ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศผลรางวัล เอสเอ็มอีไทย “Bai Po Business Awards by Sasin” ครั้งที่ 18 ยกย่อง 6 ผู้ประกอบการไทยที่ประสบความสำเร็จในมิติที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ
ช่วงเปลี่ยนผ่านหลังวิกฤติโควิด -19 ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา เมกะเทรนด์โลกเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยปรับธุรกิจสู่การเป็น Digital Organization โดยสิ่งสำคัญที่สุดของการเป็นองค์กรดิจิทัลนั้นไม่ใช่เพียงแค่การซื้อเทคโนโลยีเข้ามาทำธุรกิจ
แต่เทคโนโลยีที่นำมาใช้ต้องสร้างความได้เปรียบและสร้างความแตกต่างทางธุรกิจได้อย่างชัดเจน ใครที่ปรับตัวได้ไวย่อมได้เปรียบความสามารถในการปรับตัวของเอสเอ็มอีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะนำพาให้ธุรกิจอยู่รอดอย่างยั่งยืน
สำหรับปี 2566 เทรนด์ที่กำลังมาแรงและทั่วโลกกำลังให้ความสนใจคือด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน รวมถึงคาร์บอนเครดิต
ดังนั้นเอสเอ็มอีไทยต้องเดินหน้าธุรกิจด้วยแนวคิดการสร้างความยั่งยืนโดยการนำแนวคิด ESG มาเป็นกรอบการพัฒนาขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งจะสามารถช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้
กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการที่มากกว่าเรื่องการเงิน ทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย การส่งเสริมความรู้ที่เป็นประโยชน์ผ่านโครงการอบรม สัมมนาต่าง ๆ
รวมถึงการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการ ถ้ากลุ่มเอสเอ็มอีเข้มแข็งประเทศก็อยู่รอด เพราะเอสเอ็มอีไทยเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
สำหรับรางวัล Bai Po Business Awards by Sasin นี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยให้สร้างความโดดเด่นและแตกต่างของสินค้าหรือบริการและพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจให้อยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์
โดยรางวัล Bai Po Business Awards by Sasin ในครั้งที่ 18 นี้ มีธุรกิจที่ได้รับรางวัล จำนวน 6 ราย ดังนี้
1. บริษัท บีซีแอล 2002 จำกัด ได้รับรางวัลในมิติ องค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Business Practice) องค์กรที่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Enterprise) และการสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
2. บริษัท พี.วี.ที. แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้รับรางวัลในมิติ องค์กรที่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Enterprise) การบริหารจัดการด้านสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer-Focused Product and Service) และการสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
3. บริษัท ฟู้ด อีควิปเม้นท์ จำกัด ได้รับรางวัลในมิติ การบริหารจัดการด้านสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer-Focused Product and Service) การสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และองค์กรที่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Enterprise)
4. บริษัท ศิริบัญชา จำกัด ได้รับรางวัลในมิติ การบริหารจัดการด้านสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer-Focused Product and Service) การบริหารจัดการด้านการสร้างตราสินค้าและการตลาด (Branding and Marketing) และการสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
5. บริษัท เอกราชอุตสาหกรรมกระดาษ จำกัด ได้รับรางวัลในมิติ การบริหารจัดการด้านสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer-Focused Product and Service) และการสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
6.บริษัท เอ็มมีเน้นซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้รับรางวัลในมิติ การบริหารจัดการด้านสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer-Focused Product and Service) การบริหารจัดการด้านบุคลากร (People Excellence) และการสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)