ความสัมพันธ์ 'แม่ผัวลูกสะใภ้' จะกี่ยุคกี่สมัยก็ไม่เคยหายไป เมื่อแม่ๆ ไม่ยอมปล่อยมือลูกชายที่ตัวเองประคบประหงมมานาน รู้สึกเสรยการควบคุมมื่อลูกๆเริ่มมีครอบครัวเป็นของตัวเอง
ผลการศึกษาในหลายร้อยครอบครัวตลอดช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เทอร์รี่ อัปเตอร์ นักจิตวิทยาและอดีตติวเตอร์อาวุโสที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เผยบทความในหนังสือของเธอว่า What Do You Want From Me? ว่าผู้หญิงมากกว่าร้อยละ 60 กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างแม่ผัว ลูกสะใภ้ ทำให้พวกเธอไม่มีความสุขและเกิดความเครียดในระยะยาว
“ความขัดแย้งระหว่างแม่ผัวกับลูกสะใภ้มักเกิดจากการคาดหวัง ต่างฝ่ายต่างวิพากษ์วิจารณ์หรือบ่อนทำลายซึ่งกันและกัน แต่ความไม่สบายใจร่วมกันนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ แต่เกี่ยวข้องกับบรรทัดฐานของผู้หญิงที่มีมายาวนาน ซึ่งพวกเราไม่กี่คนสามารถสลัดออกได้อย่างสิ้นเชิง" อัปเตอร์กล่าวกับ เดอะการ์เดี๊ยนในเดือนพฤศจิกายน 2551
ทำไมความสัมพันธ์กับแม่สามีถึงยาก?
เอลิซาเบธ เฟดริก นักจิตอายุรเวทจากเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนาบอกกับ เว็บไซต์นิวส์วีก ว่าบรรดาแม่ ๆ มักจะเป็น "หัวเรือใหญ่" ของครอบครัวมักจะมีบทบาทอำนาจในการดูแลและตัดสินใจทั้งหมด สิ่งนี้อาจสร้าง "ความขัดแย้งและความแตกแยกเมื่อมีบุคคลอื่นเข้าร่วมในครอบครัว และยิ่งหากมีวิถีชีวิตเป็นของตนเองและส่งอิทธิพลต่อครอบครัวที่แปลกแยกจากกัน” เฟดริกกล่าว
แม่บางคนรู้สึกวิตกกังวลและเป็นห่วงเมื่อพวกแม่ๆ กำลังสูญเสียการควบคุมที่มีมานาน เกี่ยวลูกๆ และความเคลื่อนไหวต่างๆ ในครอบครัวที่จะเปลี่ยนไปหลังลูกชายแต่งงาน นั่นทำให้พวกแม่ๆ ยิ่งควบคุมมากขึ้น มีพฤติกรรมไม่อ่อนข้อ เพราะพวกเธอกลัวนั่นเอง
บางครั้งแม่ๆ รู้สึกว่าตัวเอง 'รู้ดีที่สุด' และเสนอความคิดเห็นต่างๆ เมื่อรู้สึกว่าอะไรๆ ไม่เป็นไปตามที่คิด แม่ๆ ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้มักคิดว่านั่นคือการเสนอความช่วยเหลือ แม้ว่าจะเกิดความขัดแย้ง และไม่เกิดประโยชน์ก็ตาม
แม่ๆ ควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างแม่และลูกเมื่อลูกชายแต่งงาน หรือคบหาใครสักคน เจนนิเฟอร์ เคลแมน นักบำบัดความสัมพันธ์ครอบครัวกล่าวว่า "ไม่ได้หมายความว่าแม่ๆ จะไม่มีความสัมพันธ์สุดวิเศษหรือแนบแน่นกับลูกๆได้แล้ว หลังพวกเขามีครอบครัวเป็นของตัวเอง หากแม่ๆ รู้จักการปรับตัวหลังหลายอย่างเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์จะราบรื่นได้เอง"
เคลแมนกล่าวว่า ความขัดแย้งกับแม่สามีอาจเกิดขึ้นบ่อยขึ้นในครอบครัวที่มีเคร่งครัด ใจแคบ "มันยากที่จะถอยกันสักก้าว แต่มันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสัมพันธ์ที่ดีของทุกคน"
แล้วจะจัดการความสัมพันธ์อย่างไรให้ลงรอย
เอลิซาเบธ เฟดริก ให้คำแนะนำกรณีดังกล่าวว่า "อันดับแรกคือ กำหนดขอบเขต ที่แม่สามีสารถทำได้ในทุกเรื่องสำหรับความสัมพันธ์นี้" รวมถึงหัวข้อในการแชร์ความคิดเห็นที่เธอแนะนำ หรือความบ่อยครั้งและเวลาที่เธอจะมาหา หรือใช้เวลากับครอบครัวลูกชาย ในบางครั้งก็รวมถึงการอนุญาตให้พูดเรื่องบางเรื่องกับหลานๆ
ในทางกลับกันลูกชายลูกสะใภ้เองก็ควรขอความคิดเห็น หรือคำปรึกษาในเรื่องต่างๆ ที่ตัวคุณได้ให้แม่ๆ เข้ามายุ่งได้ "จำไว้ว่าเราไม่ได้กำลังแข่งขันกับแม่สามี และพวกแม่ๆ ก็สามารถให้ความคิดเห็นในเรื่องที่พวกลูกอนุญาตเท่านั้น"
ความสัมพันธ์คือ "การให้ และรับ" ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์ในการรักษาความสัมพันธ์ของคุณกับแม่สามีและจงใจช่วยให้เธอรู้สึกมีส่วนร่วมและมีค่า