“สว.ปฏิมา” บอกเสียดายหาก “ก้าวไกล” ถูกยุบ ชมเป็นฝ่ายค้านที่มีคุณภาพ ค้านลดจำนวนกมธ.ลง ลั่น พร้อมทำงานหนัก
นายปฏิมา จีระแพทย์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เผย การประชุมวุฒิสภาวันนี้ นัดแรก น่าจะมีการประชุมหลายวาระ โดยวาระที่สำคัญคือการพิจารณาญัตติของ สว. จำนวน 4 ร่าง ดีใจไม่มีการยุบหรือยกเลิกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภาตามที่มีข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว แต่วันนี้ทั้ง 4 ร่างได้มีการคงไว้เช่นเดิม ถือเป็นความดีใจของตนว่า สว. มีความคิดเห็นตรงกันว่าเราจำเป็นต้องพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไปจนถึงวันตาย ส่วนเรื่องคณะกรรมาธิการส่วนตัวคิดว่าเราจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนด้วยคือจำนวนสมาชิกวุฒิสภาชุดนี้ที่มีจำนวนน้อยกว่าสมาชิกวุฒิสภาชุดที่แล้ว แต่การทำงานตนคิดว่าเมื่อทุกคนปวารณาตนมารับใช้ประชาชนแล้ว ตนจึงมีความเห็นแย้งกับการการลดจำนวน กมธ.ลง เพราะคิดว่าเราสามารถวางแผนการทำงานให้หนักเพิ่มขึ้นได้
“จึงอยากให้ประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาพิจารณากันอย่างเต็มที่ว่าเราจำเป็นต้องมี กมธ. ครั้งนี้ทั้งหมดกี่ชุด แต่ผมและสมาชิกวุฒิสภาอีกหลายคนพร้อมที่จะทำงานหนัก ส่วนที่มีการเสนอให้ควบรวม กมธ.บางคณะเข้าด้วยกันนั้น ก็ต้องพิจารณาให้หนักว่าเมื่อควบรวมแล้วจะเป็นภาระในการปฎิบัติหน้าที่หรือไม่” นายปฏิมา กล่าว
ทั้งนี้ สมาชิกวุฒิสภาคงจะมีการติดตามเรื่องของการยุบหรือไม่ยุบพรรคก้าวไกลที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนตัวอยากจะให้กระบวนการพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับพรรคก้าวไกล เพราะส่วนตัวก็เห็นการทำงานของพรรคก้าวไกลที่มีการทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านที่มีคุณภาพดีมากในการอภิปรายหรือในการเสนอญัตติต่างๆ ยอมรับเสียดาย หากไม่มีพรรคฝ่ายค้านที่มีคุณภาพเช่นนี้
ส่วนเรื่องที่ตนคิดว่าควรจะเปลี่ยนคือ สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 200 คน แม้จะน้อยกว่า 250 คนในชุดที่แล้ว แต่ทุกคนปารวณาเพื่อรับใช้พี่น้องประชาชน จึงอยากให้เปลี่ยนความคิดว่า จำนวน 200 คนจะต้องมีการลดจำนวนกรรมาธิการ ซึ่งตนเห็นขัดแย้ง เพราะคิดว่า เรามีการวางแผนในการทำงานได้ในการทำงานหนักเพิ่ม
ส่วนในชุดก่อนหน้าที่มีจำนวนสมาชิก 250 คน ก็ยังมีกรรมมาธิการ 22 คณะ จึงอยากให้สมาชิกวุฒิสภาทุกคนทั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา ได้พิจารณาอย่างเต็มที่ว่า เราจำเป็นจะต้องมีจำนวนกรรมาธิการในครั้งนี้กี่ชุด
พร้อมยืนยันว่า ตนและสมาชิกวุฒิสภาทุกคน พร้อมทำงานหนักเพื่อประชาชน พร้อมถามผู้ที่เสนอให้ยุบหรือควบรวมกรรมาธิการ จะเป็นภาระในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่