"ทำสมาธิ" ช่วยมากกว่าจิตใจสงบ แต่ร่างกายได้รับประโยชน์ด้วย

ใครๆ ต่างก็ทราบถึงประโยชน์ของการทำสมาธินั้นมีมากมาย การศึกษาและผู้เชี่ยวชาญนับไม่ถ้วนได้ยกย่องคุณสมบัติการเปลี่ยนแปลงของการทำสมาธิ

ต้นกำเนิดการนั่งสมาธิมีมาช้านานตั้งแต่หลายพันปีก่อน โดยเริ่มแรกนั้นมีเป้าหมายผูกติดอยู่กับทางศาสนา เพื่อบรรลุการเจริญภาวนาและเข้าถึงพลังลึกลับแห่งชีวิต แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การนั่งสมาธิก็กลายมาเป็นวิธีการผ่อนคลายจากความเครียดและความวิตกกังวลที่เราต่างคุ้นเคยกันดีในทุกวันนี้

มันเป็นความจริง การทำสมาธิส่งผลกระทบต่อสมองและร่างกายมากมายทั้งยังลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังไปจนถึงการลดความเสี่ยงต่อความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ผลกระทบของการทำสมาธิยังส่งผลต่อระดับความเครียดและความสามารถในการตอบสนองต่อความเครียดเฉียบพลัน 

ดร. เอลิซาเบธ เซง รองศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยYeshiva กล่าวกับเว็บไซต์ฟอร์จูนว่า “การต่อสู้และการหลบหนีเป็นการตอบสนองที่ปรับตัวได้ในยุคที่มีเสือเขี้ยวดาบ แต่มันก็ไม่ได้ปรับตัวมากนักเมื่อแรงกดดันยุคใหม่ คือ การเดินทางตอนเช้าหรือคาดการณ์อีเมลที่ไม่ดี” 

การมีสติด้วยการทำสมาธิสามารถลดความคิดเชิงลบและช่วยให้คุณอยู่ในช่วงเวลาปัจจุบันสามารถบรรเทาการตอบสนองต่อความเครียดที่เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ประจำวัน

“เหมือนกับว่คุณกำลังสอนตัวเองให้ตระหนักถึงช่วงเวลาปัจจุบัน” เซงกล่าว “เราต้องการให้พวกเขาให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้มากกว่าการเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตหรือกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” เซงเริม

การทำสมาธิมีผลต่อสมองอย่างไร
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทำสมาธิช่วยลดความเครียดความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า การศึกษาในปี 2559 พบว่าการฝึกทำสมาธิระยะยาวนั้นเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ“สสารสีขาว” ในสมอง
ซึ่งรับผิดชอบ “การถ่ายทอดข้อมูลทางประสาทสัมผัส” และสามารถอธิบายได้ว่าทำไมการทำสมาธิช่วยให้ผู้คนอยู่ในช่วงเวลาปัจจุบัน

การทำสมาธิมีผลต่อร่างกายอย่างไร?
เนื่องจากการทำสมาธิช่วยลดความเครียดและความเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ ร่างกายได้รับประโยชน์จากการทำสมาธิ

“ความเจ็บป่วยเรื้อรังจำนวนมากรุนแรงขึ้นโดยร่างกายของคุณกำลังต่อสู้ตลอดเวลา” เซงกล่าว ความเจ็บป่วยเรื้อรังเหล่านี้รวมถึงโรคหัวใจและปัญหาการนอนหลับ

ความเครียดยังช่วยลดภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมบางครั้งเรารู้สึกว่าเราเป็นหวัดเมื่อเราเครียด กังวลเรื่องเรียนเรื่องสอบ เมื่อคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะเสื่อมโทรมลง เมื่อร่างกายได้ผ่อนคลาย ระบบภูมิคุ้มกันจะไม่ถูกท้าทาย

หนึ่งในรูปแบบการทำสมาธิที่ได้รับความนิยมมากที่สุด​ คือ การฝึกสติ หรือ​ Mindfulness Meditation ซึ่งเป็นการตระหนักรู้ถึงสิ่งต่างๆ​ ที่ทำอยู่ รวมถึงความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นว่าเป็นไปในทางบวกหรือลบ

การฝึกสมาธิอื่น​ๆ​ ได้แก่

  1. การทำสมาธิแบบจดจ่อ (Focused Meditation) คือการเพ่งสมาธิไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ณ ขณะนั้นโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า​​
  2. การทำสมาธิโดยใช้จินตนาการ (Visualization meditation) เป็นเทคนิคการนึกภาพสถานที่หรือเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
  3. การทำสมาธิด้วยการเคลื่อนไหว คือการเพิ่มสมาธิและการจดจ่อโดยใช้วิธีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เช่น การเล่นโยคะ การเดินในสวน การทำชี่กง ไทชิ เป็นต้น
  4. มันตราสมาธิหรือการสวดมนต์ (Mantra meditation) เป็นการเปล่งเสียงซ้ำๆ เพื่อให้จิตใจสงบสงบและปลอดโปร่งยิ่งขึ้น โดยอาจสวดเป็นคำ เป็นวลีสั้นๆ หรือบทสวดมนต์ยาวๆ 
  5. การทำสมาธิแบบล่วงพ้น (Transcendental meditation) คล้ายๆ การสวดมนต์ แต่จะลงลึกไปถึงการเลือกคำที่ใช้สวดให้เหมาะกับผู้ทำสมาธิแต่ละคนโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกสมาธิอย่างจริงจังและทำสมาธิแบบลงลึกไปสู่ภายใน
  6. การเกร็งคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย (Progressive relaxation) หรือที่เรียกว่า Body Scan (บอดี้สแกน) คือเทคนิคการฝึกเพิ่มความผ่อนคลายและลดความตึงเครียดในร่างกาย โดยใช้วิธีคลายกล้ามเนื้อทีละส่วน 
  7. การเจริญเมตตาภาวนา (Loving-kindness meditation) เป็นการฝึกจิตเพื่อเพิ่มความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจต่อตนเองและผู้อื่น มักปฏิบัติโดยเริ่มต้นจากการฝึกเปิดใจรับความรักจากผู้อื่น และส่งคำอวยพรหรือความปรารถนาดีกลับไป

อ้างอิง 1 2 

TAGS: #จิตวิทยา #สุขภาพ #สุขภาพจิต #ทำสมาธิ