เมืองเป็นมิตร Kids ปลอดภัย ญี่ปุ่นพัฒนาอย่างไรให้เยาวชนไร้อุบัติเหตุ

เมืองเป็นมิตร Kids ปลอดภัย ญี่ปุ่นพัฒนาอย่างไรให้เยาวชนไร้อุบัติเหตุ
เปิดโมเดลแดนอาทิตย์อุทัย ญี่ปุ่นพัฒนาเมืองอย่างไรให้ปลอดภัยต่อเยาวชน

ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติของไทยซึ่งตรงกับทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม สิ่งที่นอกเหนือจากกิจกรรมที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในหลายส่วนจัดกิจกรรมให้แก่เด็ก ๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราในฐานะผู้ใหญ่ควรให้ความต่อเด็ก ๆ เยาวชนคือเรื่องความปลอดภัยต่อเด็กในที่สาธารณะ 

เมื่อพูดถึงเรื่องความปลอดภัยในที่สาธาณะสำหรับเด็ก หลายคนคงนึกถึงภาพของเด็กญี่ปุ่นตัวเล็ก ๆ ที่เดินทางไปโรงเรียนได้เพียงลำพัง โดยที่พ่อแม่แทบไม่ต้องเป็นกังวล เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วมีรายการทีวีแนวเรียลลิตี้โชว์จากญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Old Enough! ซึ่งรายการนี้เป็นรายการเก่าแก่ที่ฉายในญี่ปุ่นมากกว่า 30 ปีแล้ว 

เนื้อหาของรายการจะนำผู้ชมแอบติดตามและเอาใจช่วยน้อง ๆ หนู ๆ วัย 2-3 ขวบที่ต้องออกไปซื้อของทำธุระเล็กๆน้อยๆให้พ่อแม่ ตลอดจนแอบติดตามว่าเด็ก ๆ จะสามารถเดินทางไปโรงเรียนได้เพียงลำพังหรือไม่ ซึ่งในบางครั้งระยะทางจากบ้านถึงจุดหมายปลายทางอาจต้องเดินเท้าเป็นกิโลฯ ผ่านสถานที่สำคัญ ข้ามสี่แยกถนน ขึ้นบันไดสูงชัน ทำให้ผู้ชมได้เห็นความน่ารักและความเฉลียวฉลาดของเด็ก ๆ ที่มีความมุ่งมั่นเดินทางเพียงลำพัง แต่นอกเหนือจากความน่ารักน่าเอ็นดู เราจะเห็นว่ารูปแบบของเมืองในญี่ปุ่นถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับความปลอดภัยโดยรวมต่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างน่าสนใจ

ญี่ปุ่นถือเป็นชาติที่มีอัตราการเกิดอาชญากรรมต่ำติดอันดับโลกอยู่แล้ว จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่ผู้ปกครองไว้ใจปล่อยทำให้เด็ก ๆ สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ภาพของเด็กน้อยตัวเล็กที่รอข้ามทางม้าลาย กระทั่งมีรถยนต์จอดหยุดให้ก่อนจะเดินข้าม พร้อมกับโค้งเพื่อขอบคุณ สะท้อนอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า 'ความใสใจไว้ในเมือง' ในการออกแบบพัฒนาเมืองให้สอดคล้องและเป็นมิตรต่อเด็ก

ญี่ปุ่น เมือง ถนน ความปลอดภัย เยาวชน

สำหรับพ่อแม่ชาวญี่ปุ่นจะแนวไอเดียเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกอย่างน่าสนใจที่เรียกว่า ฮัตจิเมเตะ โนะ โอสึไก (Hajimete no otsukai) ที่แปลตรงตัว “ธุระแรก” สะท้อนถึงแนวคิดแบบโบราณของญี่ปุ่นที่ผู้ใหญ่มักจะเลือกให้เด็ก ๆ ทำธุระเล็ก ๆ น้อย ๆ ครั้งแรกเพื่อฝึกความรับผิดชอบ

ฮิโรโนริ คาโตะ ศาสตราจารย์ด้านการวางแผนการขนส่งแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว กล่าวว่า "ในญี่ปุ่น เด็กๆ หลายคนไปโรงเรียนใกล้บ้านด้วยการเดินเท้าและด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ขณะที่ถนนและโครงข่ายถนนได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เด็กๆ ได้เดินอย่างปลอดภัย ศ.คาโตะ กล่าวว่า  ท่ามกลางปัจจัยต่างๆ คนขับรถในญี่ปุ่นถูกสอนให้ความสำคัญต่อคนเดินถนนเป็นอันดับแรก จำกัดความเร็วต่ำ ละแวกใกล้เคียงมีบล็อกเล็ก ๆ ที่มีทางแยกมากมาย ซึ่งหมายความว่าเด็ก ๆ ต้องข้ามถนนบ่อย ๆ แต่ก็ยังทำให้ผู้ขับขี่ขับรถช้าลง แม้ว่าถนนจะโล่งก็ตามที

หากคุณมีโอกาสได้ลองเดินทางไปหลายเมืองในญี่ปุ่น จะเห็นว่าแทบทุกแยกจะมีทางม้าล้ายและสัญญาณไฟจราจรที่ชัดเจน ถนนเก็แตกต่างกันเช่นกัน ในแถบชนบทถนนเล็ก ๆ หลายสายไม่มีทางเท้า แต่ทั้งคนเดินถนน คนขี่จักรยานยนต์ และคนขับรถ ต่างสามารถใช้ถนนได้ร่วมกันอย่างปลอดภัย รีเบกก้า คลีเมนตส์ นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับระบบการจราจรในญี่ปุ่นระบุว่า กระบวนการหลายขั้นตอนทั้งแต่การเป็นเจ้าของรถ จนถึงคนเดินทางเท้าผู้ใช้ถนน สะท้อนว่าญี่ปุ่น ให้ "สิทธิในเมือง" ไม่เพียงแค่แก่เด็ก ๆ แต่ยังรวมถึงทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในบางเมืองของญี่ปุ่น โรงเรียนยังร่วมกับภาครัฐในการจัดทำเส้นทางปลอดภัยสำหรับให้เด็ก ๆ เดินทางไปโรงเรียน โดยจะมีป้ายสัญลักษณ์และป้ายบอกเป็นระยะ เพื่อให้ผู้ใหญ่ที่ใช้รถยนต์ ทราบถึงทางแยกทางข้ามที่เด็ก ๆ จะข้าม หรือเตือนให้เด็กหยุดรอก่อนข้ามถนน ในบางครั้งยังรวมการปิดถนนบริเวณโรงเรียนในช่วงเวลาที่เด็ก ๆ ซึ่งช่วงงเวลาที่ใช้ปิดถนนจะเขียนระบุอย่างชัดเจนบนถนน 

นอกเหนือจากความปลอดภัยบนท้องถนน อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กคือ สร้างห้องเรียนนอกห้องเรียน แม้ทราบกันดีว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดทางพื้นที่ แต่หลายเมืองหลายหมู่บ้านไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ต่างให้ความสำคัญต่อการสร้างพื้นที่เล่นและเรียนรู้ของเด็ก ๆ เราจะสังเกตเห็นว่า ญี่ปุ่นมีสนามเด็กเล่นกระจัดกระจายเป็นจำนวนมาก สนามเด็กเล่นเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนและดูแลทั้งจากรัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งสนามเด็กเล่นไม่เพียงจะมีแค่เครื่องเล่นเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ให้เด็กได้ปีนป่ายและเปรอะเปื้อนได้อย่างเต็มที่ การออกแบบสนามเด็กเล่นในญี่ปุ่นจึงไม่ได้เน้นเพื่อให้เมืองดูสวยงาม แต่เน้นให้ความสำคัญกับฟังก์ชั่นการใช้งานเป็นอันดับแรก

อี.โอเวน เวย์กูด (E. Owen Waygood) ศาสตราจารย์จากโพลีเทคนิคมอนทรีออล ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับผังเมืองญี่ปุ่น มองว่า รูปแบบผังเมืองเป็นสิ่งสำคัญต่อรูปแบบชีวิตของคนในแดนอาทิตย์อุทัย ในทุกเมืองของญี่ปุ่นจะเป็นการใช้งานพื้นที่แบบผสมผสานทั้งที่อยู่อาศัย ร้านค้าของชำ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งทำให้พ่อแม่สามารถ'ฮัตจิเมเตะ โนะ โอสึไก' ต่อเด็ก ๆ ได้อย่างไม่ต้องกังวล ทั้งยังเป็นการฝึกทักษะเพื่อเรียนรู้และฝึกทักษะได้ด้วยตัวเอง 

เหล่านี้จึงไม่แปลกที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเพียงไม่กี่ชาติบนโลกที่ได้รับการเลือกจาก UNICEF เป็นชาติต้นแบบการพัฒนาเมืองเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก หรือ Child-Friendly Cities and Communities Initiative (CFCI) โดยมี 5 เมืองในญี่ปุ่นที่ได้รับรางวัลดังกล่าวคือ เมืองนารา, เมืองนิเซโกะ, เมืองมาชิดะ, เมืองโทมิยะ และเมืองอะบีระ ฮอกไกโด


 

TAGS: #ญี่ปุ่น #เมืองน่าอยู่ #ท่องเที่ยว #Japan #วันเด็ก #เยาวชน #ความปลอดภัย #ท้องถนน #อุบัติเหตุ