'ตัวเงินตัวทอง' สัตว์ที่คนเขมรนับถือ ถึงอาหารชวาในอินโดนีเซีย

'ตัวเงินตัวทอง' สัตว์ที่คนเขมรนับถือ ถึงอาหารชวาในอินโดนีเซีย
จากตะกวดในพงศาวดารกัมพูชา ถึงอาหารที่เป็นยาในเกาะชวาของอินโดฯ สำรวจบทบาทตัวเงินตัวทองในชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สื่อหลายสำนักรายงานข่าวเกี่ยวกับ "ตัวเงินตัวทอง" หรือที่คนไทยส่วนใหญ่เรียกันจนชินปากว่า "ตัวเหี้ย" จากกรณีที่ตำรวจยึดตัวเงินตัวทองเกือบ 100 ตัว ส่งให้โรงงานทำลูกชิ้น ซึ่งในเวลาต่อมามีก็มีกระแสข่าวเช่นกันว่า ลูกชิ้นที่ทำจากตัวเหี้ยไม่มีอยู่จริง โดยจากการณ์แถลงของตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ที่ยืนันว่า แม้ภาพการยึดตัวเงินตัวทองเกือบร้อยตัวจะเป็นจริง แต่ซากของสัตว์เหล่านี้ไม่ถูกนำไปทำลูกชิ้นตามข่าว แต่มีการนำไปขายต่อยังตลาดชายแดนแถบภาคตะวันออกซึ่งนำไปประกอบอาหารป่าในผู้ชื่นชอบเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

อย่างไรก็ตามไม่จะเรียกว่า "เหี้ย" หรือ "ตัวเงินตัวทอง" แต่ข่าวการสัตว์เหล่านี้ถูกนำไปชำแหละเนื้อเพื่อประกอบอาหาร ก่อให้เกิดกระแสวิจารณ์ในโลกออนไลน์เป็นกว้างอย่างปฏิเสธไม่ได้ เนื่องจากในมุมมองของคนไทยการกินเนื้อเหี้ย หรือแม้แต่ตัวเหี้ยที่ปรากฏตามที่สาธารณะต่างๆ ดูเป็นสัตว์น่าขยะแขยงจากการที่พวกมักเป็นสัตว์ที่ชอบกินซากสัตว์ที่เน่าตายแล้ว แต่ไม่ว่าจะอย่างไรในมายาคติของคนไทย "เหี้ย" หรือ "ตัวเงินตัวทอง" ถือเป็นสัตว์ที่มีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะกัมพูชาและอินโดนีเซีย 

 

สัตว์ที่คนกัมพูชาเคารพนับถือ

คนไทยเรียกตัวเงินตัวทองหรือตะกวด ตามภาษาปากว่า "ตัวเหี้ย" ซึ่งฟังดูอาจเป็นคำในแง่ลบ ทว่าคำเรียกสัตว์แต่ละประเภทในแต่ละชนชาติ ให้ความหมายที่ไม่เหมือนกัน ตามราชพงศาวดารกัมพูชาเรียกว่า "ตฺรกัวต" โดยระบุไว้ว่ากำเนิดของผู้ปกครองกัมพูชามาจากตะกวด "มีตะกวดตัวหนึ่งมีจิตศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับใต้ต้นทะลอก (วงไม้ยางโบราณ) ตะกวดตัวนี้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ท่านจึงมีพุทธทำนายว่าบริเวณที่ประทับในอนาคตนี้จะกลายเป็นนคร 

เมื่อตะกวดตัวนี้ตายจึงไปเกิดบนสวรรค์ แล้วกลับชาติมาเกิดจุติเป็นปฐมกษัตริย์อาณาจักรขอมโบราณ นอกจากนี้บนกลองมโหรทึกโบราณ ที่พบในตอนเหนือของเวียดนามซึ่งวัฒนธรรมดองซอนเคยรุ่งเรือง ก็มีสัตว์รูปร่างเหมือนตะกวดปรากฎอยู่รอบกลอง ซึ่งกลองนี้ถูกพบใช้ในวัฒนธรรมกษัตริย์ของกัมพูชาด้วย ปัจจุบันในบางพื้นที่ของกัมพูชา ตลอดจนบางจังหวัดของไทยอย่างในจังหวัดสุรินทร์มีพิธีสังเวยตะกวดเพื่อให้ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล บางหมู่บ้านในแถบตะวันตกของกัมพูชาทั้งหมู่บ้านจะไม่กินเนื้อตะกวดเลย จึงเห็นตะกวดอยู่ตามต้นไม้บ้านเรือนในหมู่บ้าน ดังนั้นตามข้อมูลในพงศาวดาร

 

อาหารถิ่นในอินโดนีเซีย

ในวัฒนธรรมถิ่นของชาวบ้านแถบชวาตะวันตกจนถึงแถบสุมาตราตอนเหนือ มีการบริโภคเนื้อตัวเงินตัวทองด้วยความเชื่อว่ามีคุณสมบัติทางยา ทีมนักวิจัยจากคณะชีววิทยา มหาวิทยาลัย Gadjah Mada เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งร่วมกับศูนย์วิจัยชีววิทยา สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งอินโดนีเซีย Cibinong ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเรื่องความ "ความเชื่อเรื่องประโยชน์ทางอาหารของเนื้อตัวเงินตัวทอง (Varanus salvator Meat) ในชวาตะวันตก โดยพบว่า ในแถบชวาตะวันตกชาวบ้านในท้องถิ่นนิยมทานเนื้อตัวเงินตัวทองมากกว่าที่ทีมนักวิจัยคาดคิด เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 ตัว ในพื้นที่มีร้านขายเนื้อ ร้านอาหาร และโรงฆ่าสัตว์ที่ชำแหละตัวเงินตัวทองโดยเฉพาะ โดยมีการนำเนื้อตัวเหี้ยมาปรุงเป็นเมนูในหลายรูปแบบตั้งแต่ขายในร้านอาหาร จนถึงทำกินกันในครัวเรือน

ทีมวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ชาวชวาตะวันตกและแถบสุมาตราตอนเหนือ นิยมบริโภคเนื้อตัวเงินตัวทองอย่างแพร่หลายมาจากสองสิ่งคือ ความเชื่อที่ว่าเนื้อเหี้ยมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคผิวหนังบางประการ อย่างเช่น สิวหรือผื่นคัน ไม่เพียงแค่นั้นบางส่วนยังเชื่อว่าการบริโภคเนื้อตัวเงินตัวทองสามารถส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ และเปรียบเสมือนยาชูกำลังให้กับคนในท้องถิ่นที่ต้องทำงานหนัก อีกปัจจัยที่นักวิจัยเชื่อถึงความนิยมในการบริโภคเนื้อเหี้ยคือ อาจเป็นเพราะชนพื้นเมืองเหล่านี้อยู่ในพื้นที่อันห่างไกล ทำให้อาจเผชิญปัญหาขาดแคลนอาหารในท้องถิ่น

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคด้วยเหตุผลความเชื่อใด ที่ผ่านมาหน่วยงานสาธารณสุขของอินโดนีเซีย เคยออกมาเตือนว่าการบริโภคเนื้อเหี้ยสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ จากโรคหรือปรสิตต่างๆ ขณะเดียวกันการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอาจกระทบต่อประชากรตัวเงินตัวทองซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงการเสียสมดุลทางระบบนิเวศ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องเสี่ยงต่ออยู่อาศัยการรุกล้ำและปัจจัยอื่น ๆ เป็นผลให้องค์กรอนุรักษ์และหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งในอินโดนีเซียพยายามดำเนินนโยบายอนุรักษ์ตัวเงินตัวทอง
 

TAGS: #ตะกวด #ตัวเงินตัวทอง #อาหาร #ประวัติศาสตร์ #กัมพูชา #ลูกชิ้นเนื้อเหี้ย #อินโดนีเซีย