“เครียดจนใจเจ็บ” เมื่ออาการเครียดทำให้ปวดหัวใจ

“เครียดจนใจเจ็บ” เมื่ออาการเครียดทำให้ปวดหัวใจ
เนื่องความรู้สึกในใจของเราเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองของร่างกาย เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่อันตรายทรวงอกจะเกิดการหดตัว อัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วขึ้น หัวใจและกล้ามเนื้ออื่นๆ จึงอาจรู้สึกเหมือนปวดอย่างรุนแรง

หัวใจของคุณเจ็บปวดจากความเครียดได้จริงหรือ?

เนื่องจากความรู้สึกในใจของเราเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองของร่างกาย ว่าเราจะสู้หรือหนี เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่อันตรายทรวงอกจะเกิดการหดตัว อัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วขึ้น หัวใจและกล้ามเนื้ออื่นๆ จึงอาจรู้สึกเหมือนปวดอย่างรุนแรงหรือทำให้คุณหายใจไม่ออกชั่วขณะ

เมื่อเราประสบกับความเครียดเฉียบพลัน เช่น การทะเลาะวิวาทหรืออุบัติเหตุทางรถยนต์โดยไม่คาดคิด ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียดของร่างกาย เช่น คอร์ติซอลและอะดรีนาลีน โดยทั่วไปเมื่อความเครียดผ่านพ้นไป ปฏิกิริยาของร่างกายต่อความเครียดก็จะบรรเทาลง

บางกรณีที่อาการเจ็บหน้าอกจะรุนแรงจนถึงขั้นเข้าโรงพยาบาล ตัวอย่างเช่น อาการเจ็บหน้าอกอาจบ่งบอกถึงอาการตื่นตระหนก งานวิจัยชิ้นหนึ่งรายงานว่า 58% ของผู้ที่ไปโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บหน้าอกมีความวิตกกังวลและเกี่ยวข้องกับความเครียด

อาการตื่นตระหนกเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันของความกลัวหรือความรู้สึกไม่สบายใจขั้นสุด มาพร้อมกับปฏิกิริยาทางร่างกายที่รุนแรงต่างๆ สามารถสร้างความรู้สึกว่าตกอยู่ในอันตรายเฉียบพลันแม้ว่าจะไม่มีอันตรายก็ตาม

อาการตื่นตระหนกอาจรู้สึกเหมือนหัวใจวาย ความรู้สึกที่เหมือนโดนโจมตีเสียขวัญนั้นสามารถเลียนแบบอาการหัวใจวายได้ ซึ่งอาจมีอาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก ปวดท้องและคลื่นไส้ และเจ็บหน้าอก

นอกจากนี้ ยังอาจรู้สึกเจ็บหน้าอกแบบเดียวกับการตอบสนองต่อความเครียด ซึ่งมีอาการเจ็บแปลบหรือรู้สึกจุกหน้าอก

ประมาณร้อยละ 30 ถึง 40 ของผู้ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บหน้าอกกำลังประสบกับอาการวิตกกังวลหรือตื่นตระหนก อาการตื่นตระหนกกำเริบพร้อมกับอาการอื่นได้ แพทย์จะรับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคตื่นตระหนก

TAGS: #จิตวิทยา #สุขภาพจิต #เครียด #โรคหัวใจ