กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ขององค์การนาซ่า (NASA) จับภาพไปที่ดาวยูเรนัส ซึ่งเป็นกาวยักษ์น้ำแข็งที่หมุนไปด้านข้าง กล้องสามารถจับภาพวงแหวนด้านในและด้านนอกของดาวยูเรนัสได้ รวมถึงวงแหวนซีต้า (Zeta ring) ที่มนุษย์ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับมันไม่มากนัก เพราะเป็นวงแหวนที่จางมากและกระจายอยู่ใกล้ดาวเคราะห์ดวงนี้มากที่สุด นอกจากนี้ยังถ่ายภาพดวงจันทร์อีก 27 ดวงของยูเรนัสเท่าที่รู้จักกัน ณ ขณะนี้ แม้กระทั่งเห็นดวงจันทร์ดวงเล็กบางดวงในวงแหวนด้วย
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดประการหนึ่งคือเมฆครอบขั้วโลกเหนือตามฤดูกาลของดาวยูเรนัส เมื่อเปรียบเทียบกับภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เมื่อต้นปีนี้ รายละเอียดบางส่วนของเมฆครอบจะมองเห็นได้ง่ายกว่าในภาพที่ใหม่กว่าเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงแถบสว่างสีขาวด้านในและเลนมืดที่ด้านล่างของแผ่นขั้วโลกไปทางละติจูดล่าง
นอกจากนี้ยังสามารถพบเห็นพายุที่มีแสงสว่างหลายลูกได้ในระยะใกล้และที่ทางใต้ขอบด้านใต้ของแผ่นขั้วโลก จำนวนพายุเหล่านี้ ความถี่และตำแหน่งที่พายุปรากฏในชั้นบรรยากาศของดาวยูเรนัส อาจเนื่องมาจากผลกระทบตามฤดูกาลและอุตุนิยมวิทยารวมกัน
เนื่องจากดาวยูเรนัสหมุนไปด้านข้างด้วยความเอียงประมาณ 98 องศา ดาวยูเรนัสจึงมีฤดูกาลที่รุนแรงที่สุดในระบบสุริยะ เป็นเวลาเกือบหนึ่งในสี่ของปีดาวยูเรนัส หรือประมาณ 84 ปีโลกนั้น ใดวงอาทิตย์ส่องแสงเหนือขั้วโลกหนึ่ง ส่งผลให้อีกครึ่งหนึ่งของโลกจมดิ่งลงสู่ฤดูหนาวที่มืดมิดยาวนานถึง 21 ปี
ทั้งนี้ เวลา 1 วันบนดาวยูเรนัสใช้เวลาประมาณ 17 ชั่วโมงของโลก ดังนั้นการหมุนของดาวดวงนี้จึงค่อนข้างเร็ว ทำให้เป็นเรื่องยากมาก แม้แต่สำหรับหอดูดาวที่มีสายตาแหลมคมอย่างเวบบ์ในการถ่ายภาพดาวเคราะห์ทั้งดวงง่ายๆ เพียงภาพเดียว เช่น พายุและลักษณะบรรยากาศอื่นๆ และดวงจันทร์ของดาวยูเรนัสที่เคลื่อนที่ให้เห็นได้ชัดภายในเวลาแค่ไม่กี่นาที