เพจสุขภาพจิตตั้งคำถาม จำเป็นแค่ไหนที่ต้องมีฉากฆ่าตัวตายแบบชัดเจนในภาพยนตร์ เพราะคนจะกลัวไม่ทำตาม หรือจะกลายเป็นแรงจูงใจให้ใช้วิธีการดังกล่าวตาม
กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีที่ ต้องเต ธิติ ศรีนวล ผผู้กำกับภาพยนตร์ “สัปเหร่อ” ออกมาเผยที่ต้องตัดฉากหนึ่งออกจากภาพยนตร์ เนื่องจากเกรงว่าผู้ชมจะดิ่งเกินไป ซึ่งฉากดังกล่าวคือฉากที่ตัวละครพูดว่า “บ่เป็นหยัง บ่จากมือนี่ ก็จากมื้อหน้า”
ทางด้านเพจคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎาได้แนะนำว่าฉากที่ควรตัดคือฉากเปิดเรื่องเนื่องจากรุนแรงและไม่ส่งผลต่อหนัง โดยเผยว่า
ต้องเตผู้กำกับ“สัปเหร่อ” ออกมาให้เหตุผลที่ตัดฉาก
“บ่เป็นหยัง บ่จากมือนี่ ก็จากมื้อหน้า”
ออกจากหนังว่า ”กลัวผู้ชมจะดิ่งเกินไป“
ความเห็นหมอๆว่า *ดูแล้วก็ไม่ได้ดิ่งมากนัก*
ถ้าจะมีฉากไหนที่ควรตัดจริงๆ
(เพราะอาจมีผลต่อพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ)
และตัดได้โดยที่ไม่ได้มีผลต่อตัวเรื่องเลย
ฉากนั้นก็คือ…*ฉากแรกสุด**ครับ ????????
มีผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นแตกออกเป็นสองฝั่ง ทั้งฝั่งที่สนับสนุนว่าควรตัดออก และฝั่งที่คิดว่ามีฉากแรกดีแล้ว คนจะได้ไม่กล้าทำตาม (เนื่องจากในภาพยนตร์เป็นฉากการฆ่าตัวตายของตัวละครด้วยการผูกคอ)
การผูกคอเป็นวิธีที่พบบ่อยที่สุด
ศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เผยข้อมูลปัญหาการฆ่าตัวตายในคนไทยปี 2565 พบว่าล่าสุดปี พ.ศ 2564 อัตราการฆ่าตัวตายสําเร็จ ยังเพิ่มสูงขึ้นเป็น 7.38 ต่อแสนประชากร
เนื่องจากเหตุ ปัจจัยของการฆ่าตัวตายมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตตามห้วงเวลา จากการติดตามวิเคราะห์ข้อมูลและ สังเกตการฆ่าตัวตายในคนไทยพบว่า
การฆ่าตัวตายในบุคคลแต่ละครั้ง จะเกิดขึ้นเมื่อมีครบ 5 เงื่อนไขสําคัญ ได้แก่
- บุคคลนั้นต้องมีปัจจัยเสี่ยง(Risk factors) ที่โน้มนําให้ฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป
- มีสิ่งกระตุ้น(Trigger) หรือ ปัจจัยกระตุ้น(Precipitating factors) ให้คิดและกระทําฆ่าตัวตาย
- เข้าถึงวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ฆ่าตัวตายได้ ง่าย หรือด่านกั้นล้มเหลว
- การเฝ้าระวังป้องกันล้มเหลว
- บุคคลนั้นมีปัจจัยปกป้อง(Protective factors) ที่อ่อนแอ
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต3 กล่าวว่า ในพ.ศ. 2565 การฆ่าตัวตายมีอัตราสูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจากสถิติใบมรณบัตร กองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2565 อยู่ที่ 7.97 ต่อ 1 แสนประชากรเพิ่มขึ้นชัดเจนจาก พ.ศ. 2564 ซึ่งอยู่ที่ 7.38 ต่อ 1 แสนประชากร
ข้อมูลจากรายงาน รง506S ที่รวบรวมได้ครบ 12เดือน (ตค64-กย65) พบว่าการฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นเพศชายร้อยละ 79.5 ผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างร้อยละ 34.5 วิธีการที่ใช้เป็นการผูกคอร้อยละ82.6
รองลงมาคือ ใช้อาวุธปืนร้อยละ 6.2 และใช้ยากำจัดวัชพืชร้อยละ 3.3 โดยก่อนเสียชีวิตพบสัญญาณเตือนการฆ่าตัวตายเพียงร้อยละ 25.8 บ่งบอกถึงระบบการเฝ้าระวังข้องกันการฆ่าตัวตายสำเร็จล้มเหลว
กลุ่มวัยรุ่น /นักศึกษา เป็นกลุ่มที่มีอัตราพยายามฆ่าตัวตายสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ คิดเป็น 224.34 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ กลุ่มวัยทำงาน 45.24ต่อแสนประชากร ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงร้อยละ 73.2 เป็นนักเรียนนักศึกษาร้อยละ44.6
วิธีการที่ใช้มักจะเป็นการกินยาเกินขนาดร้อยละ 59.5 รองลงมาคือใช้ของมีคมร้อยละ9.3และผูกคอร้อยละ 8.5 ก่อนลงมือพยายามฆ่าตัวตายพบสัญญาณเตือนเพียง ร้อยละ 11.6
อิทธิพลของสื่อนำมาสู่การฆ่าตัวตาย
บทความจากอ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าการเผยแพร่ข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงรวมถึงการฆ่าตัวตาย ส่งผลโดยตรงในเรื่องของการเรียนรู้ในสังคม โดยเฉพาะอิทธิพลที่มีต่อเด็กและวัยรุ่นที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่มีทักษะการแก้ไขปัญหาที่ดีพอ อาจมีการเลียนแบบพฤติกรรมได้ เนื่องจากคิดว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในเรื่องของการฆ่าตัวตายก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างร่วมด้วย นอกเหนือจากเลียนแบบ
ทางเพจคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎายังได้ยกส่วนหนึ่งของหนังสือการฆ่าตัวตาย การรักษาและการป้องกัน โดยหนังสือได้เขียนอิทธิพลของสื่อว่า ขณะที่ฉากการฆ่าตัวตายในตัวละครโทรศัทน์อาจส่งผลในทางลบได้ โดย Hawton และคณะได้ศึกษาผลของฉากการฆ่าตัวตายในละครซึ่งเป็นที่นิยมกันมากเรื่องหนึ่งในประเทศอังกฤษ
ซึ่งมีตอนที่ผู้แสดงฆ่าตัวตายโดยการกินยาชนิดหนึ่งเกินขนาด พบว่าใน 1 สัปดาห์หลังการออกอากาศมีผู้ฆ่าตัวตายโดยการกินยาเกินขนาดเพิ่มขึ้น เมื่อสอบถามผู้พยายามฆ่าตัวตายพบว่า ร้อยละ 20 บอกว่าดูฉากดังกล่าวทำให้ตัดสินใจใช้วิธีนั้น
แน่นอนว่า ผู้ที่เลียนแบบวิธีการฆ่าตัวตายจากสื่อนั้น มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายอยู่ระดับหนึ่งอยู่แล้ว