6 คำแนะนำ “ทำอย่างไรให้นอนหลับได้นานขึ้น”

6 คำแนะนำ “ทำอย่างไรให้นอนหลับได้นานขึ้น”
นอกจากการกินยานอนหลับ ยาแก้หวัด หรือแม้กระทั่งการใช้แอลกอฮอล์ในการช่วยให้เคลิ้มหลับ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้เราหลับอย่างผ่อนคลาย และไม่ข่วยให้หายจากอาการนอนไม่หลับ แล้วเราต้องทำอย่างไรให้นอนหลับได้นานขึ้น

อาการนอนไม่หลับ หรือบางคนเป็นหนักจนกลายเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ถือเป็นอุปสรรคใหญ่ในการใช้ชีวิต เพราะการนอนหลับสนิทถือเป็นการพักผ่อน และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทั้งยังช่วยให้คนที่อยากลดน้ำหนักได้เห็นผลอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าคนที่ไม่ได้นอนหลับ

จากหนังสือ สมองฟิต-ฟิตสมอง: เคล็ดลับเพิ่มศักยภาพและปลุกความคิดสร้างสรรค์ ฉบับศัลยแพทย์สมอง โดยดร.ราหุลจันเดียล ประสาทศัลยแพทย์และนักวิทยาศาสตร์  แนะการฝึกระบบประสาทที่จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับทำอย่างไรให้นอนหลับได้นานขึ้น

นอกเหนือจากการแอบซื้อยาแก้หวัด (แม้ไม่ได้เป็นหวัด) มากินสักสองสามเม็ด เผื่อช่วยให้หลับ แต่ทำได้แค่“ผล็อยหลับ” หรือจิบวิสกี้ เบียร์ จิน วอดก้า และไวน์ก็เช่นกัน แอลกอฮอล์ช่วยกระตุ้นให้เคลิ้มหลับ แต่ไม่ได้ช่วยเรื่องการหลับลึกที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและอาจก่อปัญหามากกว่าแก้

งานศึกษาชิ้นหนึ่งประเมินคนไข้ก่อนและหลังผ่าตัดต่อมไพเนียลที่ซึ่งผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งผลลัพธ์หลังการผ่าตัดเอาต่อมไพเนียลออกคือ เมลาโทนินมีระดับลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วนใหญ่ต่ำกว่าขีดจำกัดที่ตรวจวัดได้ ขณะที่จังหวะการนอนหลับ การตื่นในชีวิตประจำวันไม่เปลี่ยนแปลง

เว็บไซต์บัณฑิตยสถานอเมริกัน สาขาการแพทย์ด้านการนอนหลับเผยรายการสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ โดยดร.ราหุลได้รวบรวมข้อแนะนำที่ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด

  1. รักษาตารางเวลานอนให้คงเส้นคงวา นั่นคือ ตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน แม้กระทั่งวันหยุด จะทำให้รักษาจังหวะรอบวัน และนาฬิการ่างกายให้นอนหลับในเวลาเดิมได้
  2. หลีกเลี่ยงคาเฟอีนยามบ่ายหรือค่ำ เพราะคาเฟอีนอาจคงอยู่ในร่างกาย 10-12 ชั่วโมง แนะนำให้ดื่มก่อนบ่ายนิดๆ
  3. ถ้าไม่ผล็อยหลับหลังจากเข้านอน 20 นาที ให้ลุกจากเตียง ให้ทำอะไรที่ผ่อนคลายและใช้ไฟสลัว
  4. ใช้เตียงเพื่อนอนหลับ หรือเพศสัมพันธ์เท่านั้น
  5. จำกัดการสัมผัสแสงสว่างจ้าตอนค่ำ เริ่มหรี่แสงไฟลงตอน 20:00 น. ของทุกคืน
  6. ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 30 นาที

ข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ ให้ปรึกษา หรือขอความช่วยเหลือจากนักบำบัดการนอนหลับ ซึ่งเลือกใช้การบำบัดโดยปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมหรือ CBT (Cognitive Behavioral Therapy) เป็นวิธีรักษาอันดับ 1  ช่วยให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับนิสัยหรือทัศนคติที่จัดขวางไม่ให้เราได้พักผ่อนอย่างเต็มอิ่มตลอดคืน งานศึกษาพบว่า การทำ CBT ช่วยให้ผู้เป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรังได้อย่างยั้งยืน 80%

TAGS: #การนอน #นอนหลับ #โรคนอนไม่หลับ