เผยผลสำรวจ "ลูกสาว" ควรดูแลผู้สูงอายุ ให้อยู่ดีมีสุข

เผยผลสำรวจ
เผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ใคร? ควรดูแลผู้สูงอายุไทย ให้อยู่ดีมีสุข" พบร้อยละ 35.96 ลูกสาวคนโต/ลูกสาวคนรอง ควรเป็นคนดูแลที่สุด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ (Center for Aging Society Research – CASR) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ใคร? ควรดูแลผู้สูงอายุไทย ให้อยู่ดีมีสุข ปี 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-17 มีนาคม 2566 

จากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความต้องการของผู้สูงอายุในการบริการและดูแลผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ จากสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ 

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อสถาบันหรือหน่วยงานที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุ

  • ร้อยละ 53.05 ระบุว่า สถาบันครอบครัว
  • รองลงมา ร้อยละ 41.91 ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐ เช่น บ้านพักคนชรา
  • ร้อยละ 3.59 ระบุว่า วัด มูลนิธิ สมาคม องค์กรเอกชน (NGOs)
  • ร้อยละ 1.45 ระบุว่า หน่วยงานภาคธุรกิจ/เอกชน  

สำหรับความคิดเห็นต่อบุคคลในครอบครัวที่ควรเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ พบว่า 

  • ร้อยละ 35.96 ระบุว่า ลูกสาวคนโต/ลูกสาวคนรอง 
  • รองลงมา ร้อยละ 23.89 ระบุว่า ลูกชายคนโต/ลูกชายคนรอง 
  • ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ลูกทุกคน 
  • ร้อยละ 8.40 ระบุว่า  ญาติ พี่ น้อง หรือลูกพี่ ลูกน้อง 
  • ร้อยละ 5.88 ระบุว่า หลาน 
  • ร้อยละ 3.74 ระบุว่า คู่สมรส 
  • ร้อยละ 3.05 ระบุว่า ดูแลตัวเอง

ด้านความต้องการเกี่ยวกับการให้บริการดูแลผู้สูงอายุจากหน่วยงานภาครัฐ พบว่า 

  • ร้อยละ 84.81 ระบุว่า บริการทางการแพทย์/รักษาพยาบาล 
  • รองลงมา ร้อยละ 31.68 ระบุว่า บริการด้านการเดินทางระหว่างที่อยู่อาศัยและแหล่งกิจกรรมที่ต้องการไป (รถบัส รถตู้ หรือรถแท็กซี่สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ) 
  • ร้อยละ 31.60 ระบุว่า บริการด้านการฟื้นฟูบำบัดทางกายภาพ (รวมทั้งสถานที่ออกกำลังกาย) 
  • ร้อยละ 26.03 ระบุว่า บริการด้านโภชนาการ (เช่น จัดส่งอาหารสำหรับผู้สูงอายุในลักษณะของการผูกปิ่นโต หรืออาหารกล่องถึงบ้านผู้สูงอายุ) 
  • ร้อยละ 24.05 ระบุว่า บริการบ้านพัก/ที่อยู่อาศัย (เช่น คอนโด หรือบ้านสำหรับครอบครัวผู้สูงอายุ) 
  • ร้อยละ 22.90 ระบุว่า บริการด้านการปรึกษาทางการเงิน (เช่น ให้คำแนะนำการออม การซื้อกองทุน เป็นเคาน์เตอร์พิเศษเฉพาะผู้สูงอายุ) 
  • ร้อยละ 21.91 ระบุว่า บริการด้านการปรึกษาทางจิตใจ (เช่น มีจิตแพทย์เฉพาะทาง)

ส่วนการใช้บริการหน่วยงานภาครัฐของผู้สูงอายุ พบว่า ร้อยละ 85.11 ระบุว่า เคยใช้บริการ และร้อยละ 14.89 ระบุว่า ไม่เคยใช้บริการ

เมื่อถามผู้ที่ระบุว่า เคยใช้บริการ (จำนวน 1,115 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับปัญหาจากการใช้บริการ พบว่า ร้อยละ 56.86 ระบุว่า ทุกอย่างดี ไม่มีปัญหา รองลงมา ร้อยละ 31.66 ระบุว่า ขาดความเอาใจใส่ในการดูแล/ให้บริการของบุคลากร ไม่เป็นมืออาชีพ ไม่มีมาตรฐาน ล่าช้า ร้อยละ 22.60 ระบุว่า หน่วยงานที่ให้บริการไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง และร้อยละ 3.50 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายแพงเกินไป  

ด้านความต้องการเกี่ยวกับการให้บริการดูแลผู้สูงอายุจากหน่วยงานภาคธุรกิจหรือเอกชน พบว่า ร้อยละ 65.65 ระบุว่า บริการทางการแพทย์/รักษาพยาบาล รองลงมา ร้อยละ 20.46 ระบุว่า บริการด้านการฟื้นฟูบำบัดทางกายภาพ (รวมทั้งสถานที่ออกกำลังกาย)

ร้อยละ 18.09 ระบุว่า บริการด้านการเดินทางระหว่างที่อยู่อาศัยและแหล่งกิจกรรมที่ต้องการไป (รถบัส รถตู้ หรือรถแท็กซี่สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ) ร้อยละ 15.50 ระบุว่า บริการด้านการปรึกษาทางการเงิน (เช่น ให้คำแนะนำการออม การซื้อกองทุน เป็นเคาน์เตอร์พิเศษเฉพาะผู้สูงอายุ)

ร้อยละ 13.66 ระบุว่า บริการด้านโภชนาการ (เช่น จัดส่งอาหารสำหรับผู้สูงอายุในลักษณะของการผูกปิ่นโต หรืออาหารกล่องถึงบ้านผู้สูงอายุ) ร้อยละ 13.21 ระบุว่า บริการบ้านพัก/ที่อยู่อาศัย (เช่น คอนโด หรือบ้านสำหรับครอบครัวผู้สูงอายุ) และบริการด้านการปรึกษาทางจิตใจ (เช่น มีจิตแพทย์เฉพาะทาง) ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 9.08 ระบุว่า ไม่ต้องการให้หน่วยงานภาคเอกชนเข้ามาดูแล

ส่วนการใช้บริการหน่วยงานภาคธุรกิจหรือเอกชนของผู้สูงอายุ พบว่า ร้อยละ 62.52 ระบุว่า ไม่เคยใช้บริการ และร้อยละ 37.48 ระบุว่า เคยใช้บริการ เมื่อถามผู้ที่ระบุว่า เคยใช้บริการ (จำนวน 491 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับปัญหาจากการใช้บริการ พบว่า ร้อยละ 65.58 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายแพงเกินไป รองลงมา ร้อยละ 31.57 ระบุว่า ทุกอย่างดี ไม่มีปัญหา ร้อยละ 5.30 ระบุว่า บุคลากรไม่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ และร้อยละ 3.67 ระบุว่า การบริการไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.47 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.93 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 20.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 31.68 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 12.37 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.02 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 43.89 เป็นเพศชาย และร้อยละ 56.11 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 66.18 มีอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 28.02 มีอายุ 70-79 ปี และร้อยละ 5.80 มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.88 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.13 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.99 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.43 สถานภาพโสด ร้อยละ 86.79 สมรส และร้อยละ 8.78 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 58.32 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 20.30 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.82 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 13.59 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.97 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 0.84 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 0.30 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 12.59 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.79 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 10.46 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน และร้อยละ 58.02 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน

ตัวอย่าง ร้อยละ 43.44 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.41 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 10.38 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 5.34 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.58 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 4.50 ไม่ระบุรายได้

TAGS: #ผู้สูงอายุ #ครอบครัว