สทนช.เทียบสถานการณ์น้ำ 4 ปี "49-54-65-67" ชี้ชัดๆ ไทยจะซ้ำรอยเดิม หรือไม่
สำนักงานทรัพยากรแห่งชาติ หรือ สทนช. เผยแพร่ข้อมูลเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำปี 2549 ปี 2554 ปี2565 และปี 2567
เริ่มจากปริมาณพายุเข้าไทย
-ปี 2549 จำนวน 2 ลูก ได้แก่ ช้างสาน เดือนตุลาคม และทุเรียน เดือนธันวาคม และอิทธิพลจากร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ รวมถึงอิทธิพลพายุไต้ฝุ่นจากประเทศเพื่อนบ้าน
-ปี 2554 พายุ 5 ลูก ได้แก่ ไห่หมา เดือนมิถุนายน ,นกเตนเดือนกรกฏาคม ,ไห่ถางเดือนกันยายน ,เนสาด ต้นเดือนตุลาคม และนาลแก ปลายเดือนตุลาคม
-ปี 2565 พายุ 1 ลูก ได้แก่ โนรู เดือนกันยายน และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันและไต้ฝุ่นที่เข้ามาบริเวณประเทศเพื่อนบ้าน
-ปี 2567 คาดว่าพายุหมุนเขตร้อนจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย จำนวน 1-2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน
ปริมาณฝนสะสม
-ปี 2549 มีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศ 1,605 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 8% โดยปริมาณฝนปี 2549 อยู่ในปกติทั่วทุกภาค มีฝนตกแผ่กระจายตามภาคต่างๆกับมีฝนหนักถึงหนักในบางพื้นที่
-ปี2554 ฤดูฝนในประเทศไทยเริ่มต้นเร็วกว่าปกติ และมีฝนตกต่อเนื่อง โดยไม่มีภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่าค่าปกติ 24% และมีค่ามากที่สุดในคาบ 61 ปี นับจาก พ.ศ.2494
-ปี 2565 มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งประเทศ 1,876 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 27% หรือมากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 40 ปี ซึ่งหมายรวมถึงมากกว่าปี 2554 ที่ประเทศไทยเกิดอุทกภัยร้ายแรง แต่ปีนี้ไม่ได้เกิดอุทกภัยรุนแรงและยาวนานเหมือนปี 2554
-ปี 2567 ตั้งแต่มกราคมถึง 28 กรกฏาคม ปริมาณฝนทั้งประเทศ ต่ำกว่าเฉลี่ย 30 ปี ปริมาณฝนสะสม 647 มิลลิเมตร หรือต่ำกว่าปกติ 4%
ส่วน 4 เขื่อนหลักที่สามารถรองรับน้ำได้ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ข้อมูล ณ วันที่ 25 สิงหาคม ของแต่ละปี มีดังนี้
-ปี 2549 6,723 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยไม่รวมเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เนื่องจากสร้างแล้วเสร็จปี 2551
-ปี 2554 4,547 ล้านลูกบาศก์เมตร
-ปี 2565 11,839 ล้านลูกบาศก์เมตร
-ปี 2567 11,827 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปริมาณน้ำท่า ณ วันที่ 25 สิงหาคม ของแต่ละปี
-ปี 2549 สถานี C2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,035 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ค่าสูงสุดอยู่ที่ 5,450 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา C13 จังหวัดชัยนาท 494 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ค่าสูงสุด 4,020 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
-ปี 2554 สถานี C2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,268 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ค่าสูงสุด 4,869 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา C13 จังหวัดชัยนาท 1,798 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ค่าสูงสุด 3,726 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
-ปี 2565 สถานี C2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,590 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ค่าสูงสุด 3,099 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา C13 จังหวัดชัยนาท 1,464 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ค่าสูงสุด 3,169 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
-ปี 2567 สถานี C2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 944 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่าสูงสุด 2,860 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา C13 จังหวัดชัยนาท 649 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่าสูงสุด 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที