ผู้หญิงเผชิญ "ภาวะกล้ามเนื้อน้อย" มากกว่าผู้ชาย 2 เท่า

ผู้หญิงเผชิญ
ผู้หญิงสูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมากกว่าผู้ชายสูงอายุถึงเกือบ 2 เท่า การได้รับโภชนาการที่ดีและปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตมีส่วนช่วยให้มีสุขภาพกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกดีขึ้น

ใครๆ ก็ไม่อยากแก่ แต่ความแก่ห้ามกันไม่ได้ หัวใจสำคัญที่มีส่วนช่วยชะลอสภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยให้ช้าลงได้คือ “โภชนาการอาหาร” ที่ได้รับแต่ละวัน ยิ่งผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ต้องเผชิญกับความเหนื่อยล้าทั้งจากการใช้ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย 

ซึ่งการได้รับโภชนาการที่ดีและปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตมีส่วนช่วยให้มีสุขภาพกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกที่แข็งแรงได้ การสร้างความเข้าใจว่าโภชนาการส่งผลต่อการสูงวัยอย่างไร สามารถช่วยให้ผู้หญิงออกแบบการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

เผชิญภาวะกล้ามเนื้อน้อย

เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุ 45 – 55 ปี สุขภาพและร่างกายของผู้หญิงจะเริ่มแสดงอาการเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว – ซึ่งจะเร็วกว่าประมาณ 10 ปีหรือมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชาย โดยจะเริ่มแสดงอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาทิ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากถึง 33% ภาวะกระดูกอ่อนเสื่อมถึง 23% หรือแม้แต่การสูญเสียโปรตีนซึ่งเป็นโครงสร้างของผิวหนังมากถึง 30% เป็นต้น 

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) หรือ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและการทำงานของกล้ามเนื้อที่ถดถอยไปตามอายุ มีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการขยับร่างกายน้อย การขาดโภชนาการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยหลายงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้หญิงสูงอายุ ซึ่งประกอบไปด้วย

งานวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุอายุระหว่าง 60 – 89 ปี จำนวน 1,000 คนในประเทศจีน พบว่าผู้หญิงสูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (21.7%) ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชายสูงอายุ (12.9%) เกือบ 2 เท่า

งานวิจัยล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 จาก National University Hospital ประเทศสิงคโปร์ พบว่า ผู้หญิงอายุ 45 ถึง 69 ปีมีการลดลงของความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อเมื่ออายุเพิ่มขึ้นและมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานถึง 2 เท่า

การศึกษาในกลุ่มเป้าหมายชาวสิงคโปร์จำนวน 500 คนได้พบข้อสรุปที่คล้ายคลึงกัน โดยได้พบโอกาสที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าในกลุ่มผู้ที่ขาดสารอาหาร และจากการวิจัยระยะยาวที่ติดตามผู้คนเกือบ 6,000 คนในประเทศสิงคโปร์ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี พบว่าการมีภาวะโภชนาการที่ไม่ดีส่งผลกระทบต่อร่างกาย

ในขณะที่ผู้หญิงส่วนมากไม่ทันสังเกตเห็นสัญญาณการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในระยะเริ่มต้น เพราะมวลกล้ามเนื้อจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ตามธรรมชาติ ทำให้คนส่วนใหญ่ละเลยสัญญาณการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าถึงช่วงเวลาที่ร่างกาย “แก่ตัวลง” ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว พละกำลังความแข็งแรงของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว

โภชนาการส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพ

โภชนาการที่ครบถ้วนและเพียงพอถือหนึ่งในเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี เพราะสารอาหารต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และผิวหนัง ซึ่งการที่จะดูแลร่างกายของเราให้มีสุขภาพที่ดี มีความสุขในทุกวัน ร่วมกับการได้รับโภชนาการครบถ้วนและเพียงพอ มีดังนี้

  • โปรตีน

โปรตีน สารอาหารที่สำคัญที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำว่าปริมาณโปรตีนที่ผู้สูงอายุควรได้รับ คือ 0.8 ถึง 1 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุจำนวนมากมักได้รับปริมาณโปรตีนไม่เพียงพอในแต่ละวัน เนื่องจากร่างกายที่ถดถอยส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากปัญหาเกี่ยวกับฟัน ต่อมรับรสทำงานผิดปกติ ปัญหาในการกลืน ฯลฯ

รวมไปถึงอัตราการเผาผลาญที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายต้องการพลังงานที่ลดลง ทั้งหมดนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะขาดสารอาหารได้ เราสามารถดูแลสุขภาพมวลกล้ามเนื้อผ่านโภชนาการได้ โดยการเสริมโปรตีนที่มีไขมันต่ำในปริมาณที่เพียงพอจาก สัตว์ปีก ปลา ผลิตภัณฑ์นม ถั่วเหลือง และพืชตระกูลถั่ว

