ย้อนไปก่อนธุรกิจล้มละลาย The Body Shop เคยปฏิวัติธุรกิจด้วยระบบการค้าที่เป็นธรรม

ย้อนไปก่อนธุรกิจล้มละลาย The Body Shop เคยปฏิวัติธุรกิจด้วยระบบการค้าที่เป็นธรรม

เบื้องหลังของเหตุการณ์

  • เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ The Body Shop เข้าสู่ภาวะล้มละลายต้องรับการคุ้มครองกิจกาตามกฎหมายสหราชอาณาจักร
  • The Body Shop เผชิญปัญหามาระยะหนึ่ง แล้วถูกซื้อโดย Aurelius บริษัทสัญชาติเยอรมันที่ซื้อเกิจการมาในราคา 207 ล้านปอนด์ในเดือนพฤศจิกายนที่แล้ว 
  • แต่ Aurelius กล่าวว่าพวกเขาไม่สามารถกระตุ้นให้ธุรกิจ The Body Shop ฟื้นตัวขึ้นมาได้ ได้หลังจากการซื้อขายที่ตกต่ำในช่วงคริสต์มาสและปีใหม่
  • แถลงการณ์กล่าวว่า บริษัท “เผชิญกับความท้าทายทางการเงินที่ยืดเยื้อภายใต้เจ้าของเดิม ซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการซื้อขายที่ยากลำบากสำหรับภาคการค้าปลีกในวงกว้าง”
  • ก่อนที่ The Body Shop จะมาถึงจุดนี้ พวกเขาเคยเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก่อนโดยเฉพาะในทศวรรษที่ 1990 และต้นทศวรรษที่ 2000 แต่อะไรที่ทำให้พวกเขามาถึงจุดนี้ได้? นี่คือเรื่องราวสั้นๆ ของพวกเขา

1. The Body Shop ก่อตั้งในปี 1976 โดยแอนนิต้า ร็อดดิก (Anita Roddick) ซึ่งเป็นนักธุรกิจหญิงชาวอังกฤษ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน และนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม แต่ตอนที่เธอเปิดร้านเพื่อสุขภาพและความงามของตัวเองชื่อ The Body Shop ในเมืองไบรตันซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอในปี 1976 เธอเริ่มต้นธุรกิจโดยมีแรงจูงใจง่ายๆ แค่เพียงที่จะ "หาเลี้ยงชีพให้ตัวเองและลูกสาวสองคนของเธอในขณะที่สามีของเธอออกเดินทางไปไกล" 

2. แต่ แอนนิต้า ร็อดดิ ไม่ใช่นักธุรกิจทั่วๆ ไป เธอต้องการนำเสนอผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีคุณภาพในบรรจุภัณฑ์แบบรีฟิลและขนาดตัวอย่าง  ร้านค้าเริ่มซื้อขายด้วยสินค้าเพียง 25 รายการ ร็อดดิกซื้อขวดตัวอย่างปัสสาวะจากโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อขายผลิตภัณฑ์ของเธอ แต่มีไม่เพียงพอ ทำให้เกิดนโยบายขวดรีฟิลขึ้นมา และยังฉลากเขียนด้วยมือ

3. The Body Shop เน้นทำการตลาดด้วยความจริงมากกว่าการโฆษณาเกินจริง โดยเลือกที่จะพึ่งพาสื่อท้องถิ่นแทน แต่ธุรกิจไปได้สวย จนเธอเปิดร้านที่สองของเธอในหกเดือนต่อมา เมื่อสามีของเธอกลับมาจากอเมริกาใต้ เขาก็เข้ามาร่วมทำธุรกิจด้วยกัน 

4.วิสัยทัศน์ดั้งเดิมของธุรกิจ The Body Shop คือการขายผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งที่มาอย่างมีจริยธรรม นั่นคือผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ใช้แรงงานทาส เป็นสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่โหดร้าย โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของร็อดดิกไม่ได้รับการทดสอบกับสัตว์ และส่วนผสมได้มาจากผู้ผลิตโดยตรง และมีส่วนผสมจากธรรมชาติ 

