ใช้ประชาชนเป็น 'โล่ห์มนุษย์' ฮามาส-อิสราเอล ใครกันแน่ที่ใช้คนเป็นเหยื่อล่อกระสุนสงคราม?

ใช้ประชาชนเป็น 'โล่ห์มนุษย์' ฮามาส-อิสราเอล ใครกันแน่ที่ใช้คนเป็นเหยื่อล่อกระสุนสงคราม?
ใช้ประชาชนตาดำๆ เป็น'โล่ห์มนุษย์' ฮามาสหรืออิสราเอลใครกันแน่ที่เลือดเย็น?

สื่อฝรั่งเศส Le Monde เคยรายงานว่า อดีตทหารอิสราเอลเล่าว่าผู้บัญชาการหน่วยของเขาใช้ประชนชนปาเลสไตน์เป็นโล่ห์มนุษย์ พวกเขาจะบังคับให้พลเรือนปาเลสไตน์เดินเข้าไปในบ้านของผู้ต้องสงสัยว่าเป็นกลุ่มติดอาวุธ ก่อนที่ทหารอิสราเอลจะเดินตามเข้าไป การทำแบบนี้ก็เพื่อให้พลเรือนเป็นเหยื่อล่อ และถ้าเกิดบ้านหลังนั้นมีกลุ่มติดอาวุธจริง พลเรือนที่เดินเข้าไปก็จะถูกฆ่าก่อน แม้อดีตทหาอิสราเอลจะยอมรับว่าการทำแบบนั้นเป็นเรื่องต้องห้าม แต่เขาบอกว่าผู้บัญชาการของเขา อยากให้พลเรือนชาวปาเลสไตน์ถูกฆ่า มากกกว่าที่จะเสียทหารอิสราเอลของเขาไป

นั่นเป็นเหตุการณ์ในสงครามกาซาปี 2014 มาถึงวันนี้ "โล่ห์มนุษย์" ถูกนำกลับมาช้อีกครั้งในสงครามฮามาส-อิสราเอล 2023

เรื่องเล่าอันโหดร้ายยิ่งกว่าหนัง
ย้อนกลับไปในสงครามปี 2014 อีกครั้ง ตอนที่สื่อฝรั่งเศส  Le Monde รายงานว่า เรื่องอดีตทหารอิสราเอลเผยเรื่องการใช้พลเรือนปาเลสไตน์เป็นโล่ห์และเหยื่อล่อก่อนจะบุกเข้าไปในบ้านที่ต้องสงสัยว่าเป็นของกลุ่มติดอาวุธ เขาเล่าให้ฟังว่า 

"ทหารคนหนึ่งให้การเป็นพยานว่า แม้การทำแบบนั้นจะถูกห้าม แต่ก็ยังใช้กันเมื่อกองทัพมาเพื่อจับกุมผู้ต้องสงสัยชาวปาเลสไตน์ กล่าวคือ ทหารจะส่งเพื่อนบ้าน (ข้างบ้านต้องสงสัย) โดยมีหน้าที่ขอให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านที่ถูกปิดล้อมออกมา 'ผมคิดว่ามันเกิดขึ้นในทูลคาเรม เราไล่ให้ทุกคนออกมาโดยไม่ได้เจอคนที่เราตามหา ดังนั้นเราจึงส่งเพื่อนบ้านเข้าไปและหลังจากนั้นก็มีเด็กคนหนึ่ง เขาต้องไปเดินวนภายในบ้าน เปิดประตูและหน้าต่างทั้งหมด และจุดไฟเผาทั้งหมด' ผบ.หน่วยกล่าวว่าขั้นตอนดังกล่าวผิดกฎหมาย “เขาประกาศว่าเขาอยากให้เพื่อนบ้าน (ผู้ต้องสงสัย) ถูกฆ่าตายมากกว่า … หากการทำแบบนั้นจะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้คนของเขาถูกยิงขณะเข้าไปในบ้านได้” ทหารคนนั้นกล่าว ซึ่งประชาชน (ปาเลสไตน์) ไม่มีทางเลือกนอกจากต้องร่วมมือกัน 'ถ้าคุณเคาะประตูในเวลากลางคืน โดยมีปืนส่องอยู่ใต้หน้าพวกเขา มีไฟฉายส่องที่ดวงตาของพวกเขา และคุณเห็นว่าเขาไม่ได้ติดอาวุธ ... เขาจะไม่บอกคุณหรอกว่าเขาไม่ต้องการร่วมมือ'"

