ชอบสะสมขยะไว้ในบ้าน ไม่กดชักโครก หรือเป็นโรคสะสมขยะ?

ชอบสะสมขยะไว้ในบ้าน ไม่กดชักโครก หรือเป็นโรคสะสมขยะ?
โรคทางจิตเวชที่ผู้ป่วยมีภาวะผิดปกติทางพฤติกรรมที่เก็บสะสมสิ่งของต่างๆที่ไม่มีประโยชน์ หรือมีน้อยเต็มบ้าน ที่จริงคนเหล่านี้อาจเป็นโรคจิตประเภทหนึ่งที่ชื่อว่า โรคเก็บสะสมของ หรือ โรคสะสมขยะ

เราคงเคยได้ยิน หรืออ่านข่าวเกี่ยวกับผู้เช่าที่ทิ้งห้องเช่าไป พร้อมทั้งกองขยะล้นห้อง หรือแม้แต่ข้างบ้านที่มีเก็บของล้นมาบ้านเรา ที่จริงคนเหล่านี้อาจเป็นโรคจิตประเภทหนึ่งที่ชื่อว่า โรคเก็บสะสมของ หรือ โรคทิ้งไม่ลง หรือ โรคสะสมขยะ (Hoarding disorder)

โรคทางจิตเวชที่ผู้ป่วยมีภาวะผิดปกติทางพฤติกรรมที่เก็บสะสมสิ่งของต่างๆที่ไม่มีประโยชน์ หรือมีน้อยเต็มบ้าน ลุกลามออกมารอบๆบ้าน ส่งผลต่อ การพักผ่อน หลับนอน อาหารการกิน ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดสะสมต่อเนื่อง

สาเหตุของความผิดปกติยังไม่สามารถระบุได้ อาจจะเป็นคนที่ประสบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ ตัดสินใจลำบาก คนส่วนใหญ่ที่มีความผิดปกติของการกักตุนยังประสบกับโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลบางประเภทเช่นกัน

ข้อสังเกตผู้ที่อาจเสี่ยงโรคสะสมขยะ

  • อยู่คนเดียว
  • เติบโตมาในพื้นที่ที่ไม่เป็นระเบียบ
  • มีวัยเด็กที่ยากลำบากและขาดแคลน

ทั้งยังเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ ด้วยเช่น

  • ความวิตกกังวล
  • โรคสมาธิสั้น (ADHD)
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ภาวะสมองเสื่อม
  • ความผิดปกติ, การครอบงำ, บังคับ
  • ความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ครอบงำจิตใจ
  • โรคจิตเภท

โรคสะสมขยะ พบทั่วโลกประมาณ 2%-6% จะค่อยๆ เริ่มมีอาการตั้งแต่เป็นวัยรุ่นซึ่งเป็นช่วงแพทย์มักยังวินิจฉัยโรคได้ไม่ชัดเจน ต่อจากนั้นอาการจะค่อยๆรุ่นแรงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น  อาการจะชัดเจนขึ้นหลังอายุ 30 ปีขึ้นไป 

โดยส่วนใหญ่อาการจะรุนแรงจนเกิดปัญหาที่ทำให้ต้องได้รับการรักษาในวัยประมาณ 50 ปีขึ้นไป เพศหญิงและเพศชายเกิดโรคนี้ใกล้เคียงกัน

ข้อมูลโดย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุโรคสะสมขยะจะมีลักษณะเรื้อรัง ไม่หายขาด แต่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ โดยในปัจจุบันวิธีรักษานั้นนิยมรักษาอยู่ 2 แนวทางคือ

ใช้ยาต้านเศร้า (antidepressant) คุณหมอจะให้ยาต้านเศร้าเพื่อให้เราลดความเครียดและความหมกมุ่นในการสะสมของ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

พฤติกรรมบำบัด เป็นหนึ่งในวิธีรักษาอาการทางจิตที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมและค่อนข้างได้ผลพอสมควร ซึ่งวิธีนี้ก็สามารถใช้เยียวยาอาการของโรคเก็บสะสมของได้ด้วย โดยเป็นวิธีที่มุ่งเน้นฝึกทักษะการตัดสินใจให้ผู้ป่วยสามารถจัดการเก็บหรือทิ้งสิ่งของในครอบครองได้อย่างมีเหตุผลยิ่งขึ้น การจัดกลุ่มข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งฝึกให้ทนได้กับการทิ้งของเหลือใช้ร่วมด้วย

รู้หรือไม่?
โรคสะสมขยะ ไม่ใช่ ขี้เกียจ

ความเกียจคร้านและความยุ่งเหยิงไม่เกี่ยวข้องกับโรคสะสมขยะ ซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิต คนที่สะสมของ ไม่ทิ้งขยะ จะรู้สึกวิตกกังวลและทุกข์ทรมานจากนิสัยและแนวโน้มของตนเอง
 

อ้างอิง 1 2 3 4

TAGS: #Hoarding #สะสมขยะ #สะสมของ #ห้องเช่า #ห้องเช่ารก #ขยะ