สิ่งที่ทำให้โจทย์ข้อนี้ยากก็คือการตอบสนองที่เป็นไปตามสัญชาตญาณ เพราะมันวาบขึ้นมาในหัวเร็วกว่าการตอบสนองที่ถูกต้อง
จากคำถาม สินค้า ก. และสินค้า ข. ราคารวมกัน 120 บาท สินค้า ก. ราคามากกว่า สินค้า ข. 100 บาท แล้วสินค้า ข. ราคาเท่าไร
ถ้าคุณเป็นคนส่วนใหญ่ คำตอบแรกของคุณจะเป็น 20 บาท แม้จะเป็นคำตอบสามัญ แต่มันก็ผิดอยู่ดี ถ้าสินค้า ข.ราคา 20 บาท และราคาของสินค้า ก. คือ 100 บาท ดังนั้นสินค้า ก. จะมีราคามากกว่า สินค้า ข. 80 บาท ไม่ใช่ 100 บาท คำตอบที่ถูกต้องจึงควรเป็น สินค้า ก. ราคา 110 บาท และสินค้า ข. ราคา 10 บาท
สิ่งที่ทำให้โจทย์ข้อนี้ยากก็คือการตอบสนองที่เป็นไปตามสัญชาตญาณ เพราะมันวาบขึ้นมาในหัวเร็วกว่าการตอบสนองที่ถูกต้อง หากจะฝ่าฟันไปให้ถึงการตอบสนองที่ถูก เราต้องต่อสู้กับแรงฉุดรั้งตามสัญชาตญาณและหยุดคิดทบทวนสักครู่หนึ่ง
เราเรียกแบบทดสอบนี้ว่า Cognitive Reflection Test: CRT ซึ่งวัดรูปแบบความคิดเชิงหยั่งรู้ และ การคิดแบบไตร่ตรอง เป็นการทดสอบวัดการประมวลผลทางปัญญา โดยเฉพาะแนวโน้มที่จะระงับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือให้คำตอบโดยสัญชาตญาณ และกลับมาสู่คำตอบที่ถูกต้อง ทั้งตั้งใจมากขึ้น
การคิดเชิงหยั่งรู้เป็นรูปแบบการคิดที่ไม่พยายามจะใช้ความคิด แต่จะพึ่งพาสัญชาตญาณและการตัดสินใจอย่างรวดเร็วไปตามปฏิกิริยาตอบสนองโดยอัตโนมัติ ซึ่งมักใช้ความรู้สึกสังหรณ์ใจ
ตรงข้ามกับการคิดแบบไตร่ตรอง ที่มักตั้งคำถามต่อสัญชาตญาณแรกของตัวเอง จากนั้นจึงพิจารณาความเป็นไปได้อื่นๆ การคิดแบบนี้จะต้องใช้พลังมหาศาลในการวิเคราะห์ บวกกับความรอบคอบและการใช้เหตุผลอย่างเป็นระบบ
มาถึงตรงนี้หากใครตอบโดยการใช้การคิดเชิงหยั่งรู้ก็ไม่ต้องกังวล พวกผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายก็เหมือนกับพวกเรา พวกเขาไม่ได้มีภูมิคุ้มกันเชิงหยั่งรู้ หนำซ้ำยังใช้สัญชาตญาณมากพอๆ กับพวกเราเลยด้วย