มีตำรวจไว้ทำไม? ยุบไปเลยดีไหม บางคนเชื่อปัญหาอาชญากรรมอาจลดลง

มีตำรวจไว้ทำไม? ยุบไปเลยดีไหม บางคนเชื่อปัญหาอาชญากรรมอาจลดลง

ในสหรัฐมีขบวนการเรียกร้องให้ยกเลิกการมีตำรวจ หรือ Police abolition movement โดยที่สนับสนุนการเปลี่ยนระบบตำรวจแล้วแทนที่ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยสาธารณะแบบอื่นๆ หรือพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบตำรวจโดยสิ้นเชิงผ่านกระบวนการยกเลิกทั้งระบบ หรือการปลดอำนาจ และปลดอาวุธตำรวจ

พวกเขาเห็นว่าตำรวจใช้อำนาจกดขี่ประชาชนมาเกินไป และงบประมาณตำรวจที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้มุ่งไปที่การต่อสู้ความรุนแรงในสังคมและเพื่อรักษาความปลอดภัยของชุมชน แต่มุ่งไปที่การสอดแนมประชาชนและทำให้พลเรือนกลายเป็นอาชญากรโดยไม่จำเป็น เช่น บางคนมียาเสพติดเล็กน้อยครอบครองไว้ก็ถูกจับเข้าคุก หรือทำผิดกฎจราจรเล็กน้อยก็ถูกกระทำรุนแรง แม้แต่การขับไล่ผู้เช่าจากบ้านพัก การทำรุนแรงกับคนที่ไม่มีบ้านก็ใช้วิธีรุนแรงเกินไป

อะไรที่ทำให้ตำรวกลายเป็น'ตัวร้าย'
นับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 รัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐฯ ได้ใช้งบประมาณส่วนใหญ่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มกองกำลังตำรวจ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากนโยบาย "สงครามต่อต้านอาชญากรรม" ซึ่งริเริ่มโดยประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน ซึ่งให้ความสำคัญกับการควบคุมอาชญากรรมผ่านการบังคับใช้กฎหมายและเรือนจำ ทำให้มีการจับกุมผู้ที่ครอบครองยาเสพติดเล็กน้อยเข้าคุกเป็นจำนวนมาก แทนที่จะใช้วิธีการบำบัด 

โดยรวมก็คือ ปัญหาสังคมระดับลหุโทษเหล่านี้ถูกทำให้เป็นมหันตโทษหรือโทษหนัก เพราะการจับคนเข้าคุกมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับนักการเมืองระดับชาติและท้องถิ่น เกี่ยวจ้องกับธุรกิจเรือนจำที่ดำเนินโดยบบริษัทเอกชน และเกี่ยวข้องกับงบประมาณด้านความปลอดภัยสาธารณะ

ในขณะเดียวกัน สหภาพตำรวจก็มีอำนาจสำคัญต่อการเมืองท้องถิ่น โดยกลุ่มตำรวจจะรับผู้สมัครทางการเมืองและการให้ทุนสนับสนุนในการรณรงค์หาเสียง ทำให้พวกตำรวจยิ่งมีอิทธิพลจนแตะต้องแทบไม่ได้ 

กลุ่มที่เรียกร้องให้ยกเลิกตำรวจ หรืออย่างน้อยเรียกร้องให้ตัดงบประมาณให้กับกรมตำรวจ ยังให้เหตุผลว่าตำรวจมีผลงานไม่ดีในการแก้ไขคดีที่เกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม การข่มขืน และการละเมิดในครอบครัว และยิ่งทำให้มีจำนวนผู้คนถูกจับเข้าคุกมากขึ้น จนทำให้สหรัฐฯ มีประชากรนักโทษสูงที่สุดในโลก ทั้งๆ ที่บางปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีที่ละมุนละม่อมกว่าการจับคนเข้าคุกอย่างเดียว 

มีรายงานจากเมื่อปี 2020 โดยนักวิจัยจาก RAND Corporation ระบุว่าตำรวจมักได้รับบทบาทมากเกินไปในสังคม และถูกขอให้แก้ไขปัญหาทั้งๆ ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเหมาะสม ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเหมาะกับมืออาชีพมากกว่า เช่น สุขภาพจิต การไร้บ้าน การใช้ยาเสพติด และความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน 