  • เบต้า ไฮดรอกซี เบต้า เมทิลบิวไทเรต (HMB)

HMB สารอาหารสำคัญที่มาจากกรดอะมิโนลิวซีน ซึ่งพบได้ในอาหารจำพวก ไข่ อกไก่ อะโวคาโด และ ดอกกะหล่ำปรุงสุก โดยความสำคัญของ HMB คือ มีส่วนช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ HMB มีส่วนช่วยในการชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งจากงานวิจัยที่ศึกษาผลของการเสริมโภชนาการแก่ผู้สูงอายุในชุมชนประเทศสิงคโปร์ หรือ SHIELD Study

โดยแอ๊บบอต ร่วมกับโรงพยาบาลชางงี เจเนอรัล (Changi General Hospital) และ ซิงเฮลท์โพลีคลินิค (Singhealth Polyclinic) พบว่าการบริโภคอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วนในแต่ละวันหรือ อาหารเสริมทางการแพทย์ที่มี HMB* มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะการขาดโภชนาการได้ถึงสามเท่า และยังมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อแขน ขา แข็งแรงยิ่งขึ้นในผู้สูงอายุ

หากแต่การที่จะได้รับ HMB ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายผู้สูงอายุจากอาหารเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก การเสริมด้วยอาหารเสริมทางการแพทย์ที่มีส่วนประกอบของ HMB* จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมโภชนาการได้อย่างครบถ้วน

  • วิตามินดี

วิตามินดี ถือเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับผู้หญิงเมื่อมีอายุมากขึ้น เพราะมีส่วนช่วยในกระบวนการดูดซึมแคลเซียม และมีส่วนช่วยเสริมโครงสร้างและความแข็งแรงให้แก่กระดูก โดยปริมาณสารอาหารที่แนะนำ (Recommended Dietary Allowance – RDA) สำหรับวิตามินดีในผู้หญิงอายุ 51 – 70 ปี จะอยู่ที่ 15 ไมโครกรัม และ 20 ไมโครกรัมต่อวัน

สำหรับผู้หญิงอายุมากกว่า 70 ปี เพราะเมื่ออายุมากขึ้นจะมีแนวโน้มที่จะขาดวิตามินดีตามไปด้วยเนื่องจากการรับวิตามินดีจากแสงแดดได้น้อยลง ประกอบกับการใช้ชีวิตประจำวันที่ใช้เวลานอกบ้านน้อยลงกว่าแต่ก่อนและมีการใช้ครีมกันแดดตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ได้รับวิตามินดีจากแหล่งธรรมชาติได้น้อยลง

การได้รับวิตามินดีให้เพียงพอจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงควรเสริมการรับวิตามินดีเพิ่มเติมผ่านทางการได้รับผ่านแสงแดดธรรมชาติ รวมไปถึงการเน้นทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีอย่าง นม น้ำผลไม้ ไข่แดง และปลาที่มีไขมันสูงอย่าง ปลาแซลมอน และปลาซาร์ดีน

  • แคลเซียม

แคลเซียมถือเป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญสำหรับการส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปตามปกติ และช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง ซึ่งปริมาณแคลเซียมที่แนะนำในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 51 ปีขึ้นไปจะอยู่ที่ 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน

โดยอาศัยการรับประทานควบคู่ไปกับวิตามินดี ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงจากการสูญเสียแร่ธาตุออกจากกระดูกหลังวัยหมดประจำเดือนในระยะยาว แคลเซียมสามารถพบได้ในอาหารอย่าง ผลิตภัณฑ์นม โดยการรับประทานนม 3 แก้วจะเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำในแต่ละวัน

ซึ่งนมแต่ละชนิดนั้นมีปริมาณสารอาหารไม่เท่ากัน การเสริมอาหารอื่น ๆ ที่อุดมไปด้วยแคลเซียมหรือการเพิ่มวิตามินดีในแผนโภชนาการในแต่ละวันมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงจากการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกที่สัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนแอสโตรเจนที่ลดลงได้

การได้รับสารอาหารที่เพียงพอ อย่าง โปรตีน HMB แคลเซียม วิตามินดี และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ จะมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุห่างไกลจากความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร และภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ พร้อมมีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานตามปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย

การดูแลตัวเองและคนที่เรารักให้สูงวัยอย่างมีคุณภาพที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องยาก  ด้วยการเริ่มจากการเลือกโภชนาการอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถทำในสิ่งที่รัก ใช้เวลาทุกนาทีที่มีร่วมกันกับครอบครัวอย่างมีคุณภาพ เพื่อที่จะได้มีเวลา แรงกาย แรงใจ และความรักให้กับคนที่ต้องการคุณมากที่สุด

TAGS: #ภาวะกล้ามเนื้อน้อย #เพศหญิง #สูงอายุ #สูงวัย