป็นพลังสุขภาพจิตที่จำเป็นและสำคัญสำหรับพวกเราทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะยากดีมีจน แข็งแรงหรือเจ็บป่วย  เป็นบุคคลสำคัญหรือสามัญชน เพราะเราทุกคนอยู่ใต้กฎกณฑ์เดียวกันนั่นก็คือ ไม่มีใครสามารถจะล่วงรู้ได้ว่าเราจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤตในชีวิตเมื่อใดและจะหนักหนาสาหัสเพียงไร ดังนั้นเราจึงควรตระเตรียมต้นทุนทางใจไว้ให้เพียงพอกับการรับมือกับเหตุการณ์วิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้น

การตรวจเช็คพลังุขภาพจิต

ระดับ RQ ของคนทั่วไป

ในระะกว่า 20-30 ปี ที่มีผู้สนใจศึกษาเรื่องสุขภพจิตกับความทุกข์ยากลำบากในประชากรจากหลายส่วนของโลกพบว่า เมื่อคนราพชิญความทุกข์ อาจจะแบ่งคนได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่ 1 ประมาณ 20% ยอมจำนนต่อโชคชะตา กลุ่มนี้จะท้อแท้หมดหวัง
  • กลุ่มที่ 2 ประมาณ 60% อดทน ใจสู้กับวิกฤต แต่ไม่ค่อยมีทักษะในการปรับตัวหรือรับมือกับวิกฤติ
  • กลุ่มที่ 3 ประมาณ 20% จิตใจมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวได้ดี รู้จักหาทางออก พยายามเอาซน: ยังมีความหวังและสร้างอนาคตให้ตัวเองได้

จากข้อมูลนี้เราอาจวิเคราะห์ได้ว่า

คนในกลุ่มที่ 1 ควรได้รับการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตให้มีความเข้มแข็งทางจิตใจมากขึ้น เสริมสร้างกำลังใจ ปลูกฝังแนวคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับชีวิตหากทำได้คงจะลดปัญหาการทำร้ายตัวเองและการฆ่าตัวตายได้

คนในกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดนั้นคือคนที่มีพื้นฐานทางสุขภาพจิตที่ดี ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมจำนนต่อปัญหา หากได้รับการพัฒนาทักษะ บางอย่างเพิ่มเติม เช่น การฝึกฝนเรื่องการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและการขอรับความช่วยเหลือ

การฝึกเรื่องการคิดที่ไม่ปรุงแต่งต่อเติมปัญหาจนร้ายแรงเกินไป ฝึกการปฏิบัติกรจัดการกับความเตรียด ฝึกการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ฯลฯ คนเหล่านี้คือกลุ่มที่มีโอกาสที่จะปรับขึ้นไปเป็นคนในกลุ่มที่ 3 ได้ต่อไป

ส่วนคนในกลุ่มที่ 3 นับได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีพลังสุขภาพจิตดี สามารถปรับตัว ฟื้นตัว และสร้งโอกาสจากวิกฤตได้ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของงานเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต

ระดับพลังสุขภาพจิตของคนไทย

ในปี 2551 กรมสุขภาพจิตได้ศึกษาสภาวะพลังสุขภาพจิตในกลุ่ม ตัวอย่างชายและหญิงซึ่งเป็นประชากรทั่วไป อายุ 25-60 ปี จาก 4 ภาค 12 จังหวัด รวม 4,000 คน ผลการศึกษามีประเด็นสำคัญดังนี้

  • กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 85 มีพลังสุขภาพจิตอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 1 มีพลังสุขภาพจิตสูงกว่าระดับปกติ และร้อยละ 8 มีพลังสุขภาพจิตต่ำกว่าระดับปกติ
  • เมื่อเปรียบเทียบความมากน้อยขององค์ประกอบด้าน อึด ฮึด สู้ พบว่า  ฮึด หรือ องค์ประกอบด้านกำลังใจ  เป็นด้านที่มีผู้ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติมากกว่าด้านอื่นคือ 10 %
  • ผู้วิจัยสรุปว่าคนในกลุ่มที่กำลังใจต่ำนี้ จะต้องเพิ่มเติมทักษะการคิดทางบวก การมองเห็นคุณค่าของตัวเองและของครอบครัว การคิดว่าเหตุการณ์นี้ ต้องผ่านพ้นไปเหมือนครั้งก่อนๆ ที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน การพูดคุยกับคนที่รักและห่วงใย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มเติมความหวังและกำลังใจให้มากขึ้น
  • ครั้นเมื่อเปรียบเทียบคะแนน RQ รวมระหว่างเพศชายและหญิงพบว่า ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ด้านความมั่นคงทางอารมณ์ของเพศชายและหญิงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญโดยเพศหญิงมีความมั่นคงทางอารมณ์หรือมีความอึด มากกว่าเพศชายเล็กน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเพศหญิงมีวิธีการจัดการกับอารมณ์ที่ดีกว่า เช่น การพูดคุยระบายอารมณ์ การผ่อนคลายความเครียดที่เหมาะสม เป็นต้น

ลองประเมินพลังสุขภาพจิตของตัวเองได้ใน 10 นาที
แบบประเมิน RQ ใช้ประเมินความสามารถของบุคคล 3 ด้าน คือ ด้านความทนต่อแรงกดดัน ด้านการมีความหวังและกำลังใจ และด้านการต่อสู้เอาชนะอุปสรรค หากประเมินแล้วพบว่ามีองค์ประกอบในด้านใดต่ำกว่าเกณฑ์เราสามารถพัฒนาตนในด้านนั้นๆ ให้มากขึ้นได้

ข้อคำถามมีจำนวน 20 ข้อ สอบถามถึงความคิด ความรู้สึกและ พฤติกรรมของผู้ทำแบบประเมินในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ให้ผู้ทำแบประเมิน ทำเครื่องหมาย x ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงที่มากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพของตัวท่านเอง

วิธีการคำนวณ

การแปลผล

คำแนะนำ
ค่าคะแนนที่ได้: เกณฑ์ทั่วไป
ท่านจัดอยู่ในกลุ่มคนที่มีพลังสุขภาพจิตปกติทั่วไป ท่านอาจพัฒนาตนเอง โดยการแสวงหาความรู้เพื่อเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตให้คงอยู่

ค่าคะแนนที่ได้: สูงกว่าเกณฑ์ทั่วไป
ท่านจัดอยู่ในกลุ่มคนที่มีพลังพลังสุขภาพจิตดีเยี่ยม ขอให้ท่านรักษาศักยภาพด้านนี้ไว้

ค่าคะแนนที่ได้: ต่ำกว่าเกณฑ์ทั่วไป
ด้านความทนต่อแรงกดตัน: ท่านสามารถพัฒนศักยภาพด้านนี้ได้โดยฝึกควบคุมอารมณ์ตนเองให้มีสติและสงบ โดยเริ่มต้นจากการควบคุมอารมณ์เมื่อเผชิญกับสถานการณ์เล็กน้อยๆ ที่ทำให้เกิดความเครียดความผิดหวัง ฝึกหายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ และคิดถึงสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางใจ

ด้านกำลังใจ: ท่านสามารถพัฒนาศักยภาพด้านนี้ได้ โดยคิดถึงสิ่งดีดีที่ท่านมีอยู่ หมั่นพูดให้กำลังใจตนเอง เช่น เราต้องผ่านพ้นไปได้ ชีวิตย่อมมีขึ้นมีลง คิดถึงโอกาสข้างหน้าหากฝ่าฟันจุดนี้ไปได้

ด้านการต่อสู้อาชนะอุปสรรค: ท่านสามารถพัฒนาศักยภาพด้านนี้ได้โดย ฝึกคิดหาทางออกในการแก้ปัญหา เริ่มจากปัญหาเล็กๆ น้อยๆ หาทางออกหาข้อดีข้อเสียในแต่ละวิธีการ เลือกวิธีการที่ดีที่สุดและคิดหาวิธีการสำรองไว้เผื่อวิธีที่เลือกใช้ไม่ได้ผลการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จจะช่วยให้ท่านเห็นว่าการแก้ไขปัญหาไม่ใช่เรื่องยาก และมีทักษะที่ดีในการแก้ปัญหาได้

TAGS: #สุขภาพจิต #IQ #EQ #RQ