เรื่องราวอันขมขื่นยังถูกบอกเล่าผ่านรายงานของ Defense for Children International องค์กรระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองเยาวชน เผยเรื่องของ อาฮ์มัด  อบู ไรดา ชาวปาเลสไตน์วัย 17 ปี ในสงครามกาซาปี 2014 เขาถูกลักพาตัวโดยทหารอิสราเอล จากนั้นทุบตีเขาและข่มขู่เขา บางครั้งยังข่มขู่จะย่ำยีทางเพศ  แล้วใช้เขาเป็นโล่มนุษย์ เป็นเวลา 5 วันที่เขาถูกทหารอิสราเอลบังคับให้เขาเดินนำหน้าสุนัขทหาร โดยมีปากกระบอกปืนเล็งที่ตัวเขา บังคับให้ตรวจค้นบ้านและขุดในที่ที่ทหารอิสราเอลสงสัยว่าอาจมีอุโมงค์ของฮามาส

ย้อนกลับไปเมื่อเกิดความขัดแย้งปี 2009 Amnesty International ระบุว่าพบกรณีที่ "กองทหารอิสราเอลบังคับชาวปาเลสไตน์ให้อยู่ในห้องๆ หนึ่งของบ้านพวกเขา แล้วใช้พื้นที่ที่เหลือของบ้านให้เป็นฐานทัพและตำแหน่งซุ่มยิงโดยสไนเปอร์ โดยใช้ครอบครัวทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นเกราะป้องกันมนุษย์" 

นี่คือความโหดร้ายของการใช้โล่ห์มนุษย์

คำถามสำคัญ โล่ห์มนุษย์คืออะไร?
"โล่ห์มนุษย์" มาจากคำว่า Human shield หมายถึงการที่ทหารฝ่ายหนึ่งใช้พลเรือนหรือบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองจากการโจมตีในสงคราม มาใช้เป็นเกราะป้องกันการโจมตีจากทหารอีกฝ่ายหนึ่ง 

แต่การบังคับให้ผู้ได้รับความคุ้มครองจากการต่อสู้ ทำหน้าที่เป็นล่ห์มนุษย์ ถือเป็นอาชญากรรมสงครามตามอนุสัญญาเจนีวาปี 1949 พิธีสารเพิ่มเติม I ของอนุสัญญาเจนีวาปี 1977 และธรรมนูญกรุงโรมปี 1998

เนื่องจากการทำสงครามก็ต้องมีกติกาสากล นั่นคือ อนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้มนุษย์เรารักษาความมีมนุษยธรรมเอาไว้ (หรือนัยหนึ่งคือรักษาความเป็น "คน" เอาไว้) หากฝ่ายใดละเมิดกฎนี้ เมื่อแพ้สงคราม ผู้ใช้พลเรือนเป็นโลห์กำบังจะถูกดำเนินคดีในฐานเป็นอาชญากรสงคราม โทษสูงสุดคือการประหารชีวิต

ครั้งนี้ฮามาสถูกกล่าวหาว่าเลือดเย็น
ในสงครามฮามาส-อิสราเอล 2023 กลุ่มฮามาสถูกกล่าวหามากขึ้นเรื่อยๆ ว่าใช้พลเรือนปาเลสไตน์มาเป็นเกราะป้องกันตนเองจากการโจมตีของอิสราเอล โดยกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เผยหลักฐานว่า ฮามาสปิดกั้นเส้นทางอพยพ ไม่ยอมให้พลเรือนหนีลงใต้ และยังส่งพลเรือนกลับไปบ้านของตนเอง และยังยิงพลชาวปาเลสไตน์ที่พยายามจะหนีออกจากพื้นที่ตน

