มะเร็งรังไข่ 1 ในมะเร็งอันดับต้นๆ ของสาวไทย

มะเร็งรังไข่ 1 ในมะเร็งอันดับต้นๆ ของสาวไทย
มะเร็งรังไข่ 1 ในมะเร็งอันดับต้นๆ ของผู้หญิงไทย ที่ยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ ไม่ใช่เฉพาะสาวโสดที่ไม่ค่อยได้ใช้มดลูกเท่านั้น ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ รับการตรวจภายในปีละครั้ง

จากกรณี “นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์” ประสาทศัลยแพทย์ แพทย์ชำนาญเฉพาะทางศัลยกรรมโรคหลอดเลือดสมองรพ.เชียงใหม่ โพสต์คลิปให้ความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งรังไข่ ผ่านแฟนเพจ หมอประชาผ่าตัดสมองโดยระบุว่า สาวโสด.. โปรดระวัง โดยเฉพาะคนที่ยังไม่ได้ใช้รังไข่

หลายๆ คนคงรู้สึกกังวลใจว่าเป็นตัวเราเองหรือไม่ ที่กำลังเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะพบมะเร็งรังไข่ มะเร็งรังไขนั้นเป็นภัยร้ายของผู้หญิง พบว่าเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งในผู้หญิง

กลุ่มเสี่ยงที่จะตรวจพบคือ เพศหญิงอายุ 40 - 55 ปี และยังเป็นกลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเคยเป็นมะเร็งรังไข่ หรือพบความเสี่ยงในผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ 

อาการที่พบส่วนใหญ่คือ ท้องโตอืด แน่นอึดอัดท้อง ปวดท้องเฉียบพลันจากอาการบิดขั้ว ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักตัวลดลง หากสังเกตพบอาการเหล่านี้ควรรับการวินิจฉัยด้วยการคลำหาก้อนมะเร็งจากภายใน และการตรวจด้วยวิธีการอัลตราซาวน์

การวินิจฉัย
1. การตรวจภายในอาจคลำพบก้อนใน บริเวณท้องน้อย การคลำพบก้อนรังไข่ได้ในสตรีวัย หมดประจำเดือน ควรนึกถึงมะเร็งของรังไข่ไว้ด้วย (เพราะตามปกติวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะฝ่อ)
2. การทำแพพสเมียร์จากในช่องคลอด ส่วนบนทางด้านหลัง อาจพบเซลล์มะเร็งของรังไข่ ได้
3.การตรวจด้วย เครื่องความถี่สูงอาจช่วยบอกได้ว่ามีก้อน ในท้อง ในรายที่อ้วนหรือหน้าท้อง หนามาก คลำด้วยมือตาม ปกติตรวจไม่พบ
4. การผ่าตัดเปิดช่องท้อง และตรวจดู เป็นวิธีที่สำคัญ และแม่นยำที่สุดในการวินิจฉัยโรค อย่างแน่นอนสามารถ ขลิบหรือตัดเอาเนื้อมาตรวจหาชนิดของมะเร็ง และทราบถึงระยะ ของโรค ด้วย

สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ ชัด แต่พบเหตุส่งเสริม ที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ ดังนี้ คือ
1.สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศ อุตสาหกรรมมีผู้ป่วยเป็น มะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
2.สตรีที่ไม่ มีบุตร หรือมีบุตรน้อย
3.ผู้ที่เคย เป็นมะเร็งที่เต้านม มะเร็ง มดลูก และมะเร็งระบบทางเดิน อาหาร โอกาสเป็น มะเร็งรังไข่มี มากกว่าคนปกติ

การผ่าตัด ถือเป็นวิธีแรกที่แพทย์จะเลือกทำการรักษา ถ้าไม่สามารถตัดออกได้หมดเนื่องจาก โรคกระจายออกไปมากแล้ว แพทย์จะพยายาม ตัดออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจะให้ การรักษาต่อด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด

บทความโดย พญ.อสมา วาณิชตันติกุล สูตินรีแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยานรีเวชและผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช เผยว่า ยังไม่มีวิธีการที่เฉพาะเจาะจงที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่ อย่างไรก็ตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้อาจสามารถช่วยป้องกันการเกิดในขั้นต้นได้

  • ยากินคุมกำเนิด  การกินยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง นาน 5 ปีขึ้นไป สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้ถึง 50% อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงจากการใช้ยาคุมให้ดีก่อนเริ่มใช้ยา
  • การตรวจคัดกรอง จริงๆแล้ว ไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ที่แม่นยำ
  • การอัลตราซาวนด์อุ้งเชิงกรานสม่ำเสมอ การตรวจเลือดเพื่อหาสารมะเร็งรังไข่นั้นแนะนำให้ทำในผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งรังไข่

อ้างอิง 1 2

TAGS: #มะเร็งรังไข่