5. ตลอดช่วงทศวรรษปี 1980 และ 1990 บริษัทได้เข้าร่วมแคมเปญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้รวมถึงแคมเปญ "Trade Not Aid" ในปี 1987 โดยที่บริษัทได้จัดหาวัตถุดิบบางส่วนจากชุมชนพื้นเมืองที่มาจากชุมชนท้องถิ่นโดยตรง บริษัทยังได้เป็นพันธมิตรกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม คือ Greenpeace และ Amnesty International ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน

6. นี่คือหัวใจหลักของธุรกิจของ The Body Shop คือการค้าที่เป็นธรรม หรือ Fair trade ผ่านโครงการ Trade Not Aid และ Community Trade โดยค้าขายกับชุมชนในท้องถิ่นของประเทศต่างๆ โดยตรง โดยเฉพาะชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือ โดย The Body Shop จะซื้อสินค้าที่เป็นวัตถุดิบเครื่องสำอางค์ในราคาที่ยุติธรรม 

7. แต่ The Body Shop ไม่ได้มีภาพลักษณ์ที่ดีเสมอไป ในปี 1994 นิตยสาร Business Ethicsตีพิมพ์บทความเชิงสืบสวนเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของ The Body Shop โดยตั้งคำถามว่าสิ่งที่บริษัทเป็น คือการเป็นบริษัทที่มีความ "รับผิดชอบต่อสังคม" เป็นเรื่องจริงหรือไม่ กรณีนี้ส่งผลให้มูลค่าตลาดของหุ้นของบริษัทลดลงชั่วคราว 50%  

8. รายงานชิ้นนี้เผยว่า แอนนิต้า ร็อดดิก ได้ขโมยชื่อ  The Body Shop  รวมถึงการออกแบบร้านค้า แนวคิดทางการตลาด และแนวคิดเกี่ยวกับสายผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จากร้านชื่อเดียวกันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1970 ในเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐฯ รายงานชิ้นนี้ยังเผยว่า The Body Shop ทำการตลาดแบบ greenwashing หรือการอ้างว่าตนตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้มและสิทธิมุนษยชน เพื่อที่จะอำพรางการกระทำของธุรกิจจนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องไม่เป็นธรรม

9. ต่อมา  The Body Shop ยังเผชิญกับเสียงวิจารณ์อีกครั้ง เพราะขายกิจการให้กับบริษัท L'Oréal ในปี 2006 ซึ่งมีข่าวว่าทำการทดลองผลิตภัณฑ์ความงามกับสัตว์ ในปีต่อมา ในเดือนกันยายน 2007 ร็อดดิกเสียชีวิตหลังจากเลือดออกในสมองครั้งใหญ่ อีก 10 ปีต่อมา L'Oréal ขาย The Body Shop ให้กับบริษัท Natura ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2023 Natura ได้ขาย The Body Shop ให้กับ Aurelius ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทเอกชนระดับโลก

10. แต่ Aurelius แบกกิจการไม่ไหว ต้องยื่นของการคุ้มครองจากทางการสหราชอาณาจักร หรือหมายความว่ากิจการของ The Body Shop ในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของบริษัท ได้มาถึงจุดวิกฤตแล้ว เพียงแต่ยังไม่ถึงกับสูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะหลังจากนี้ คือกระบวนการปรับโครงสร้าง เพื่อกระตุ้นให้เกิดสภาพคล่องในธุรกิจ แต่คำถามก็คือ เมื่อ The Body Shop กลับมาดำเนินกิจการเองได้อีกครั้ง พวกเขาจะยังสามารถต่อสู้กับการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจนี้ได้อีกหรือไม่? 

Photo by Daniel LEAL / AFP
 

TAGS: #The #Body #Shop