นักลงทุนลุ้นจัดตั้งรัฐบาลใหม่ทำงานเดือน ส.ค. นี้ หากช้ากว่านั้นกระทบความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยหายเสียหายหนัก
ตอนนี้เศรษฐกิจไทย ต่างรอดูว่ารัฐบาลใหม่จะจัดได้และเริ่มทำงานวันไหน
โดยแวดวงเศรษฐกิจทั้งหมดต้องการให้มีการตั้งรัฐบาลใหม่ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจเดินหน้าไม่ตกอยู่ในสูญญากาศของรัฐบาลรักษาการ ที่มีอำนาจการบริหารไม่ได้เต็มที่
ตั้งแต่มีการเลือกจตั้งมาปลายเดือน พ.ค.จึงจะมีการโหวตนายกรอบแรกวันที่ 13 ก.ค. นี้ ก็ยังถือว่าอยู่ในไทม์ไลน์ที่แวดวงเศรษฐกิจรับได้ ซึ่งส่วนใหญ่ใจตรงกันขีดเส้นไว้ในใจว่า ประเทศควรได้รัฐบาลใหม่และเริ่มทำงานได้ไม่เกินเดือน ส.ค.นี้
ซึ่งหากในวันที่ 13 ก.ค. นี้ โหวตนายกรอบแรกไม่ผ่าน ก็คาดว่าจะมีการโหวตนายกกันใหม่ในวันที่ 19 และ 20 ก.ค. นี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ยังประเมินได้ยากว่ารัฐบาลใหม่จะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจอย่างไร เพราะมีปัจจัยผันแปรมากหลายตัว ทั้งตัวบุคคลที่จะมาเป็นนายก พรรคที่จะร่วมเป็นรัฐบาล และการโหวตจะสำเร็จได้หรือไม่ ดังนั้นต้องดูการโหวตเป็นรอบๆ ไปว่า หน้าตานายกและรัฐบาลใหม่ที่แท้จริงจะเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยืนยันว่า การจัดตั้งรัฐบาลได้เร็วเป็นผลดีกว่าการตั้งล่าช้าออกอย่างแน่นอน ซึ่งเหมือนกับการสภาอุตกรรมการแห่งประเทศไทย มองว่า ยิ่งการตั้งรัฐบาลใหม่ถูกลากล่าช้าออกไปนานเท่าไร ยิ่งส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทยรุนแรงมากขึ้น
“หากตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าออกไปเลยเดือน ส.ค. จะเริ่มมีผลกระทบเห็นชัดขึ้น ไม่ใช่แค่ไม่มีรัฐบาลแล้วเบิกจ่ายไม่ได้เท่านั้น แต่กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ กระทบการลงทุนภาคเอกชน ที่เป็นเรื่องใหญ่และกระทบเศรษฐกิจมากกว่า” ศูนย์วิจัย กสิกรไทยประเมินผลกระทบที่จะเกืดขึ้น
ปัจจุบันศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2566 จะขยายตัวได้ 3.7% จากแรงขับเคลื่อนของการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี แต่การประมินดังกล่าวยังไม่ได้ร่วมปัจจับลบทางการเมือง หากการตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าไปมากเกินเกินไตรมาส 3 ไปจนถึงไตรมาส 4 จะกระทบกับความเชื่อมั่นมากขึ้นไปเรื่อยจนกระทบทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 2-2.5% เหมือนกับที่สภาอุตสหกรรมแห่งประเทศไทย ประเมินไว้ด้วยความกังวลใจก็มีความเป็นไปได้
สำหรับรัฐบาลใหม่ จะมีนโยบายที่ส่งผลดีผลเสียต่อเศรษฐกิตอย่างไร เป็นเรื่องรองลงมาที่ได้นายกตัวจริงและรัฐบาลใหม่ที่เริ่มทำงานได้แล้ว ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยยืนยันว่า “สำกว่านโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ คือความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ว่ารัฐบาลใหม่มีเสถียรภาพขนาดไหน”