คืนนั้นมันเกิดอะไรขึ้นกันแน่? เปิดทฤษฎีเบื้องหลังโซเชียลฯล่มทั่วโลก 

คืนนั้นมันเกิดอะไรขึ้นกันแน่? เปิดทฤษฎีเบื้องหลังโซเชียลฯล่มทั่วโลก 

เมื่อค่ำวันที่ 5 มีนาคม 2023 โซเชียลมีเดียวหลักๆ ของโลกเกิดล่มลงเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ท่ามกลางความตื่นตระหนกของผู้ใช้งานหลายพันล้านคน โดยโซเชียลมีเดียที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือผลิตภัณฑ์ของ Meta ไม่ว่าจะเป็น Facebook และ Instagram รวมถึง Thread แต่โซเชียลฯ อื่นๆ ก็มีรายงานล่มลงด้วยจากการตรวจสอบของ Downdetector เช่น Youtube, Google Play ไปจนถึง X แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์จะไม่รุนแรงเท่ากับผลิตภัณฑ์ของ Meta จนถึง ณ ขณะนี้ (ที่มีการรายงานวันที่ 6 มีนาคม) ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ 

แต่เราได้พยายามรวบรวมความเป็นไปได้ต่างๆ รวมถึง 'ทฤษฎีสมคบคิด' ที่ชาวโชเชียลคิดกันไปเองว่าน่าจะเป็นสาเหตุของการล่มของระบบในครั้งนี้ 

ข้อหนึ่ง ระบบล่มจริง
แหล่งข่าววงในของ Facebook บอกกับ DailyMail.com สื่อของอังกฤษว่า ว่าระบบภายในของบริษัทล่มลง และอาจนำไปสู่การหยุดทำงานของโซเชียลมีเดียของบริษัท

ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ต้ังข้อสังเกตคล้ายๆ กัน แต่ในสเกลที่ใหญ่กว่า เช่น แมทิว กรีน รองศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และสมาชิกของสถาบันรักษาความปลอดภัยข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ กล่าวกับ Nexstar สื่อในสหรัฐฯ ว่า การที่โซเชียลมีเดียล่มลงหลายตัวแสดงว่าอาจมีสาเหตุร่วมกัน เขาชี้ว่าอาจเป็นเพราะผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่เกิดปัญหาระบบล่ม  แต่ก็ย้ำว่า "ในขณะนี้ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้น"

ข้อสอง แก้ระบบ 
Nexstar ตั้งข้อสังเกตว่า ในวันที่ 7 มีนาคมนี้เป็นเส้นตายที่บริษัทเทคใหญ่ๆ ของโลกจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายการตลาดดิจิทัล (Digital Markets Act) ฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทขนาดใหญ่ใช้อำนาจทางการตลาดในทางที่ผิด และเพื่อให้ผู้เล่นรายเล็กและรายใหม่เข้าสู่ตลาดโวเชียลมีเดียได้ 

เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย Meta ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดโซเชียลมีเดียในสหภาพยุโรปถึง 90% จึงกำลังทำการเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น การอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแยกบัญชี Facebook และ Instagram ของตนได้ เพื่อไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลสามารถรวมเข้าด้วยกัน จนง่ายที่บริษัทจะใช้ข้อมูลของยูสเซอร์ในการยิงโฆษณา 

ข้อสาม การเมือง
เป็นเรื่องบังเอิญจริงๆ ที่โซเชียลมีเดียล่ม เกิดขึ้นใน 'วันสุกดิบ' หรือหนึ่งวันก่อนที่จะมี Super Tuesday หรือการเลือกตั้งใน 12 รัฐพร้อมกันในสหรัฐฯ เพื่อทำการเลือกผู้แทนของพรรคต่างๆ เป็นตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศในช่วงปลายปีนี้ วันสุกดิบนี้มีความสำคัญมากในการหาเสียง แต่จู่ๆ โซเชียลกลับล่ม จึงทำให้ผู้คนโจษจันกันไปต่างๆ นานา 

แต่เจ้าหน้าที่อาวุโสของหน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์และโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐอเมริกา (CISA) กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “ไม่ได้ตระหนักถึงการเชื่อมโยงการเลือกตั้งที่เฉพาะเจาะจงใด ๆ หรือการเชื่อมโยงกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตรายโดยเฉพาะใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากระบบล่ม”  พูดง่ายๆ ก็คือไม่พบว่ามีคนแทรกแซงให้ระบบมันล่มนั่นเอง

ข้อสี่ เทย์เลอร์ สวิฟต์ 
บางคนตั้งข้อสังเกตว่าการล่มลงของระบบอาจมีเจตนาทางการเมืองเบื้องหลัง บางคนถึงกับโยงว่าก่อนที่ระบบโซเชียลจะล่มลงไม่นาน เทย์เลอร์ สวิฟต์ โพสต์ใน Instagram Story บอกให้ผู้คนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยบอกว่า "ฉันอยากจะเตือนพวกคุณให้โหวตคนที่เป็นตัวแทนของคุณมากที่สุดให้เข้าสู่อำนาจ"

ประเด็นก็คือ เทย์เลอร์ สวิฟต์ ถูกกล่าวหาว่าสมคิดกับพรรคเดโมแคตเพื่อช่วยหาเสียงให้กับประธานาธิบดี โจ ไบเดน และเป็นเครื่องมือของ 'ฝ่ายซ้าย' ในการโจมตี 'ฝ่ายขวา' หรือพรรครีพับลิกัน ดังนั้นเมื่อโซเชียลล่มพวกฝ่ายขวาจึงโทษ เทย์เลอร์ สวิฟต์ เป็นตัวการ เพราะหลังจากโพสต์บอกให้ไปเลือกตั้งระบบก็ล่มทันที เท่ากับปิดทางตอบโต้ของฝ่ายขวา

ข้อห้า ทะเลแดง
ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงก่อนที่โซเชียลมีเดียจะล่ม มีรายงานว่าสายเคบิลสัญญาณสื่อสารในทะเลแดงถูกตัดขาด โดยพื้นนั้นกำลังตกอยู่ในความขัดแย้งระหว่างกลุ่มฮูษีของเยเมนและกองทัพชาติต่างๆ โดยมีการกล่าวหาว่ากลุ่มฮูษีทำลายสายเคเบิล จนทำมให้ระบบอินเทอร์เน็ตของโลกตกอยู่ในความเสี่ยง

ในเรื่องนี้ถูกกล่าวถึงเช่นกันแต่เพราะมันถูกเอ่ยถึงในทำนองทฤษฎีสมคบคิด จึงทำให้ไม่มีน้ำหนักมากนักในแง่ของเหตุผล เช่น ยูสเซอร์รายหนึ่งใน X บอกว่า สายอินเทอร์เน็ตใต้น้ำทะเลแดงเสียหาย.....มีคนอยากให้ TikTok ล่มแต่ตัดสายผิด" ความเห็นนั้สะท้อนเรื่องความเห็นของสาธารณะบางส่วนที่เชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จ้องเล่นงาน TikTok เพราะเป็นแอปจีน ในขณะที่บางคนเชื่อว่า TikTok เป็นโซเชียลฯ ที่เผยความจริงรอบด้านมากกว่าโซเชียลอื่นๆ จึงถูกเพ่งเล็ง 

Photo by SEBASTIEN BOZON / AFP

TAGS: #โซเชียลมีเดีย #facebook