ในเด็กพบภาวะนี้เพียงร้อยละ 25-45 ซึ่งระบบที่พบ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง อาการจะเป็นๆ หายๆ ได้
ภาวะ Long Covid อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติเกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือนนับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน โดยอาการเกิดขึ้นได้หลายระบบอย่างต่อเนื่อง หลังได้รับติดเชื้อโควิดนานกว่า 4-12 สัปดาห์และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ
ในเด็กพบภาวะนี้เพียงร้อยละ 25-45 ซึ่งระบบที่พบ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง อาการจะเป็นๆหายๆได้ การรักษาโรคนี้มักเป็นการแยกโรคที่รุนแรงอื่นและรักษาตามอาการ รวมถึงการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การสำรวจครั้งใหม่จากศูนย์สถิติสุขภาพแห่งชาติ (he National Center for Health Statistics) ระบุว่าภาวะดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อเด็กมากถึง 962,000 คน และผู้ใหญ่ 17.9 ล้านคน
จากข้อมูลของหน่วยงานในปี 2022 เด็ก 1.3% และผู้ใหญ่ 6.9% เคยอยู่ในภาวะ Long Covid ภาวะ Long Covid นี้มีแนวโน้มมากที่สุดในผู้หญิง ประชากรกลุ่ม Hispanic (คนที่มีถิ่นฐานมากจาก Mexico , Puerto Rico, Cuba, South America, Central America และ Caribbean และอื่นๆ) ผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท และผู้ใหญ่ที่มีอายุ 35 ถึง 49 ปี ผู้ใหญ่ชาวเอเชียมีแนวโน้มจะเป็น Long Covid น้อยที่สุด
ในเด็ก ภาวะ Long Covid มักเกิดในเด็กผู้หญิง เด็กอายุ 12 ถึง 17 ปี และเด็กเชื้อสายสเปน เด็กเอเชียมีโอกาสน้อยที่สุดที่จะมีอาการ Long Covid
สำหรับประเทศไทย ประมาณร้อยละ 0.03 ของผู้ป่วยเด็กที่ติดโควิดทั้งหมด โดยพบในเด็กทุกช่วงอายุ อายุเฉลี่ยที่พบ คือ 8-10 ปี พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง
ข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ระบุว่า มีผู้ป่วยเด็กเข้ารับรักษาตัวด้วยภาวะ Mis-C หรือ Multisystem Inflammatory Syndrome in Children ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง จำนวน 15 ราย ยังไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ร้อยละ 7-14 ของผู้ป่วยเด็กยังมีการทำงานของหัวใจที่ผิด
อาการลองโควิดในเด็กต่ออารมณ์ การเรียนรู้ สมองล้า
สำหรับอาการลองโควิดในเด็กที่มีต่ออารมณ์และความรู้สึกนั้น คือ บางคนรู้สึกกังวลใจ เพราะไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะหาย
บางคนคิดถึงโรงเรียน อยากเจอเพื่อน จึงทำให้หลายคนบอกว่าเศร้า กดดัน กลัว กังวล เบื่อ เครียด และรู้สึกไม่ชอบสถานการณ์แบบนี้
อาการทางด้านทักษะการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาเมื่อเจอกับสถานการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนลดลง มีอาการหลงลืมมากขึ้น รู้สึกว่างเปล่า
ส่วนอาการสมองล้า ที่เด็กๆ รู้สึกและบอกกับพ่อแม่คือ รู้สึกสับสน รู้สึกคิดอะไรไม่ออก นึกไม่ค่อยออก เหมือนขี่จักรยานฝืดๆ ที่มีสนิม จำไม่ค่อยได้ว่าเมื่อวานทำอะไร
ในส่วนภาวะมิสซี หรือ Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบ และอันตราย เพราะเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังเด็กหายจากการติดโควิด
โดยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่เริ่มหาย หรือหลังติดเชื้อ 2-6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง โดยเฉลี่ย 8-10 ปี โดยมีอาการรุนแรง ไข้สูง ปากแดง ตาแดง ปอดอักเสบ มีภาวะช็อก และอาจเสียชีวิตในที่สุด
การป้องกัน Long Covid หรืออาการข้างเคียงต่าง ๆ ที่ดีที่สุด คงหนีไม่พ้นการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรค ด้วยการฉีดวัคซีน รักษาสุขอนามัย พักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากพลาดพลั้งได้รับเชื้อขึ้นมา การรักษาตามอาการและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดก็จะช่วยเด็ก ๆ ปลอดภัยจากภาวะคุกคามต่าง ๆ ได้ เมื่อได้รับการรักษาที่ทันท่วงที