ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี หรือกุนซือนายกฯเศรษฐานั้น มีการแต่งตั้งออกมาหลาบรอบแล้ว ซึ่งมีทั้งเป็นที่ปรึกษาแบบมีเงินเดือน และไม่มีเงินเดือน ส่วนจะเป็นใครกันบ้างนั้น มีรายละเอียดดังนี้
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)แต่ละนัดในครั้งที่ผ่านมา มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เลขาและรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี และประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
แต่ที่น่าสนใจคือตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี หรือกุนซือนายกฯเศรษฐานั้น ได้มีการแต่งตั้งออกมาหลาบรอบแล้ว ซึ่งมีทั้งเป็นที่ปรึกษาแบบมีเงินเดือน และไม่มีเงินเดือน ซึ่งจะเป็นใครกันบ้างนั้นมีรายละเอียดดังนี้
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นนายกรัฐมนตรีจะตั้งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีได้ไม่เกิน 5 คน ที่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอัตราเงินเดือนที่จะได้รับต่อคนนั้นเบ็ดเสร็จ 72,660 บาท แยกเป็น เงินเดือน 57,660 บาท เงินประจำตำแหน่งอีก 15,000 บาท
ทั้งนี้ที่ปรึกษาที่มีเงินเดือนนั้น นายกฯเศรษฐา ตั้งครบไปแล้ว 5 คน ประกอบด้วย
1.นายชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย และเพิ่งลาออกจากส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย 2.พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก 3.นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรมว.พลังงาน พรรคเพื่อไทย 4.นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีตหัวหน้่าพรรคเพื่อชาติ และเพิ่งลาออกจากส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และ 5 .นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีตส.ส.มหาสารคาม
ในขณะที่ตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯที่ไม่รับเงินเดือนนั้นนายกฯสามารถแต่งตั้งได้โดยไม่จำกัด ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมแต่ละครั้ง ซึ่งในขณะนี้นายกฯเศรษฐา ตั้งไปแล้ว โดยใช้คำว่า ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี 13 คน ประกอบด้วย
1.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาฯ โดย นายกิตติรัตน์ เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคด้านเศรษฐกิจ ของพรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี รมว.พาณิชย์ และรมว.คลัง ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2.นายเทวัญ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า น้องชาย นายสุวัจน์ ซึ่งอยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล
3.นายพิชัย ชุณหวชิร ประธานกรรมการ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เป็น นายกสมาคมกีฬามวยสากลแห่งประเทศไทย, รองประธานกรรมการ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, ประธานสมาพันธ์มวยสากลแห่งทวีปเอเชีย (ASBC)
4.นายศุภนิจ จัยวัฒน์ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ บจม.แสนสิริ, ประธานกรรมการบริษัท อาโนส์ กรุ๊ป 2020 จำกัด และอดีตประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ บมจ.แสนสิริ ปัจจุบันทำธุรกิจ โรงแรมสีลม ซีริน โรงแรมโพธิ ศิรีนทร์ จ.เชียงใหม่ และโรงแรมบ้านบาหยัน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นเพื่อนสนิทกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี
5.นายพิมล ศรีวิกรม์ เป็นกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์แห่งชาติ, นายกสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
6.นายพิชิต ชื่นบาน ทนายความครอบครัวชินวัตร ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย มีเรื่องอื้อฉาวจากคดีถุงขนม 2 ล้านบาท และ ล่าสุดเกือบได้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ใน ครม.เศรษฐา 1 แต่ ถูกท้วงติงเรื่องคุณสมบัติ ทำให้ขอถอนตัวในที่สุด
7.นายชลธิศ สุรัสวดี อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ โดยเมื่อ วันที่ 3 ต.ค.2560 คณะรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.
8.นายชัย วัชรงค์ เป็นนายกสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
9.นายสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) กรรมการบริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องหนังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วย
10.นายธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และ ยังมีความเชี่ยวชาญในด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม รวมทั้งเรื่องราวประวัติศาสตร์ทางราชสำนัก และพระราชพิธีเป็นอย่างมาก จนได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องราวประวัติศาสตร์ทางราชสำนัก และพระราชพิธี เป็นจำนวนมาก
11.นายไพฑูร ชุติมากรกุล นายกสมาคมผู้สื่อข่าวช่างภาพกีฬา แห่งประเทศไทย
12.นายอาทิตย์ สุริยาภิวัฒน์ อดีตกรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกในเครือแสนสิริ
13.พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เป็นบุตรชายคนกลางของ พล.ต.อ. เภา สารสิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีต อธิบดีกรมตำรวจ
นอกจากในส่วนตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯแล้ว ยังมีที่ปรึกษาของรองนายกฯตลอดถึงรัฐมนตรี นั้นสามารถตั้งที่ปรึกษาที่มีเงินเดือนและค่าตอบแทนได้ไม่เกิน1 คน ส่วนที่ไม่มีเงินเดือนแล้วแต่จะตั้งไม่จำนวนจำกัด แต่ต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายขึ้น กรณีที่ปรึกษา หรือคณะทำงานไปเกี่ยวพัน เกี่ยวข้อง หากเมีการทุจริตเกิดขึ้น
สำหรับจำนวนตำแหน่ง และค่าตอบแทนในตำแหน่งทางการเมืองต่างๆ ตามตารางดังนี้