ลดเสี่ยงลดสูญเสีย  

ลดเสี่ยงลดสูญเสีย  
คอลัมน์ 'Growth and Sustainability' โดย 'วิฑูรย์  สิมะโชคดี'

ทุกวันนี้  เรื่องของ “อุบัติเหตุอันตราย” และ “ความปลอดภัยในการทำงาน” มีความสำคัญมากขึ้นทุกที  เพราะเกี่ยวข้องกับ “ขวัญและกำลังใจของพนักงาน” ที่จะเพิ่มผลผลิตให้องค์กรด้วย

 

แต่ผู้คนส่วนใหญ่ยังสับสนระหว่างคำว่า “อันตราย” และ “ความเสี่ยง” เพราะเรามักใช้พูดแทนกันเป็นประจำ

หมายถึง สิ่งใดๆ ซึ่งมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน อุปกรณ์ หรือ สิ่งแวดล้อม แล“อันตราย” (Hazard) ะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือสุขภาพอนามัยของคนงาน  โดยศักยภาพที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายนี้มีอยู่หรือแฝงอยู่ในสิ่งของ สสาร วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร หรือวิธีการปฏิบัติงานของคนงานที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม (ไม่ได้มาตรฐาน)

ดังนั้น “อันตราย” (Hazard) จึงเป็นสิ่งใดๆ ก็ได้  ซึ่งอาจเป็นวัสดุสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ สารเคมีอันตราย  เสียงดัง ฝุ่นละออง ความร้อนหนาว แสง เสียง เชื้อโรค สารเคมี สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต กระบวนการทำงาน การจัดองค์กร วิธีการ หรือการปฏิบัติงาน รวมถึงการขนส่งและทัศนคติที่ไม่ดีของคนงาน เป็นต้น ที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดความเสียหาย การบาดเจ็บ พิการ หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ทรัพย์สิน และสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโรงงาน

“ความเสี่ยง” (Risk) หมายถึง โอกาส หรือความเป็นไปได้ของอันตรายที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย พิการ หรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน อุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อม และหมายรวมถึงความร้ายแรงของอันตรายต่างๆ ด้วย

ดังนั้น “ความเสี่ยง”  จึงเป็นผลรวมของความเป็นไปได้ของการเกิดอันตรายที่ก่อให้เกิดการาบาดเจ็บ เจ็บป่วย พิการ หรือทพรัพย์สินเสียหาย และรวมถึงควมร้ายแรงของอันตรายที่เกิดขึ้นด้วย

ในขณะที่อันตราย เป็นสิ่งที่มีอยู่หรือแฝงอยู่ในสิ่งของ หรือกระบวนการผลิต  อันตรายจะมากน้อยเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับมาตรการควบคุมดูแลหรือการป้องกันที่มีอยู่ และมาตรการของการลดความเสี่ยงที่ใส่เพิ่มเติมเข้าไป ตัวอย่างเช่น เครื่องปั้มโลหะจะมีอันตรายสูงมากถ้าไม่มีฝาครอบป้องกันอันตรายจากส่วนที่เคลื่อนไหวได้ของเครื่องปั้มโลหะ  แต่ถ้ามีฝาครอบป้องกันจุดเสี่ยงที่จุดอันตรายนั้นแล้ว (จุดหมุน จุดตัด จุดหนีบ)  ก็ต้องถือว่าความเสี่ยงอันตรายลดลง เช่นเดียวกับสารเคมีที่มีความเป็นพิษอยู่ในตัว  เมื่อนำมาใช้งานอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของคนงานในโรงงานได้ หากมีมาตรการต่างๆ ควบคุมหรือป้องกันอย่างเหมาะสม ความเสี่ยงของการเกิดอันตครายนั้นก็จะลดลง เป็นต้น

พูดง่ายๆ ว่า ถ้าอันตรายต่างๆ ลดลง (ด้วยมาตรการควบคุมดูแลและป้องกันต่างๆ) โอกาสที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บพิการหรือทรัพย์สินเสียหายก็จะลดลง  แสดงว่าความเสี่ยงก็ลดลง

ทั้งหมดทั้งปวงนี้  การประเมินความเสี่ยงในทางปฏิบัติ  จึงหมายถึงการสำรวจหรือค้นหาจุดอันตรายต่างๆ ที่มี “โอกาส” ที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ และทำการประเมิน “ความรุนแรง” (ความร้ายแรง) ที่อาจจะเกิดขึ้นจากอันตรายนั้นๆ อันเป็นการป้องกันอุบัติเหตุอันตราย เพื่อลดความสูญเสียได้ด้วย ครับผม !

 

 

TAGS: #Sustainability #ลดเสี่ยง #ลดสูญเเสีย