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน สหภาพยุโรป (EU) ประณามกลุ่มฮามาสที่ใช้ "โรงพยาบาลและพลเรือนเป็นเกราะป้องกันมนุษย์" ในฉนวนกาซา และเรียกร้องให้ “พลเรือนต้องได้รับการเปิดทางให้ออกจากเขตสู้รบ” ขณะเดียวกัน EU ก็เรียกร้องให้อิสราเอลแสดง "ความยับยั้งชั่งใจสูงสุด" เพื่อปกป้องพลเรือนปาเลสไตน์ หลังจากที่อิสราเอลถูกกล่าวหาว่าถล่มโรงพยาบาล และค่ายผู้อพยพ

ครั้งที่แล้วฮามาสก็เจอข้อหานี้ แต่ว่า...
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ฮามาสเจอกับข้อกล่าวหานี้ และนี่คือตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เช่น ในช่วงสงครามกาซา ปี 2014 นาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวหาฮามาสว่าละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดย "ติดตั้งจรวดภายในโรงเรียนและโรงพยาบาล หรือแม้แต่ยิงจรวดเหล่านี้จากพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น" (หมายเหตุ - การกระทำแบบนี้ทำให้ฝ่ายตรงข้าม หรืออิสราเอลโจมตีกลับมายังจุดยิง ซึ่งก็คือพื้นที่ของพลเรือน) ในการให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนกันยายน 2014 เจ้าหน้าที่ของกลุ่มฮามาสยอมรับกับ Associated Press ว่าทางกลุ่มยิงโจมตีอิสราเอลจากพื้นที่พลเรือน และยอมรับว่าการทำเช่นนั้นเป็น "ความผิดพลาด" 

แต่การติดตั้งอาวุธในพื้นที่พลเรือนยังไม่อาจบอกได้อย่างเต็มปากว่าเป็นการใช้โล่ห์มนุษย์ กลับข้อกล่าวหาเรื่องฮามาสใช้มนุษย์มาเป็นเกราะกำบังจริงๆ นั้นกลับไม่มีหลักฐาน เช่น เอกสารขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน Amnesty International (ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2014) ยืนยันว่าทางองค์กร "ไม่มีหลักฐาน ณ จุดนี้ว่าพลเรือนชาวปาเลสไตน์ถูกกลุ่มฮามาสหรือกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์จงใจใช้ระหว่างการสู้รบในปัจจุบันเพื่อ 'ปกป้อง' สถานที่เฉพาะหรือบุคลากรทางทหารหรืออุปกรณ์จาก การโจมตีของอิสราเอล"

แล้วอิสราเอลถูกกล่าวหาบ้างไหม?
สื่อส่วนใหญ่มักพุ่งเป้าไปที่การโจมตีโรงพยาบาลในฉนวนกาซาโดยกองทัพอิสราเอล ในสงครามฮามาส-อิสราเอล 2023 อิสราเอลโจมตีโรงพยาบาลในฉนวนกาซาอย่างหนัก เช่น 10 พฤศจิกายน 2566 กระทรวงสาธารณสุขในเขตปกครองของฮามาส ระบุว่าอิสราเอลได้โจมตีโรงพยาบาล 4 แห่งในฉนวนกาซา รวมถึงศูนย์การแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดของฉนวนกาซา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก  จนกระทั่งประธานาธิบดี โจ ไบเดน ยังต้องออกปากเตือนให้คุ้มครองโรงพยาบาลจากการโจมตี

