หงุดหงิดใจทุกครั้งที่คิดถึงเรื่องที่ไม่ควรจะลืม บางครั้งอาจจะจำได้แค่อักษรตัวหน้า หรือจำได้แค่บรรยากาศ แต่กลับลืมสิ่งหลักๆ ทำไมจึงเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้น
คำทุกคำล้วนมีแบบจำลองทางประสาทและการเชื่อมโยงอยู่ในสมองเชลล์ประสาทบางส่วนจะทำหน้าที่เก็บรักษาแง่มุมในเชิงการมองเห็นของคำต่างๆ เช่น เวลาพิมพ์เป็นตัวอักษรออกมา
ขณะที่เชลล์ประสาทอื่นๆ จะเก็บรักษาข้อมูลเชิงนามธรรมของคำ เช่น ความหมายของคำ การรับรู้ทางประสาทสัมผัสกับอารมณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับมัน และประสบการณ์ที่คุณเคยมีกับมัน
และยังมีเชลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลด้านการออกเสียงด้วย โดยพวกมันจะมีข้อมูลว่าคำดังกล่าวออกเสียงอย่างไรยามเอ่ยออกมา ซึ่งจำเป็นต่อการเปล่งเสียงคำคำนั้น ไม่ว่าจะพูดออกมาดังๆ หรือพูดในใจก็ตาม
ปกติแล้วปัญหาแบบคิดชื่อเต็มๆไม่ออก จำได้แค่ตัวอักษรหน้าสุด หรือจำบริเวณ หรือบรรยากาศในวันนั้นได้ แต่จำร้านที่ต้องการจะไปไม่ได้ ราวครึ่งหนึ่งถึง 1 ใน 3 จะแก้ไขได้เอง เช่น จู่ ๆคำคำนั้นก็"โผล่"ขึ้นมาในสติรับรู้ภายหลัง
เราอาจกำลังอาบน้ำแล้วคำนี้ก็แวบเข้ามาในหัว หรือไม่คุณก็กำลังนอนอยู่บนเตียงพลางพยายามข่มตานอน แล้วก็เปรี้ยง! นึกออก หรือแค่อาจจะถามใครสักคนที่ให้คำตอบได้ หรือลองหาในกูเกิล
ขณะที่เกิดอาการติดอยู่ที่ปลายลิ้น บางครั้งเราก็จะนึกคำดังกล่าวออกแวบๆในรูปแบบของอักษรตัวแรกหรือจำนวนพยางศ์ บ่อยครั้งเราจะเรียกคืนมันได้บางส่วน เหมือนเป็นคำใบ้ที่ชวนให้มีกำลังใจแต่ก็ช่างแสนริบหรี่เช่น "ฉันรู้ว่ามันขึ้นต้นด้วยตัว D ถ้าคุณพูดภาษาที่อยู่ในกลุ่มโรมานซ์อย่างภาษาอิตาสีหรือสเปน คุณอาจจะรู้ว่าคำคำนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง คุณรู้ว่ามันลงท้ายด้วยอักษร a"
หลัก ๆ แล้วอาการติดอยู่ที่ปลายลิ้น เป็นแค่อาการกระตุกในการเรียกคืนความจำตามธรรมชาติ มันเป็นผลพลอยได้จากวิธีที่สมองของเรา ประกอบกันขึ้นมา เหมือนใส่แว่นเพราะสายตาต้องการสิ่งที่ช่วยให้มองเห็นดีขึ้น เช่นเดียวกับการใช้กูเกิลได้ถ้ามีคำติดอยู่ที่ปลายสิ้น
ความถี่ของอาการติดอยู่ที่ปลายลิ้นจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นเป็นปกติ โดยน่าจะมีที่มาจากความเร็วในการประมวลผลที่ลดลง แต่เราสังเกตเห็นมันบ่อยขึ้นเมื่อขึ้นเราแก่ตัวลง เพราะวัยชรากับโรคอัลไซเวอร์เป็นความจริงและความเป็นไปได้ที่ใกล้ตัวมากขึ้
แต่เนื้อเพลงทั้งเพลงร้องไม่ผิดสักคำ! เพราะอะไร?
ทุกคนต้องเคยนั่งอยู่ในรถแล้ววิทยุก็เล่นเพลงที่คุณไม่ได้ยินมา 20 ปีแต่กลับจำเนื้อร้องได้ในทันที่ และร้องคลอไปกับเพลงโดยไม่ผิดพลาดเม้แต่คำเดียว นี่น่าจะเป็นเพราะว่าเมื่อ 20 ปีก่อนตอนที่เพลงนี้กำลังฮิตก็ได้ฟังและร้องมันวันละหลาย ๆ หน สถานีวิทยุเล่นมันบ่อยเกินเหตุได้ฟังจนเกิดการเรียนรู้เกิน เมื่อมีการเก็บรักษาความจำเข้ามาเกี่ยวช่อง การทวนซ้ำก็เป็นนักรบผู้เก่งกาจในศึกที่ต้องแข่งกับเวลา