สนิทกันแค่ไหน? ฮุน เซน ผู้คอยช่วยเหลือ 'พี่ทักษิณ' จนถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงการเมืองไทย

สนิทกันแค่ไหน? ฮุน เซน ผู้คอยช่วยเหลือ 'พี่ทักษิณ' จนถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงการเมืองไทย

ถามว่า ฮุน เซน สนิทกับ ทักษิณ แค่ไหน ตอบว่า สนิทกันถึงขนาดที่ ฮุน เซน เรียกทักษิณว่าเป็น "พี่บุญธรรม" 

แม้จะผ่านมาหลายปีแล้ว แต่มีเหตุการณ์หนึ่งที่สะท้อนความสนิทสนมระหว่าง ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย กับ ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 4 เดือนพฤศจิกายน 2009 ทักษิณ ชินวัตร และ ฮุน เซน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาต้องตกอยู่ในสภาวะทิ้งตัวอีกครั้ง หลังจากที่ ฮุน เซน แต่งตั้ง ทักษิณ ให้เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจของกัมพูชา หรือพูดอีกอย่างก็คือเป็นที่ปรึกษาให้กับ ฮุน เซน

และย้อนกลับไปไม่กี่วันก่อน ฮุน เซน ถึงขนาดประกาศกลางที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่หัวหินว่า เขาจะแต่งตั้ง ทักษิณ เป็นที่ปรึกษา ซึ่งถือเป็นการแสดงท่าที "แทรกแซง" การเมืองไทยในแผ่นดินไทยกันเลยทีเดียว 

และไม่กี่วันต่อมาก็มีการแต่งตั้งจริงๆ 

รายงานข่าวจากปีนั้นโดย VOA Cambodia ระบุว่า "กษัตริย์นโรดม สีหมุนี ทรงอนุมัติทักษิณเป็น “ที่ปรึกษา” ของฮุน เซน  

เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นที่สะท้อนถึงการแทรงแซงกิจการของไทยจนกระทบไปถึวสถาบันหลักของชาติ โดยในหนังสือเรื่อง Legitimacy Crisis in Thailand  ซึ่งเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองในไทย  Marc Askew ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า "การที่คณะรัฐมนตรีและกษัตริย์นโรดม สีหมุนีอนุมัติการแต่งตั้ง ทักษิณ แสดงให้เห็นถึงแผนการของ ฮุน เซน ด้วยความร่วมมือกับ ทักษิณ เพื่อดิสเครดิตรัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็นแผนการที่วางไว้อย่างดี และยังมีความสำคัญในทางการเมืองอีกว่าสถาบันกษัตริย์ของกัมพูชาเกี่ยวพันกับรัฐบาล ฮุน เซน ในการท้าทายศัตรูของทักษิณในดินแดนของไทย รวมถึงบุคคลอื่นๆ ภายในเครือข่ายของสถาบันกษัตริย์ (ไทย)" 

แม้ว่า พาย สีพัน โฆษกรัฐบาลกัมพูชาจะกล่าวว่า "ในฐานะประเทศกำลังพัฒนา กัมพูชาต้องการที่ปรึกษาที่มีความรู้ และ ทักษิณ รู้จักนักลงทุนในต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งสามารถช่วยได้"

แต่ดูเหมือนว่า ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาในเวลานั้นจะแสดงอาการตรงกันข้ามกับโฆษกรัฐบาล เพราะแสดงออกถึงความต้องการแทรกแซงการเมืองไทยอย่างโจ่งแจ้ง 

หลังจากมีข่าวการแต่งตั้วทักษิณเป็นที่ปรึกษาแล้ว  ฮุน เซน ได้ออกแถลงการณ์ซึ่งถูกนักวิชาการมองว่า "ดูหมิ่นรัฐบาลไทยและตั้งคำถามเรื่องความชอบธรรม (ต่อรัฐบาลไทย)" ฮุน เซน เปรียบเทีบบทักษิณกับ อองซานซูจี ในฐานะผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และยังเผยว่า "แม้ว่าผมจะไม่ใช่คนไทย ผมรู้สึกเจ็บใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขา (ทักษิณ) ภรรยาของผมถึงกับร้องไห้เมื่อทราบเรื่องนี้ และยังความคดที่จะสร้างบ้านให้ทักษิณเพื่อมาอยู่ (ที่กัมพูชา) เพื่ออยู่อย่างมีศักดิ์ศรี" 