ในสงครามก่อนหน้านี้ อิสราเอลก็ทำแบบเดียวกัน ในสงครามกาซา 2014 อิสราเอลสร้างความเสียหายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ในฉนวนกาซา โดยอ้างว่าโรงพยาบาลเหล่านี้ซุกซ่อน "ขีปนาวุธที่ซ่อนไว้" แต่ไม่มีหลักฐานที่ยืนยันได้ ไม่ว่าจะฝ่ายคัดค้านหรือฝ่ายสนับสนุนว่าโรงพยาบาลในฉนวนกาซาเป็นฐานที่มั่นลับๆ ของกลุ่มฮาสมาส 

แต่อิสราเอลไม่ได้ทำแค่การโจมตีโรงพยาบาล

ตกลงแล้วใครที่ใช้ประชาชนเป็นเกราะ?
ดูเหมือนว่าอิสราเอลจะถูกกล่าวหาหนักกว่าฮามาสเสียอีกในเรื่องข้อหาใช้พลเรือนเป็นเกราะกำบัง เช่น ในปี 2019 รายงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์ของ NATO ระบุว่ากลุ่มฮามาส "ใช้โล่มนุษย์ในการขัดแย้งกับอิสราเอลมาตั้งแต่ปี 2007" แต่รายงานของ NATO ก็ยังระบุว่าเจ้าหน้าที่อิสราเอลหลายคนถูกดำเนินคดีโดยศาลทหาร เพราะการใช้ประชาชนปาเลสไตน์เป็นโล่ห์มนุษย์เช่นกัน 

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยังกล่าวหาอิสราเอลว่าใช้โล่ห์มนุษย์ระหว่างความขัดแย้งในฉนวนกาซาปี  2008–2009 

หน่วยงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวหาว่าในปี 2013 กองกำลังอิสราเอล "ใช้เด็กชาวปาเลสไตน์เป็นโล่มนุษย์และเป็นสายอย่างต่อเนื่อง" 

แต่บางครั้ง เกราะกำบังจากมนุษย์ก็ไม่จำเป็น บางคนถูกใช้เป็นกำบัง แต่บางคนก็ถูกสังหารทิ้งไปอย่างง่ายดาย

หลังสงครามกาซาปี 2014 เช่นกัน Euro-Mediterranean Human Rights Monitor องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้ทำการสอบสวนระหว่างและหลังปฏิบัติการทางทหาร การสืบสวนพบว่า ในช่วงสงครามฉนวนกาซาปี 2014 ทหารอิสราเอลใช้พลเรือนปาเลสไตน์เป็นเกราะป้องกันในเมืองคูซา ครอบครัวหนึ่งบอกกับทางองค์กรว่าทหารอิสราเอลได้สังหารผู้เฒ่าของครอบครัว ซึ่งมีอายุ 65 ปี ซึ่งถือธงขาวยอมแพ้แล้ว จากนั้นจับจัดสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งเด็ก ๆ ไว้ที่หน้าต่างบ้าน ...

... แล้วยิงพวกเขาที่ด้านหลัง!

ภาพประกอบข่าว - TOPSHOT - หญิงชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับบาดเจ็บจากครอบครัวบารากา ถูกรายล้อมไปด้วยลูกๆ ของเธอเมื่อมาถึงโรงพยาบาลนัสเซอร์ ในเมืองคานยูนิส ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา หลังจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล ถล่มอาคารของพวกเขาเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2023 อิสราเอลกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากนานาชาติอย่างรุนแรงต่อ ลดความทุกข์ทรมานของพลเรือนท่ามกลางปฏิบัติการทางอากาศและภาคพื้นดินครั้งใหญ่ ซึ่งทางการฮามาสกล่าวว่าได้สังหารผู้คนไปแล้วกว่า 11,000 คน รวมถึงเด็กหลายพันคน (Photo by Mahmud HAMS / AFP)
 

TAGS: #อิสราเอล #ปาเลสไตน์ #โล่ห์มนุษย์ #ฮามาส #ฉนวนกาซา