"แจกเงินหรือลดภาษีดี?" ขณะที่เศรษฐาให้เงินหมื่น ประเทศอื่นเขากระตุ้นเศรษฐกิจยังไง?

ประเทศไทยไม่เหมือนใคร? แจกเงินกระตุ้นลูกเดียว ส่วนประเทศอื่นเขาใช้หลากวิธีช่วยปากท้อง

การเดินหน้าแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาลไทย ได้รับความสนใจจากสื่อเพียงเล็กน้อย มีสำนักข่าวไม่กี่แห่งที่รายงานเรื่องนี้ และยังไม่มีความเห็นอะไรต่อนโยบายดังกล่าว อาจเป็นเพราะการประกาศนโยบายแจกเงินมาในช่วงปลายถึงสุดสัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดทุนหยุดทำการพอดี แต่คาดว่าหลังจากเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่แล้ว เมื่อตลาดทุนและค่าเงินบาทมีปฏิกิริยาอย่างไรกับการแจกเงินหมื่นของรัฐบาลเศรษฐกิจ สื่อต่างประเทศก็น่าจะรายงานประเด็นนี้มากขึ้น

ในขณะที่รัฐบาลเศรษฐาเลือกที่จะแลกเงินดิจิทัลวอลเล็ตโดยให้เหตุผลว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่มีเสียงโต้แย้งว่าสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยยังไม่ถึงกับต้องกระตุ้นด้วยการอัดฉีดเงินขนาดนั้น และเมื่อสำรวจดูประเทศอื่นๆ ก็ยังไม่มีประเทศไหนที่เลือกจะแจกเงิน "ก้อนใหญ่" แบบถ้วนหน้าเหมือนรัฐบาลเศรษฐาเลย ดังนั้น เราจะมาลองดูกันว่า ณ เวลาที่เศรษฐกิจโลกค่อนข้างเหงียบเหงา แต่ไม่ถึงกับซบเซาหรือทรุดหนัก แต่ละประเทศเลือกที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีไหนบ้าง

ญี่ปุ่นเน้นลดภาษี แจกนิดหน่อย
Japan Times รานงานว่า เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ได้อนุมัติร่างงบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 13.1 ล้านล้านเยน เพื่อใช้สนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาที่สูงขึ้นหรือปัญหาเงินเฟ้อ

นโยบายหลักของแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การปรับลดภาษีรายได้และภาษีที่อยู่อาศัยมูลค่ารวม 40,000 เยนต่อคน และแจก 70,000 เยนสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีแล้ว ดังนั้น การกระตุ้นของญี่ปุ่นจึงมีทั้งลดและแจก ขึ้นกับสถานะทางการคลังในครัวเรือนนั้นๆ 

นอกจากนี้ ยังจัดงบประมาณไว้อีก  1.3 ล้านล้านเยนเพื่อยกระดับรายได้ประชาชนสูงขึ้น เช่น การสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มเงินเดือน และสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ต้องการขึ้นค่าจ้าง 

ญี่ปุ่นหนี้บาน แต่เครดิตดีกว่าไทย
เป้าหมายหลักๆ ของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็คือการลดหย่อนภาษีนั่นเอง และยังจัดเงินไว้ช่วยเพิ่มทักษะให้แรงงานและเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วย มันจึงไม่ใช่แค่แจกๆ แล้วจบๆ ไป แต่เป็นลดและแจกในขั้นตอนแรกที่เหมือนการ "จับปลาให้" จากนั้นจึงค่อย "ให้เบ็ดจับปลานเอง" กับประชาชนกับภาคธุรกิจเพื่อให้เลี้ยงตัวเองได้ 

งบประมาณที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะนำมาใช้ มาจากการออกพันธบัตรใหม่ประมาณ 8.9 ล้านล้านเยนเป็นส่วนใหญ่ เมื่อรวมกับมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลที่ออกในปีงบประมาณนี้จนถึงเดือนมีนาคมมีมูลค่ารวม 44.5 ล้านล้านเยน หรือ 35% ของรายได้รัฐบาลทั้งหมด เท่ากับว่าหนี้สาธารณะของญี่ปุ่งพุ่งพรวด

ในแง่นี้ ไทยอาจตกที่นั่งเดียวกับญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงที่สุดของโลกอยู่แล้วคือ 214% จากตัวเลขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แต่สิ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นไม่ล้มละลาย ก็เพราะความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง 

เยอรมนีก้อนใหญ่แต่เลือกที่จะลดภาษี
DW รายงานว่า ปลายเดือนสิงหาคมปีนี้ ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวจากภาวะถดถอยที่ลาดยาวตั้งแต่ในฤดูหนาว จนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IME) คาดการณ์ว่าเยอรมนีจะเป็นประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่จะหดตัวในปี 2566 

เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้คึกคัก  รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเยอรมัน โอลาฟ ชอลซ์ จึงประกาศแผนบรรเทาภาษีมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านยูโรต่อปี สำหรับบริษัทต่างๆ โดยคาดการณ์ว่าจะมีการลดภาษีนิติบุคคลเป็นเวลา 4 ปีเป็นมูลค่ารวม 32,000 ล้านยูโร

แต่เป้าหมายไม่ใช่ "นายทุนใหญ่" แต่รัฐบาลเยอรมนีระบุในถ้อยแถลงว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยแบ่งเบาภาระของ "วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม" ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการบริโภคของประชาชนในประเทศ

เยอรมนีกระตุ้นโดยมีแผนใหญ่
เรายังอยู่ที่เยอรมนีกันต่อ เพราะเป็นกรณีที่น่าสนใจ ในขณะที่บางประเทศมีแค่เป้าหมายไม่กี่เป้า (เช่นการแจกเงิน) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เยอรมนีกำหนดแผนใหญ่ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ และคาดเดาผลได้ง่าย นั่นคือ "โครงการ 10 ข้อ" โดยอิงกับการผ่านกฎหมายที่ชื่อ "กฎหมายโอกาสการเติบโต" 

แพคเกจโครงการนี้ เน้นที่การลดหย่อนภาษีและสิ่งจูงใจทางภาษีสำหรับการลงทุนในประสิทธิภาพพลังงาน การวิจัยและพัฒนา และอื่นๆ โดยจะมีมาตรการกระตุ้นทางการคลังประมาณ 7,000 ล้านยูโรต่อปี ซึ่งเงินส่วนนี้ก็คือเงินที่เกี่ยวกับการลดหย่อยภาษีที่เอ่ยถึงข้างต้นนั่นเอง 

ที่น่าสนใจก็คือ เยอรมนีไม่แจกเงินแบบหว่านไปทั่ว แต่เน้นเป้าหมายที่ชัดเจน พวกเขาจมีทุนเประมาณ 1,000 ล้านยูโรให้กับธุรกิจสตาร์ทอัป และมูลค่ากว่า 2 แสนล้านยูโรเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน

ไม่แจกแบบหว่านแห แต่กระตุ้นให้ตรง
นอกจากจะเตรียมเงินใหเถูกเป้าหมายแล้ว เยอรมนียังจะกำจัดต้นทุนที่สูงเกินไปด้วย โดยระบบราชการ ลงทุนในรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ พวกเขายังทำให้การใช้จ่ายเงินภาครัฐเร็วขึ้น โดยเร่งการประมูลสาธารณะให้เร็วขึ้น และจัดหาพลังงานที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง 

มาตรการเหล่านี้ ไม่มีการแจกเงินให้ประชาชนแบบเรี่ยราด แต่จัดหาโอกาสให้กับภาคธุรกิจทั้งในรูปของเงินทุนและการลดภาษี ลดภาระของระบบราชการ และเข้าถึงการลงทุนโดยรัฐง่ายขึ้น เพราะเมื่อธุรกิจคึกคัก การจ้างงานและการบริโภคก็จะคึกคัก

นอกจอกจะไม่ได้แจกเงินแล้ว มาตรการกระตุ้นทางการคลังของเยอรมนี  รวมแล้วถึงจะสูงมากถึง 8,000 ล้านยูโร แต่คิดเป็นเพียง 0.2% ของ GDP เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าเงินที่จัดสรรไว้ 20,000 หมื่นล้านยูโรสำหรับเงินที่เตรียมไว้อุดหนุนอุตสาหกรรมชิป ซึ่งเป็นอนาคตทั้งหมดทั้งมวลของผู้ที่คิดจะไล่ล่าอนาคตให้ทัน

เวียดนามลด แลก แถม แต่ไม่แจก
เวียดนามที่ว่าโตเร็วโตแรงก็ไม่แคล้วเจอเศรษฐกิจหงอยเหงาเหมือนกัน ดังนั้น เมื่อเดือนกรกฎาคม กระทรวงการคลังในเวียดนามได้ประกาศการลดค่าธรรมเนียมและค่าเรียกเก็บจากการให้บริการหลายชุดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งก็ถือเป็นการใช้มาตรการทางภาษีมากระตุ้นเศรษฐกิจเช่นเดียวกับเยอรมนี

Vietnam Briefing รายงานว่า การปรับลดค่าธรรมเนียมและค่าต่างๆ นานา เหล่านี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2023 จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2023 การลดค่าธรรมเนียมและค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยคาดว่าจะช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับธุรกิจและบุคคลทั่วไปได้  แต่ส่วนใหญ่มุ่งไปที่การกระตุ้นภาคธุรกิจ

ค่าธรรมเนียมและค่าธรรมเนียมการจัดการ 36 รายการจะถูกตัดลงสูงสุด 50% คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นมูลค่า 700,000 ล้านดองเวียดนาม (ราว 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

Photo by YAMIL LAGE / AFP

TAGS: #แจกเงิน #รัฐบาลเศรษฐา #ดิจิทัลวอลเล็ต