นอกจากนี้ ฮุน เซน ยังเสนอให้การสนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดงในไทย และบอกว่า "นี่เป็นการสนับสนุนด้านกำลังใจจากผม ในขณะที่คนเสื้อแดงชาวไทยนับล้านคนสนับสนุนทักษิณ แล้วทำไมผม ผมในฐานะมิตรสหายจากแดนไกล จะสนับสนุนทักษิณไม่ได้?"

ในหนังสือเรื่อง Legitimacy Crisis in Thailand โดย Marc Askew มองว่าท่าทีของ ฮุน เซน ครั้งนี้เป็นการแทรกแซงการเมืองไทยโดยตรง เพื่อที่จะฉวยโอกาสสั่นคลอนเอกภาพของคนไทย และทำให้ความแตกแยกรุนแรงขึ้นในหมู่คนที่เป็นตัวแทนของความเป็นไทย 

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ฝ่ายต่างๆ ในไทยไม่พอใจอย่างรุนแรง แต่ก็มองว่า ทักษิณ เป็นฝ่ายใช้ต่างชาติแทรกแซงประเทศตัวเอง เช่น พล.ต. จำลอง ศรีเมืองถึงกับกล่าวหาว่า ทักษิณทรยศชาติโดยอาศัยประเทศเพื่อนบ้านเพื่อผลักดันวาระทางการเมืองของตนในประเทศไทย 

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน กระทรวงการต่างประเทศไทยเรียกตัวเอกอัครราชทูตกลับประเทศเพื่อประท้วงเรื่องนี้ และยับยั่้งการหารือความร่วมมือด้านทวิภาคีต่างๆ รวมถึงกรณีพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ในขณะที่กัมพูชาก็ตอบโต้ด้วยการเรียกเอกอัครราชทูตของตนนกรุงเทพฯ กลับประเทศเช่นกัน 

ในเวลานั้น VOA Cambodia รายงานว่าเจ้าหน้าที่ไทยกล่าวว่าจะเริ่มกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหากพบว่าทักษิณอยู่ในกัมพูชา แต่ทักษิณเองก็ปฏิเสธคำทาบทามของฮุน เซนที่เขาจะอยู่ในประเทศกัมพูชา

อย่างไรก็ตาม เพียงแค่ไม่กี่วันหลังจากนั้น ทักษิณ ทำให้สถานการณ์หนักขึ้น คือวันที่ 10 พฤศจิกายน 2009 สำนักข่าว AFP รายงานว่า "ทักษิณ ชินวัตร เดินทางถึงกัมพูชาเพื่อเริ่มทำงานเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลเมื่อวันอังคาร ทำให้เกิดความตึงเครียดหลังจากการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างทั้งสองประเทศ"

การปรากฎตัวที่กัมพูชาของทักษิณในเวลานั้น ทำให้รัฐบาล "ประเทศไทยแสดงความโกรธเคืองต่อการแต่งตั้งทักษิณของกัมพูชา ซึ่งถูกขับออกจากรัฐประหารโดยไร้เลือดในปี 2549 และกล่าวว่า พยายามให้กัมพูชาส่งตัวนักธุรกิจใหญ่มหาเศรษฐีผู้นี้กลับประเทศเพื่อรับโทษจำคุก 2 ปีฐานคอร์รัปชัน" จากการรายงานของ AFP

แต่ปรากฎว่า พาย สีพัน โฆษกคณะรัฐมนตรีของกัมพูชา กล่าวในการแถลงข่าวหลังจากการมาถึงของทักษิณว่า “ถือเป็นเกียรติสำหรับภาคเศรษฐกิจของกัมพูชา และเราหวังว่าชาวกัมพูชาทั่วประเทศจะต้อนรับเขาอย่างอบอุ่น” 