ยิ่งตำรวจมีเงินยิ่งมีอิทธิพล จะต้องเลิกให้เงิน
นอกจากพวกตำรวจจะแตะต้องแทบไม่ได้แล้ว งบประมาณของกรมตำรวจก็ "ไม่สามารถแตะต้องได้" มานานหลายทศวรรษแล้ว

ภายในปี 2020 เมืองต่างๆ ในสหรัฐฯ ใช้เงินรวมกันประมาณ 115,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีในด้านงานตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ที่มีปัญหาอาชญากรรมสูง เช่น ลอสแอนเจลิสในปี 2020 งบประมาณของกรมตำรวจคิดเป็นประมาณ 18% ของงบประมาณของเมือง (1.86 พันล้านดอลลาร์จาก 10.5 พันล้านดอลลาร์) และประมาณ 54% ของกองทุนทั่วไปของเมือง และในชิคาโกในปี 2020 งบประมาณของกรมตำรวจคิดเป็นประมาณ 18% ของงบประมาณของเมือง และ 40% ของกองทุนทั่วไปของเมือง  

ดังนั้น ในสหรัฐอเมริกา จึงมีการรณรงค์มานานหลายปีให้ "defund the police" ซึ่งสนับสนุนการถอนงบประมาณจากหน่วยงานตำรวจและจัดสรรเงินทุนเหล่านั้นให้กับหน่วยงานปลอดภัยสาธารณะที่ไม่ใช่ตำรวจของความ และนำไปสนับสนุนชุมชน เช่น บริการสังคม บริการเยาวชน ที่อยู่อาศัย การศึกษา การดูแลสุขภาพ และอื่นๆ ทรัพยากรชุมชน 

นักเคลื่อนไหวที่อยู่ในกลุ่มเรียกร้องให้ "defund the police" มีความตั้งใจที่แตกต่างกันไป บางคนต้องการลดจำนวนตำรวจลงเล็กน้อย ในขณะที่บางคนแย้งว่าต้องถอนงบประมาณทั้งหมด แล้วก้าวไปสู่การยกเลิกบริการตำรวจอย่างที่เป็นอยู่แบบนี้ เพื่อพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยสาธารณะแบบใหม่ขึ้น ที่พวกเขารู้สึกว่ากดขี่ประชาชนน้อยกว่านี้

แต่ตำรวจเป็นปัญหาเสมอไปหรือ?
นักสังคมวิทยา แพทริค ชาร์กี้ (Patrick Sharkey) แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน กล่าวไว้ว่า มีหลักฐานยืนยันว่าตำรวจมีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรง แต่ก็มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรชุมชนสามารถมีบทบาทสำคัญในการลดความรุนแรงได้ เขาเสนอให้มีการตั้งองค์กรในชุมชนเพื่อรับช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยส่วนใหญ่ แล้วพึ่งพาตำรวจเฉพาะอาชญากรรมที่มีความรุนแรง 

ในขณะที่ นักอาชญาวิทยา จัสติน นิกซ์ (Justin Nix) และ สก็อต วูล์ฟ (Scott Wolfe) กล่าวกับ The Washington Post ว่า "เรามีหลักฐานการวิจัยเพียงพอที่จะกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีจากการตัดงบประมาณครั้งใหญ่หรือยุบหน่วยงานตำรวจขายส่ง นั่นคือ อาชญากรรมและการตกเป็นเหยื่อ (อาชญากรรม) จะเพิ่มขึ้น" และบอกว่า "เมืองที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อหัวมากกว่ามีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเกิดอาชญากรรมต่ำกว่า" 

อย่างไรก็ตาม พวกเขาชี้ว่า "ไม่ได้หมายความว่าเราต้องจ้างตำรวจเพิ่มเสมอไป" ตรงกันข้าม ชุมชนควรจะผันทรัพยากรให้ตำรวจเน้นที่การแก้อาชญากรรมโดยอาศัยทักษะเฉพาะรับมือกับปัญหานั้นๆ แทนที่จะจับคนเข้าคุกเป็นหลัก การทำแบบนี้นอกจากจะลดอาชญากรรมแล้ว ชุมชนยังพอใจมากขึ้นด้วย 

Photo by SPENCER PLATT / GETTY IMAGES NORTH AMERICA / Getty Images via AFP

TAGS: #ตำรวจ #สหรัฐ