ในวันที่คนในชาติหวั่นใจว่าจะเสีย 'เกาะกูด' อีกครั้ง ย้อนความจำจากแผนที่การเสียดินแดนของไทย

ในวันที่คนในชาติหวั่นใจว่าจะเสีย 'เกาะกูด' อีกครั้ง ย้อนความจำจากแผนที่การเสียดินแดนของไทย

เบื้องหลังของกระแสกังวลเกาะกูด

  • เกาะกูด ในจังหวัดตราดกลับมาอยู่ในความสนใจของผู้คนอีกครั้ง หลังจากเกิดกระแสวิตกว่า กัมพูชาอาจจะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดครึ่งหนึ่ง โดยอ้างแผนที่ที่ประเทศตัวเองกำหนดขึ้นมา ซึ่งใช้ในการอ้างพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยที่ไทยกับกัมพูชายังตกลงกันไม่ได้ 
  • ความกังวลนี้เริ่มรุนแรงขึ้น เมื่อ เศรษฐา ทวีสิน เดินทางเยือนกัมพูชาประเทศแรก ท่ามกลางการจับตาในเรื่องความใกล้ชิดของ 'เครือข่ายทักษิณ' และ 'เครือข่ายฮุน เซน' และต่อมาเรื่องนี้ยังตอกย้ำด้วยการที่นายกรัฐมนตรี ฮุน มาเนต แห่งกัมพูชา เดินทางมาเยือนไทยเป็นครั้งแรกหลังรับตำแหน่ง โดยที่คนไทยจับตาว่าจะมาคุยเรื่องพื้นที่ทับซ้อนหรือไม่
  • และความกังวลนี้ระเบิดขึ้นมา เมื่อ ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาบิดาของฮุน มาเนต รีบบินมาพบกั ทักษิณ ชินวัตร เพียงไม่กี่วันหลังจากที่ ทักษิณ ได้รับการพักโทษและเดินทางกลับบ้านจันทร์ส่องหล้า ทำให้ผู้ที่กังวลเรื่อง 'เครือข่ายทักษิณ' และ 'เครือข่ายฮุน เซน' และพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับกัมพูชายิ่งระแวงมากขึ้น 
  • ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2436 หรือ ร.ศ. 112 ไทยต้องเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยังยึดเอาจันทบุรีเอาไว้ จากนั้นในปี พ.ศ. 2448 ก็เข้าไปยึดเมืองตราด ไทยจึงต้องยอมเสียเมืองพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราด รวมถึงเกาะกูด
     

เสียดินแดนเพราะแผนที่ไม่มีชาตินิยม
เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องในอดีต เราจึงต้องยกแผนที่เก่าที่สามารถบอกเล่าถึงการเสียดินแดนของไทยมาให้ได้ชมกัน แผนที่เหล่านี้เขียนขึ้นโดยชาวต่างชาติ จึงมีความเป็นกลาง และไม่สามารถถูกกล่าวหาว่า "เอนเอียงไปในทางชาตินิยม" อยางที่นักวิชาการไทยส่วนหนึ่งอ้าง

ปัญหาของแผนที่การเสียดินแดนก็คือ แม้ว่าไทยจะเสียดินแดนจริงๆ และมีแผนที่ของต่างชาติยืนยัน แต่นักวิชาการบางคนก็ยังอ้างว่าแผนที่เหล่านี้เป็นสาเหตุให้กลุ่มการเมืองสามารถปลุกกระแสชาตินิยมขึ้นได้อยู่เรื่อยๆ อย่างที่ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงได้กล่าวอ้าง

ในขณะที่นักวิชาการอีกคนที่พยายามตั้งคำถามและโจมตีกับแนวคิดชาตินิยมของไทย คือ กธงชัย วินิจจะกูล ก็กล่าวว่า "แผนที่เหล่านี้มิได้มีไว้สำหรับศึกษาภูมิศาสตร์ในอดีต แต่มีไว้สำหรับสร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชีวิตของชาติ" และบอกว่าแผนที่เหล่านี้มีไว้รับใช้ชาตินิยมไทย

อย่างไรก็ตาม หากไม่มีชาตินิยมไทยและแผนที่ที่ยืนยันการเสียดินแดนของไทย ประเทศไทยก็อาจจะเสียดินแดนอย่างง่ายดาย แม้กระทั่งทุกวันนี้เคนไทยบางคนก็ยังต้องกังวลว่าอาจจะเสียเกาะกูดไป จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า การที่ชาตินิยมไทยถูกโจมตีแบบนี้จากนักวิชาการคนไทยกันเอง จะทำให้ประเทศไทยอ่อนแอลง จนต่อรองกับเพื่อนบ้านที่มีแนวคิดชาตินิยมแข็งแกร่งได้ยากหรือไม่?

เตือนความจำย้อนอดีตด้วยแผนที่เก่า
การมองอดีตด้วยแผนที่เก่า เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำความเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบัน และมันยังไม่สามารถอธิบายความขัดแย้งเรื่องพื้นที่ทับซ้อนได้ครบถ้วนทุกมิติ อย่างไรก็ตาม มันจะช่วยเป็นพื้นฐานในเชิงภาพทัศน์ (Visual) ให้เราได้เข้าใจถึงเรื่องราวในอดีตที่กำลังจะส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบัน

 

1. แผนที่  Itinéraires de M. A. Pavie dans le sud-ouest de l'Indo-Chine orientale (Cambodge et Siam, 1880-1881)

เป็นแผนที่ให้รายละเอียดการเดินทางของ โอกุสต์ ปาวี (M. A. Pavie) ซึ่งเป็นนักสำรวจชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาสำรวจดินแดนของไทยและประเทศราชของไทยคือกัมพูชาและบาว ต่อมา ปาวี จะกลายเป็นตัวตั้งตัวตีในการยึดเอาดินแดนประเทศราชของไทยมาเป็นดินแดนของฝรั่งเศส

ในแผนที่นี้ จะเน้นที่ชายฝั่ง "ตะวันออกเฉียงใต้ของอินโดจีนตะวันออก" (le sud-ouest de l'Indo-Chine orientale) คือพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดปากน้ำ (สมุทรปาการ), แปดริ้ว, (ฉะเทิงเทรา) ประกิม (ปราจีนบุรี),  พนัสนิคม (อ.พนัสนิคม) บางปลาสร้อย (อ. เมืองชลบุรี) บางพระ (อ. ศรีราชาลงมาถีงพัทยา)

นอกจากนี้ยังมี จังหวัดพระตะบองและจังหวัดเสียมราฐ (เป็นของกมพูชาในปัจจุบัน) ไปจนถึงจันทบูรณ์ (จันทบุรี), ระยอง, กราด (ตราด) และเกาะกง (ซึ่งปัจจุบันเป็นของกัมพูชา)  รวมถึงเกาะช้างและเกาะกูด

 

2. แผนที่ Thailand and French Indochina territorial changes 1867-1907 / OSS

แผนที่นี้จัดทำในปี 1944 หรือ 1 ปีก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยหน่วย OSS หรือ Office of Strategic Services ซึ่งเป็นหน่วยข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ OSS ถูกยุบไปหนึ่งเดือนหลังจากสิ้นสุดสงคราม

ในเวลาต่อมา งานข่าวกรองก็กลับมาดำเนินการต่อและแยกเป็นสำนักข่าวกรองและการวิจัย (INR) ของกระทรวงการต่างประเทศ และสำนักข่าวกรองกลางอิสระ (CIA) แผนที่นี้มีความเป็นกลางพราะถูกจัดทำโดยหน่ยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งสหรัฐฯ และฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกัน โดยที่ไทยและญี่ปุ่นเป็นฝ่ายศัตรู


 

3. แผนที่ Thailand and French Indochina territorial retrocessions 1941 / OSS

แผนที่นี้จัดทำในปี 1944  เช่นเดียวกัน โดยหน่วย OSS แต่แผนที่นี้แสดงให้เห็นดินแดนที่ไทยได้รับกลับคืนมาครอบครองอีกครั้งหลังกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส โดยสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่ปกครองอินโดจีนจบลงด้วยการที่ญี่ปุ่นมาเป็นคนกลางเจรจา

และมีการได้ลงนามในอนุสัญญาโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยที่ฝรั่งเศสถูกญี่ปุ่นบีบบังคับให้สละการถือครองดินแดนชายแดนที่มีข้อพิพาท ฝรั่งเศสต้องยกดินแดนจากกัมพูชาและลาวให้ไทย คือ 

 

  • จังหวัดพระตะบองและจังหวัดไพลิน จัดใหม่เป็นจังหวัดพระตะบอง
  • จังหวัดเสียมราฐ จังหวัดบันทายมีชัย และจังหวัดอุดรมีชัย จัดใหม่เป็นจังหวัดพิบูลสงคราม
  • จังหวัดพระวิหาร ผนวกเข้ากับแขวงจำปาศักดิ์ของลาวที่อยู่ตรงข้ามปากเซ เพื่อสร้างจังหวัดนครจัมปาศักดิ์
  • แขวงไชยบุรี รวมแขวงหลวงพระบางบางส่วน ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดลานช้าง
TAGS: #เกาะกูด #กัมพูชา #พื้นที่ทับซ้อน