จากการรายงานของ AFP ก่อนหน้านี้ ทักษิณยืนยันในจดหมายเปิดผนึกที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของเขาว่าเขาจะ "ไม่ไปกัมพูชาเพื่อช่วยกัมพูชาต่อสู้กับไทย" และบอกว่า “ในขณะที่ผมเดินทางไปกัมพูชาเพื่อหารือเกี่ยวกับความยากจนและสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ผมจะพยายามรักษาผลประโยชน์ของไทยกับเพื่อนของเราในกรุงพนมเปญ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะยังคงไล่ล่าผมไม่ว่าผมจะไปที่ไหนก็ตาม” 

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม VOA ได้รายงานว่า รัฐบาลกัมพูชากล่าวว่า ทักษิณ ชินวัตร ผู้ลี้ภัยของไทยได้ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาเศรษฐกิจของกัมพูชา "เพื่อเปิดทางให้ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศผ่อนคลายลง" พร้อมเผยว่า "ทักษิณลาออกตามคำขอของเขาเองเนื่องจากความยากลำบากในการปฏิบัติหน้าที่"

แต่สื่อต่างประเทศระบุว่าสาเหตุก็เพราะไทยกล่าวหากัมพูชาแทรกแซงการเมืองไทย และทั้งสองประเทศเรียกเอกอัครราชทูตของตนกลับประเทศ

หลังจากนั้น ทักษิณ กับ ฮุน เซน ก็จะยังคงความสัมพันธ์ที่สนิทแนวแน่นกันต่อไป จนถึงวันที่น้องสาวของทักษิณ คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็นนายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนกัมพูชา เมื่อเดือนกันยายน 2011 ทักษิณก็ยังแวะไปหา ฮุน เซน คล้อยหลังน้องสาวตัวเองเพียง 2 วัน เพื่อไปพบน้องสาว และตีกอล์ฟกับ ฮุน เซน ที่กัมพูชา

ดูเหมือนว่าหลังจากกรณีการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาที่ดูจะเป็นการแทรกแซงการเมืองไทยอย่างโจ่งแจ้งแล้งว ทักษิณ  ก็ยังทำอะไรโจ่งแจ้งกับกัมพูชาเหมือนเคย เพียงแต่ลดดีกรีลง 

ล่าสุด หลังจากที่ ทํกษิณ ชินวัตร ได้รับการพักโทษแล้วเดินทางกลับล้านจันทร์ส่องหล้าได้ไม่กี่วัน ยังไม่ทันที่วีไอพีคนไทยจะแวะเวียนกันเยี่ยม ปราฏว่า ฮุน เซน เป็นวีไอพีต่างแดนคนแรกที่แซงคิวคนอื่นเพื่อมาพบ "บองธัมรบส" (พี่บุญธรรม) ด้วยตัวเองที่ "กรุงบางกอก"

ด้าน สุข อิสาน โฆษกพรรคประชาชนกัมพูชา ก็ยังบอกผ่านสำนักข่าว RFA ภาษาเขมรว่า "ทักษิณถือเป็นพี่ชายบุญธรรม (บองธัมกาต) ของเขา (ฮุน เซน) จึงสามารถไปได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ในขณะที่ทักษิณถูกปล่อยตัวจึงสามารถไปหาพี่ชาย (บอง) ได้"

แม้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะพยายามบอกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบ "พี่น้อง" ก็ตาม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า "พี่น้อง" สองคนนี้ส่งผลสะเทือนต่อการเมืองไทยอย่างมาก 

รายงานพิเศษโดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better 

Photo - อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ทักษิณ ชินวัตร (ซ้าย) กอดนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน เซน (ขวา) เมื่อเดินทางมาถึงอาคารสันติภาพของรัฐบาลในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2011 อดีตผู้นำของประเทศไทย ทักษิณ ชินวัตร มาถึงกัมพูชา 17 กันยายน สองวันหลังจากน้องสาวของเขา นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยือนกรุงพนมเปญ AFP PHOTO / TANG CHHIN SOTHY (ภาพโดย TANG CHHIN SOTHY / AFP)

TAGS: #ฮุน #เซน #ทักษิณ' #กัมพูชา