ส่องเศรษฐกิจอนาคตโลกยุคใหม่ เวที ‘การเงินเพื่อความหลากหลายชีวภาพ’ AFD+สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ชวนเปิดวาระแห่งโลก ร่วมกัน

ส่องเศรษฐกิจอนาคตโลกยุคใหม่ เวที ‘การเงินเพื่อความหลากหลายชีวภาพ’ AFD+สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ชวนเปิดวาระแห่งโลก ร่วมกัน
‘การเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ’ วาระสำคัญที่จะเข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจในทุกประเทศ ให้ไปสู่ความยั่งยืนจากการบริหารใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่ใช้ร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในอนาคต

สุวิดา กิ่งเมืองเก่า เจ้าหน้าที่การลงทุนอาวุโส สำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Agence Française de Développement - AFD) กล่าวว่า    เอเอฟดี ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย,บลูเรเนสซองส์ และGlobal compact Network Thailand เป็นผู้ร่วมจัดงาน  พร้อมด้วยพันธมิตรองค์กร ภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน เตรียมจัดงาน ‘เวทีการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Finance for Biodiversity) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 3 ซี อาเซียน พระราม 4 (C ASEAN RAMA IV) อาคารไทยเบฟควอเตอร์ ถนนรัชดาภิเษก คลองเตย กรุงเทพฯ

โดยการจัดงานฯ ครั้งนี้ เพื่อจุดประกายพร้อมเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหันมาให้ความสนใจต่อคำนึงถึงส่งเสริมการอนุรักษ์ระบบนิเวศวิทยา(Ecosystem) จากกิจกรรมธุรกิจ ซึ่งกำลังมีบทบาทและอาจส่งผลกระทบสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต  และประเทศไทยเองนำโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็กำลังเตรียมการจัดทำมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม(Taxonomy) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ไว้สำหรับอนาคตอีกด้วย 

อีกทั้งยังสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยที่ผสมผสานการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) หรือ บีซีจี (BCG) ที่ต่อยอดสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจเอสเคิร์ฟ ในปัจจุบัน ด้วยเช่นกัน

 “การเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย ที่จากนี้ไปผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนตั้งแต่ภาคกำกับดูแลนโยบาย ภาคเอกชน สถาบันการเงินรวมไปจนถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปลายน้ำ จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางการดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างเป็นวาระสำคัญทางเศรษฐกิจยั่งยืนของไทยต่อไป” สุวิดา กล่าว

 นอกจากนี้ การเตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ ในบทบาทภาคเอกชน และการเงิน สามารถทำได้โดยการเริ่มประเมินและเปิดเผยความเสี่ยงของภาคธุรกิจนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นมาตรการจูงใจต่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ส่งผลบวกต่อธรรมชาติ(Nature Positive Economy)ในอนาคต และยังแสดงถึงความตั้งใจของภาคีในประเทศไทย ต่อการสนับสนุนการลงทุนที่เอื้อต่อความหลากหลายทางชีวภาพอันสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและกรอบการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก  ที่จะสะท้อนผ่านเวทีระดับสากล ในครั้งนี้

ด้าน ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เลขาธิการองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า ‘เศรษฐกิจความหลากหลายทางชีวภาพ’ ได้ถูกบรรจุเป็นวาระทางเศรษฐกิจแห่งอนาคตระดับโลก ด้วยมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอุตสาหกรรมธุรกิจที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ซึ่งประเทศไทยจะเห็นได้ชัดในภาคอุตสาหกกรรมการเกษตร หรือ การท่องเที่ยว ด้วยเป็นกลุ่มธุรกิจ (Sector) ที่เกี่ยวพันกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ผู้ผลิตในชุมชนท้องถิ่น คนกลาง ไปจนถึงตลาดรับซื้อขาย ที่ล้วนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและนำไปประเมินได้ว่าในแต่ละธุรกิจ ทั้งขนาดเล็ก กลาง ไปจนถึงรายใหญ่ มีขั้นตอน กระบวนการทำงานลักษณะใดที่มีความเสี่ยงต่อระบบนิเวศทักโซโนมี เพื่อให้ภาคการเงินนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้ต่อไปก่อนให้เครื่องมือทางการเงินความหลากหลายชีวภาพ (Finance for Biodiversity) ด้านต่าง ๆ ให้กับภาคธุรกิจได้ต่อไป

ทั้งนี้ จากข้อมูล ‘New Nature Economy’ ในเดือน มกราคม 2567 ระบุว่า มูลค่าเศรษฐกิจโลกขึ้นอยู่กับธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ ราว 44 ล้านดออลาร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก โดยมี 3 ธุรกิจลำดับแรก ที่พึ่งพิงการใช้ธรรมชาติ มากที่สุด คือ อุตสาหกรรมก่อสร้าง การเกษตร และอาหารเครื่องดื่ม ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่ดี คาดส่งผลกระทบความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจได้ในระดับโลก

ขณะที่แนวทางการดำเนินงานของภาคธุรกิจเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ควรมุ่งด้านการลดความเสี่ยงของภาคธุรกิจ การคำนึงถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจะส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากร ซึ่งการมีแรงกดดันจากกฎระเบียบของรัฐบาลเพิ่มขึ้นและอาจทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มเติมในอนาคตได้ ซึ่งหากไม่สามารถจัดการกับผลกระทบด้านลบจากการดำเนินงานอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดี รวมถึงการเพิ่มโอกาสที่จะได้รับจากการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อความหลากหลายชีวภาพ ที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันธุรกิจสู่ตลาดใหม่ ในอนาคต

ขณะที่ปัจจุบัน ไทยอยู่ระหว่างจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทาวงชีวภาพ ฉบับที่5 ซึ่งมีแผนจะประกาศมใช้ในปี2567 ซึ่งจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Global Biodiversity Framework) ที่ได้กำหนดเป้าหมายด้านการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ ไว้อย่างชัดเจน

โดยแนวทางดังกล่าว ยังเพื่อร่วมสนับสนุนธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่การดำเนินธุรกิจที่ลดผลกระทบและรับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ควบคู่ไปพร้อมกันด้วย

TAGS: #AFD #สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย #taxonomy #ทักโซโนมี #ศรษฐกิจความหลากหลายทางชีวภาพ #FinanceforBiodiversity