อาการคัน ร้อยละ 10-50 ของผู้ป่วยที่มาพบแพทยฺอาจเกิดจากป่วยเป็นโรคไต โรคตับ โรคเลือด-เบาหวาน คันทวารหนัก อวัยวะเพศ มะเร็งคันมากแขน หน้าแข้ง แนะผู้ป่วยคันเรื้อรัง ดูแลผิวไม่ให้แห้ง งดฟอกสบู่บ่อยๆ
นพ.ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์โรคผิวหนัง กล่าวว่า อาการคันตามผิวหนังอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการคันร้อยละ 10-50 จะตรวจพบว่ามีโรคทางกายภายในที่เป็นสาเหตุของอาการคันร่วมด้วย ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการคันเรื้อรังร้อยละ 10-50 จะตรวจพบว่ามีโรคทางกายที่เป็นสาเหตุของอาการคันร่วมด้วย คือ
- อาการคันในผู้ป่วยโรคไต มักคันเป็นครั้งคราว หรืออาจคันต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน อาการคันมักกำเริบเวลากลางคืน หรือระหว่างทำการฟอกไตหรือเพิ่งทำเสร็จ และมักมีผิวแห้งทั่วไป
- อาการคันในผู้ป่วยโรคตับ มักคันเป็นช่วงๆ คันไม่มากนัก อาจเป็นเฉพาะที่ หรือกระจายทั่วตัว มักคันมากที่มือและเท้า และตำแหน่งที่สวมเสื้อผ้ารัดรูป อาจพบผิวสีเหลืองที่เรียกดีซ่าน ไฝแดงลักษณะเหมือนแมงมุม เต้านมโตในผู้ชาย ก้อนไขมันสีเหลืองมักเป็นที่หนังตาบน ม้ามโต ผิวมีสีโคลน
- อาการคันจากโรคเลือด มักคันเฉพาะที่ ซึ่งมักเป็นที่บริเวณรอบทวารหนัก และที่อวัยวะเพศหญิง ในโรคเลือดบางอย่างอาจคันหลังสัมผัสน้ำ มักเป็นหลังอาบน้ำร้อน หรืออาบฝักบัว ผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดเหล็กจะมีผิวซีด อาจมีลิ้นและมุมปากอักเสบ
- อาการคันจากโรคต่อมไร้ท่อ มักเป็นทั่วร่างกาย และสัมพันธ์กับอาการของโรคที่เป็น ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจคันเฉพาะที่ พบบ่อยที่อวัยวะเพศหญิงหรือทวารหนัก พบบ่อยว่ามีการติดเชื้อยีสต์และเชื้อราร่วมด้วย ในผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีเล็บเปราะ ผิวและผมหยาบแห้ง ส่วนผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากจะมีผิวอุ่น เรียบ และละเอียด อาจมีโรคลมพิษเรื้อรัง อาการแสดงอื่นคือ มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว ตาโปน
- อาการคันในมะเร็ง มักคันรุนแรงปานกลางถึงคันมาก ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ แขนด้านนอกและหน้าแข้ง พบว่าอาการคันในรูจมูกอาจสัมพันธ์กับเนื้องอกในสมอง ส่วนอาการคันในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจนำมาก่อนการวินิจฉัยโรคนานถึง 5 ปี อาการคันในกลุ่มนี้จะคันจนทนไม่ได้ คันแบบต่อเนื่อง และคันรุนแรงมาก
- อาการคันจากโรคเอดส์ อาจพบผื่นลอกเป็นขุยที่ใบหน้า (seborrheic dermatitis) ผิวแห้ง มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น ติดเชื้อรา เชื้อไวรัส
ยาทาแก้แพ้โดยทั่วไปสามารถใช้ได้ ส่วนยารับประทานแก้แพ้ มี
- cetirizine ขนาดทั่วไปคือ 10 มิลลิกรัมต่อวัน แต่แนะนำให้ลดขนาดเป็น 5 มิลลิกรัมต่อวัน
- loratadine ขนาดทั่วไปคือ 10 มิลลิกรัมต่อวัน แต่แนะนำให้รับประทานขนาด 10 มิลลิกรัม วันเว้นวัน
- chlorpheniramine maleate (CPM) มีข้อมูลจำกัดเกี่ยวกับการกำจัดยาทางตับ และขาดข้อมูลสนับสนุนการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับบกพร่อง
- hydroxyzine ขนาดทั่วไปคือ 25 mg วันละ 3-4 ครั้ง แต่แนะนำให้ปรับเป็นรับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
ส่วนกรณีอาการคันที่เกี่ยวข้องกับโรคตับก็สามารถพบได้เช่นกัน เชื่อว่าส่วนมากเกิดจากตับไม่สามารถกำจัดของเสียในร่างกายออกไปได้เหมือนคนปกติ เนื่องจากตับทำงานได้น้อยลง ของเสียจึงอาจไปสะสมอยู่ที่ผิวหนังมาก ผู้ป่วยจึงอาจมีอาการคันเล็กน้อยและเป็นไม่นาน แต่บางรายจะมีอาการคันมากและเป็นเรื้อรัง ซึ่งยังไม่มีการรักษาใดๆ ที่ยืนยันถึงประสิทธิผลจากการใช้ยา
แต่ในทางปฏิบัติจริง ยาแก้แพ้ทั้ง 4 ตัวด้านบนที่แนะนำไว้ ก็เป็นที่นิยมใช้ในอาหารเหล่านี้ สำหรับอาการคันในผู้ป่วยโรคตับชนิดที่มีการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดี มีข้อมูลว่ายา cholestyramine สามารถบรรเทาอาการคันจากภาวะการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีได้ อย่างไรก็ดีในกรณีของผู้ป่วยแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการคันที่แน่ชัด เพื่อเป็นข้อมูลในเลือกพิจารณาใช้ยาได้อย่างเหมาะสม
การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยที่มีอาการคัน
- ตัดเล็บให้สั้น
- หลีกเสี่ยงการแกะเกาบริเวณผิวหนัง เนื่องจากจะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบหรือการติดเชื้อแบคที่เรีย และโรคอาจเป็นมากขึ้นได้
- ใช้ปู่อ่อนๆ ใช้โลชั่นทาผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง
- หลีกเสี่ยงการใส่เสื้อผ้าขนสัตว์ ผ้าเนื้อหยาบ หรือใยแก้ว ซึ่งอาจระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดอาการดันเพิ่มมากขึ้นได้ ควรใส่เชื้อผ้าที่โปร่งสบาย ไม่รัด
- ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด
- ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อควบคุมอาการคันและรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของอาการดัน