ต้องเขียนว่า'ฮูษี'หรือ'ฮูตี'?
ชื่อของขบวนการนี้เขียนในภาษาอังกฤษว่า Houthi แต่มันมาจากภาษาอาหรับว่า الحوثيون ซึ่งเมื่อถอดคำด้วยตัวอักษรลาตินแล้ว คือ al-Ḥūthīyūn จาก "หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอาหรับ" โดยราชบัณฑิตยสถานของไทย คำๆ นี้ต้องเขียนและออกเสียงว่า อัลฮูษียูน หรือสั้นว่า อัลฮูษี หรือ ฮูษี เพราะตัวอักษร th หรือ ษาอ์ (ث) ต้องแปลงเป็น "ษ" - สรุป ต้องเขียนว่า "ฮูษี" ไม่ใช่ ฮูตี
เบื้องหลังของ'ฮูษี'คือใคร?
'ฮูษี' เเป็นองค์กรทางการเมืองและการทหารอิสลามนิกายชีอะฮ์ อยู่ในประเทศเยเมน โดยฐานที่มั่นอยู่ใรเขตผู้ว่าการซาดา ประเทศเยเมนในช่วงทศวรรษ 1990 สมาชิกส่วนหญ่มาจากชนเผ่าฮูษี ซึ่งเป็นที่มาของชื่อกลุ่ม และชื่อชนเผ่าฮูษีมาจากชื่อเมืองฮูษ ( حوث/Ḩūth) ทางตอนเหนือของเยเมน ใกล้กับซาอุดีอาระเบีย ตอนแรกเริ่มต้นจากขบวนการศาสนาสายกลางที่สั่งสอนเรื่องความมีขันติธรรมหรือการอดทนต่อความหลากลายทางศาสนา และมีทัศนคติที่กว้างไกลต่อชนชาติเยเมนทั้งหมด เนื่องจากเยเมนประกอบไปด้วยชาวมุสลิมนิกายซุนนี ( 65%) และนิกายชีอะห์ (35%) ซึ่งตามปกติแล้วมีความขัดแย้งกันระหว่างสองกลุ่มนี้
'ฮูษี'เปลี่ยนแนวทางทำไม?
ฮูษีเคยเป็นขบวนการศาสนาสายกลาง แต่เริ่มเปลี่ยนแนวทางมาเป็น 'สายเหยี่ยว' เพราะผู้นำกลุ่ม ต่อการคุกคามจากซาอุดีอาระเบียที่แผ่อิทธิพลเข้ามาเยเมน และการประณามความเป็นพันธมิตรระหว่างรัฐบาลเยเมนในอดีตกับสหรัฐอเมริกา ความไม่พอใจการคอร์รัปชันของรัฐบาล และความไม่พอใจการด้อยค่าชนเผ่าฮูษี ซึ่งปัญหาใหญ่ที่สุดและสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ คือการที่ขบวนการฮูษีต่อต้านซาอุดีอาระเบีย ซึ่งไม่เพียงแทรกแซงการเมืองของเยเมน ซึ่งทางกลุ่มมองว่าคุกคามเยเมน ซาอุดีอาระเบียยังนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี ซึ่งเป็นคนละสายกับพวกฮูษที่เป็นชีอะห์
ใครคือผู้นำของพวก'ฮูษี'?
ผู้นำที่ทำให้ฮูษีกลายเป็นขบวนการสายเหยี่ยวคือ ฮุสเซน อัลฮูษี (Hussein al-Houthi) เขาถูกรัฐบาลของประธานาธิบดี อาลี อับดุลลอห์ ซาเลห์ กล่าวหาว่าพยายามตั้งตนเป็นอิหม่าม ก่อตั้งศูนย์ศาสนาที่ไม่มีใบอนุญาต สร้างกลุ่มติดอาวุธ และจัดการประท้วงอย่างรุนแรงต่อต้านอเมริกาและต่อต้านอิสราเอล ใขณะที่ผู้ติดตามของ ฮุสเซน อัลฮูษี รู้สึกว่ารัฐบาลเยเมนเป็นพันธมิตรอย่างใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามากเกินไป และวิจารณ์รัฐบาลว่ามีการคอร์รัปชั่นทางการเงินครั้งใหญ่ และวิพากษ์วิจารณ์อาลี อับดุลลอห์ ซาเลห์ที่ได้รับการสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอเมริกา การทำเช่นนี้ทำให้อธิปไตยของเยเมนตกอยู่ในความเสี่ยงในสายตาของพวกฮูษี
ความรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อไร?
ความขัดแย้งดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2004 เมื่อรัฐบาลเยเมนพยายามที่จะจับกุม ฮุสเซน อัลฮูษี จนในวันที่ 18 มิถุนายน 2004 ตำรวจเยเมนได้จับกุมผู้ติดตามของฮุสเซน อัลฮูษี 640 คน ซึ่งกำลังเดินขบวนประท้วงหน้ามัสยิดใหญ่แห่งซานา สองวันต่อมา รัฐบาลเยเมนเสนอเงินค่าหัว 55,000 ดอลลาร์และต่อมาเพิ่มเป็น 75,500 สำหรับการจับกุมเขาในข้อหากบฏ หลังจากการสู้รบเป็นเวลาหลายเดือนระหว่างกองกำลังความมั่นคงเยเมนและกลุ่มฮูษี ในวันที่ 10 กันยายน กระทรวงมหาดไทยและกลาโหมเยเมนออกแถลงการณ์โดยประกาศว่าฮุสเซน อัลฮูษีถูกสังหารพร้อมกับผู้ช่วยอีก 20 คน ในจังหวัดมาร์ราน เขตผู้ว่าการซาดา
ต่อมามันลุกลามถึงขั้นไหน?
การสังหาร ฮุสเซน อัลฮูษี ยิ่งทำให้กลุ่มของเขาเกรี้ยวกราดยิ่งขึ้น และนำชื่อของเขาคือ 'ฮูษี' (ชื่อ ฮุสเซน อัลฮูษี แปลว่า ฮุสเซนแห่งฮูษี ซึ่งหมายถึงเผ่าฮูษีและถิ่นฐานของเขาจากเขตฮูษี) มาตั้งเป็นชื่อขบวนการต่อต้านรัฐบาล ต่อต้านสหรัฐฯ และต่อต้านซาอุดีอาระเบีย รวมถึงอิสราเอล หลังจากนั้นขบวนการฮูษีก็กลายเป็นการลุกฮือของฮูษี (Houthi insurgency) อย่างเต็มตัว โดยเริ่มปะทะกับรัฐบาลทั้งแต่ปี 2004 แต่ในปี 2009 ก็เริ่มโจมตีงซาอุดีอาระเบียด้วย และรุกเข้าไปในดินแดนของซาอุดีอาระเบียโดยกล่าวหาว่าให้การสนับสนุนรัฐบาลเยเมน ในปี 2010 ฮูษีเริ่มปะทะกัชนเผ่าในเยเมนที่สนับสนุนรัฐบาล
ทำไมฮูษีถึงทรงพลังมากขึ้น?
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2011 เกิดการปฏิวัติเยเมน (Yemeni Revolution) เมื่อประชาชนเรียกร้องให้ประธานาธิบดี อาลี อับดุลลอห์ ซาเลห์ ลาออกจากตำแหน่ง จนกระทั่งเกิดการปะทะกันของฝ่ายต่างๆ และอาลี อับดุลลอห์ ซาเลห์ ต้องลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งขณะที่เกิดความวุ่นวายไปทั่วนั้น ขบวนการฮูษีเริ่มแข็งแกร่งขึ้น เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2011 กลุ่มกบฏฮูษียึดพื้นที่สำคัญได้ และได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลของตนเองในเขตซาดา โดยเป็นอิสระจากทางการเยเมน พวกเขายังต่อสู่กับกลุ่มชนเผ่าอื่นๆ ที่สนับสนุนรัฐบาลไปพร้อมๆ กัน แต่ฮูษีแข็งแกร่งขึ้นอีกเมื่อพวกเขาเปHนผู้ปลุกระดมการประmhวงต่อต้านสหรัฐฯ ในปี 2012 เปิดโอกาสให้แทรกซึมเข้ามาในเมืองหลวงได้ จนขยายการควบคุมในในเขตปกครองของกรุงซานา และพื้นที่อื่น ๆ รอบเมืองหลวง
ทำไมเกิดสงครามกลางเมืองเยเมน?
การลุกฮือของขบวนการฮูษีเริ่มแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ และได้รับการสนับสนุนมากขึ้น พร้อมๆ กับที่ฝ่ายรัฐบาลอ่อนแอลง พวกเขายังใช้แท็กติกการดึงมวลชนผ่านการประท้วงรัฐบาลและทำได้สำเร็จด้วย นั่นคือ การประท้วงหลายครั้งในเมืองซานาʽเพื่อต่อต้านราคาน้ำมันที่สูงขึ้นโดยเริ่มเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2014 จนกระทั่งในเดือนกันยายน 2014 กองกำลังฮูษีเข้ายึดครองเมืองหลวงซานา ตามมาด้วยการยึดครองรัฐบาลของกลุ่มฮูษีอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2015 คณะกรรมการปฏิวัติสูงสุดที่นำโดยกลุ่มฮูษี ได้ประกาศระดมพลทั่วไปเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีในขณะนั้น อับดราบูห์ มันซูร์ ฮาดี และขยายการควบคุมโดยรุกไปในจังหวัดทางใต้ และนี่คือจุดเริ่มต้นของ "สงครามกลางเมืองเยเมน" (Yemeni civil war)
แล้วฮามาสกับอิหร่านเกี่ยวอะไร?
กลุ่มที่ขัดแย้งกันในสงครามกลางเมืองเยเมนต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ เช่น ฝ่ายรัฐบาลเยเมนได้รับการสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบียและสหรัฐฯ ส่วนขบวนการฮูษีได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ (จากเลบานอน) และอิหร่าน ซึ่งเป็นมุสลิมชีอะห์เหมือนพวกฮูษี อาวุธสำคัญๆ ของฮูษี เช่น โดรนโจมตีก็ได้รับมาจากอิหร่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตโดรนโจมตีได้ดีที่สุดประเทศหนึ่ง ในขณะที่กลุ่มฮามาสในปาเลสไตน์ แม้ว่าจะเป็นมุสลิมซุนนี แต่ได้รับความช่วยเหลือจากฮิซบอลเลาะห์และอิหร่าน ดังนั้นในฐานะที่ ฮิซบอลเลาะห์ อิหร่าน และฮามาส เป็น "เครือข่ายเดียวกัน" เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีอีกฝ่ายจึงช่วยด้วย เช่น ฮิซบอลเลาะห์ช่วยฮามาสโจมตีอิสราเอลตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของสงครามฮามาส-อิสราเอล 2023 และต่อมาขบวนการฮูษีก็ร่วมการโจมตีอิสราเอลด้วยโดรน
ฮูษีเกี่ยข้องอะไรกับทะเลแดง
หลังจากการโจมตีอิสราเอลโดยยิงอาวุธจากแผ่นดินใหญ่เยเมนไปยังอิสราเอลโดยตรง ต่อมาฮูษีใช้ขีปนาวุธโจมตีและโดรนเรือของอิสราเอลชาติตะวันตกที่ผ่านทะเลแดง ถามว่าทำไมต้องจุดนั้น? ก็เพราะปัจจุบันฮูษีควบคุมเมืองหลวงซานาและพื้นที่เยเมนเหนือทั้งหมด แต่เพื่ออธิบายให้กระจ่างขึ้นต้องบอกว่ากลุ่มฮูษีควบคุมภาคตะวันตกของเยเมน "เกือบทั้งหมด" ยกเว้นส่วนเล็กๆ ที่ใกล้กับจุดที่แคบที่สุดของทะเลแดงที่เป็นของรัฐบาลเยเมนที่นานาชาติรับรอง พื้นที่ตะวันตกของเยมนคือจุดที่ติดกับทะเลแดงทั้งหมด รวมถึงท่าเรือหลักของเยเมน คือ ท่าเรือฮูดัยดาห์ (Hudaydah Port ยกเว้นท่าเรือหลักของประเทศคือ ท่าเรือเอเดน หรือ Port of Aden ที่เป็นของฝ่ายรัฐบาล) ดังนั้น จึงสะดวกที่ฮูษีจะโจมตีเรือที่พวกเขาเล็งเป้าหมายโจมตี
ภาพประกอบ - พื้นที่การควบคุมทางการเมืองและการทหารในเยเมนในเดือนกันยายน 2023 (พ.ศ. 2566)
- พื้นที่สีชมพู สาธารณรัฐเยเมน (ได้รับการยอมรับในระดับสากล), กองทัพเยเมน และพันธมิตร GPC
- พื้นที่สีเหลือง สาธารณรัฐเยเมน ดินแดนที่ควบคุมโดยกองกำลังติดอาวุธ STC ที่สนับสนุนรัฐบาล
- พื้นที่สีฟ้า กองกำลังท้องถิ่นที่ไม่เป็นพันธมิตรกับใคร
- พื้นที่สีเขียว ขบวนการฮูษี
- พื้นที่สีขาว อัลกออิดะห์ในคาบสมุทรอาหรับ (AQAP)